Show simple item record

Good governance mechanisms for medical profession regulations in the United Kingdom, New Zealand and South Africa

dc.contributor.advisorวิฑูรย์ อึ้งประพันธ์en_US
dc.contributor.authorไพศาล ลิ้มสถิตย์en_US
dc.coverage.spatialสหราชอาณาจักรen_US
dc.coverage.spatialนิวซีแลนด์en_US
dc.coverage.spatialแอฟริกาใต้en_US
dc.date.accessioned2012-06-18T07:44:11Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:27:33Z
dc.date.available2012-06-18T07:44:11Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:27:33Z
dc.date.issued2555-04en_US
dc.identifier.otherhs1945en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3523en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่องกลไกธรรมาภิบาลในการควบคุมวิชาชีพเวชกรรมในต่างประเทศ : กรณีศึกษาประเทศสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ โดยเน้นเรื่องบทบาทหน้าที่ขององค์กรควบคุมกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมคือ แพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 3 ประเทศคือ ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศแอฟริกาใต้ เนื่องด้วยแพทยสภาเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบอภิบาลในระบบสุขภาพ (health system governance) เพราะเป็นองค์กรกำกับดูแลที่ต้องมีความเป็นกลาง มีความน่าเชื่อถือในสายตาของประชาชน มีกลไกตรวจสอบธรรมาภิบาลในองค์กร การดำเนินงานของแพทยสภาในประเทศเหล่านี้ จะถูกตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างเข้มข้น กรณีศึกษาแพทยสภาทั้ง 3 ประเทศคือ แพทยสภาอังกฤษ (General Medical Council), แพทยสภานิวซีแลนด์ (Medical Council of New Zealand) และสภาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพแห่งแอฟริกาใต้ (Health Professions Council of South Africa) สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีลักษณะเป็น สภาวิชาชีพหรือองค์กรที่ควบคุมหรือกำกับดูแล (regulatory body) การประกอบวิชาชีพเวชกรรม วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งแพทยสภานั้น มิใช่เพื่อปกป้องหรือรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มวิชาชีพของตนแต่อย่างใด เพราะแพทยสภามิใช่เป็นองค์กรในลักษณะของสมาคมวิชาชีพ แพทยสภามีบทบาทในฐานะเป็นตัวกลางระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ อันดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย รวมถึงคุ้มครองสุขภาพและประโยชน์ของผู้ป่วยและประชาชนเป็นสำคัญ ผลการศึกษาแพทยสภาในต่างประเทศพบว่า องค์กรเหล่านี้ได้พยายามปรับตัวหรือพัฒนาองค์กรของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ โดยเฉพาะกรณีที่ประชาชนหรือผู้ป่วยได้รับความเสี่ยงหรืออันตรายจากการรักษาของแพทย์บางราย ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากข้อบกพร่องของแพทยสภา จนทำให้ประชาชน ผู้ป่วย แม้กระทั่งกลุ่มแพทย์ด้วยกันเองขาดความเชื่อถือในแพทยสภา ดังตัวอย่างกรณีแพทยสภาอังกฤษ จนนำไปสู่การปฏิรูปแพทยสภาอังกฤษในที่สุด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแพทยสภาในต่างประเทศ มีเป้าหมายเพื่อผดุงรักษาความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อแพทยสภา และรักษาคุ้มครองผู้ป่วยและประชาชน หากแพทยสภามีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ก็จะมีส่วนช่วยลดข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการสาธารณสุขให้ลดลงได้ ทำให้มีการฟ้องร้องเป็นคดีความลดน้อยลงen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1656591 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectธรรมาภิบาลen_US
dc.subjectเวชปฏิบัติen_US
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์en_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleกลไกธรรมาภิบาลในการควบคุมวิชาชีพเวชกรรมในต่างประเทศ : กรณีศึกษาประเทศสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้en_US
dc.title.alternativeGood governance mechanisms for medical profession regulations in the United Kingdom, New Zealand and South Africaen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWB32 พ997ก 2555en_US
dc.identifier.contactno55-003en_US
dc.subject.keywordเวชกรรมen_US
.custom.citationไพศาล ลิ้มสถิตย์. "กลไกธรรมาภิบาลในการควบคุมวิชาชีพเวชกรรมในต่างประเทศ : กรณีศึกษาประเทศสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3523">http://hdl.handle.net/11228/3523</a>.
.custom.total_download110
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs1945.pdf
Size: 1.778Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record