dc.contributor.author | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | en_US |
dc.date.accessioned | 2012-10-02T09:15:28Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:19:55Z | |
dc.date.available | 2012-10-02T09:15:28Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:19:55Z | |
dc.date.issued | 2555 | en_US |
dc.identifier.other | hs1979 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3684 | en_US |
dc.description.abstract | สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ร่วมมือกับสำนักงานนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (Thailand health policy program : IHPP) และภาคี (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน และ World health organization) ในการสำรวจครัวเรือนที่ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม 61 จังหวัด โดยส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติไปสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนของครัวเรือนที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่างทั้งสิ้น 36,910 ราย ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ – 21 มีนาคม 2555 สรุปผลการสำรวจได้ ดังนี้ 1. สถานการณ์น้ำท่วม จากการสำรวจพบว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2554 ประเทศไทยมีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมถึง 61 จังหวัด ในจำนวนนี้เป็นครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมถึง 3.9 ล้านครัวเรือน (ร้อยละ19.0 ของครัวเรือนทั้งประเทศ) และมีสมาชิกในครัวเรือน 12.9 ล้านคน (ร้อยละ 19.6 ของประชากรทั่วประเทศ) เมื่อพิจารณาครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม 5.3 ล้านครัวเรือนพบว่า มีครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมถึงร้อยละ 73.7 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นครัวเรือนที่น้ำท่วมตัวบ้านร้อยละ 45.6 สำหรับครัวเรือนที่น้ำท่วมนอกตัวบ้านอย่างเดียวมีร้อยละ28.1 โดยกรุงเทพมหานครมีครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมมากกว่าภาคอื่น (ร้อยละ84.3) ขณะที่ ภาคอื่นมีครัวเรือนถูกน้ำท่วมร้อยละ 68.6 – 76.0 เมื่อพิจารณาความรุนแรงของน้ำท่วมจากระยะเวลาและความสูงของน้ำที่ท่วมขัง พบว่า น้ำท่วมขังนอกและในตัวบ้านจะนานใกล้เคียงกัน คือเฉลี่ย 25 – 27 วัน และน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 87 - 88 ซม. นอกจากนี้ยังพบว่าครัวเรือนประมาณร้อยละ 30 มีน้ำท่วมขังฯ นานกว่า 30 วัน และประมาณร้อยละ19 มีน้ำท่วมขังฯ สูงกว่า 120 ซม. แต่จะเห็นได้ว่าครัวเรือนที่มีน้ำท่วมขังฯ นานกว่า 30 วัน และน้ำท่วมสูงกว่า 120 ซม. ดังกล่าวพบในกรุงเทพมหานคร และภาคกลางมากกว่าภาคอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากภาคเหนือเป็นทางไหลผ่านของน้ำมายังกรุงเทพมหานคร และภาคกลาง โดยเฉพาะ จังหวัดปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท 2. การเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ53.9)ได้มีการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม เช่น การยกของขึ้นที่สูงซึ่งทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายน้อย การสำรองของกินของใช้ และการกั้นถุงทราย เป็นต้น ซึ่งจากผลการสำรวจ พบว่า เนื่องจากบางกิจกรรมต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รายได้จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ โดยจะเห็นได้ว่าครัวเรือนที่มีรายได้สูงกว่าจะมีการเตรียมตัวมากกว่า นอกจากการเตรียมตัวเรื่องที่อยู่อาศัยและยานพาหนะแล้ว ในช่วงน้ำท่วมประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมร้อยละ48.3 ระบุว่ามีการเตรียมรับมือสำหรับการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ โดยมีการเตรียมยาสามัญ ยารักษาโรคประจำตัว พาหนะ/วิธีช่วยเหลือ และการเตรียมหมายเลขโทรศัพท์ในกรณีฉุกเฉิน ประมาณร้อยละ 12 – 17 จากการสำรวจพบว่า มีถึง 1 ใน 4 ของครัวเรือนที่มีค่าใช้จ่ายในการเตรียมการป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม (ร้อยละ 23.3) โดยเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในช่วงก่อนน้ำท่วม 5,904 บาทต่อครัวเรือน และช่วงน้ำท่วม 8,419 บาทต่อครัวเรือน ส่วนการเตรียมการเพื่อให้เกิดความพร้อมในการเอาชีวิตรอดและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ จำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานบางอย่างที่อาจมองข้าม เช่น การว่ายน้ำ จากผลการสำรวจพบว่ามีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึงร้อยละ 51.1 ที่ว่ายน้ำไม่เป็น และมีสมาชิกเพียงร้อยละ 18.6 ที่ว่ายน้ำได้ตามมาตรฐานสากล (ว่ายน้ำขึ้นตลิ่งฝั่งตรงข้ามที่มีระยะทาง 25 เมตรได้ในขณะสวมใส่เสื้อผ้าตามปกติ) โดยว่ายน้ำได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 1.48 คน (สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.32 คน) ส่วนผู้ที่ว่ายน้ำได้น้อยกว่า 25 เมตรมีร้อยละ 26.4 (ระยะทางเฉลี่ย 8.49 เมตร) และมีเพียงร้อยละ3.7 ที่ช่วยเหลือตัวเองได้แค่เพียงลอยคอ/พยุงตัวในน้ำได้ (เวลาเฉลี่ย 10 นาที) ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อม เช่น การจัดหลักสูตรว่ายน้ำในโรงเรียน เป็นต้น เพื่อลดความสูญเสีย เพราะมีข้อสังเกตว่าเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีว่ายน้ำได้น้อยมาก 3. การอพยพของครัวเรือน ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมร้อยละ 72.7 ระบุว่าได้รับการแจ้งข้อมูลข่าวสารเฝ้าระวังก่อนที่น้ำจะท่วมในช่วงน้ำท่วมมีสมาชิกในครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว อพยพออกจากพื้นที่ร้อยละ 18.0 โดยอพยพออกไปเฉลี่ยนานกว่า 1 เดือน (39 วัน) ซึ่งเป็นการอพยพทั้งครัวเรือนร้อยละ 15.2 และอพยพบางคนร้อยละ2.8 สำหรับผู้ที่ไม่อพยพ (ร้อยละ82.0) ให้เหตุผลว่ายังอาศัยอยู่ได้ เป็นห่วงบ้าน/ทรัพย์สิน คิดว่าท่วมไม่นาน/ไม่ท่วม ไม่มีที่ไป/ไม่มีเงิน และมีคนชรา/เด็ก/คนป่วย/คนพิการ เป็นต้น ผลสำรวจยังพบว่าการอพยพขึ้นอยู่กับการเคยมีประสบการณ์น้ำท่วม โดยประชาชนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ฯ อพยพร้อยละ21.1 ขณะที่ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ฯ อพยพร้อยละ15.6 และผู้ที่มีประสบการณ์ฯ มากจะมีอัตราการอพยพน้อยลง สำหรับอีกปัจจัยที่ทำให้สมาชิกในครัวเรือนตัดสินใจอพยพ คือ ความรุนแรงของน้ำท่วม โดยครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมขังนาน และน้ำท่วมสูงมากจะมีการอพยพมากกว่า 4. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ลักษณะการทำงานของสมาชิกในครัวเรือนก่อนน้ำท่วมเทียบกับหลังน้ำท่วม พบว่า การทำงานแบบเต็มเวลาลดลงจากร้อยละ 53.0 เป็นร้อยละ 47.2 ตามลำดับ ขณะที่การทำงานแบบไม่เต็มเวลาและการตกงานมีเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในทุกภาคลดลงจากในช่วงก่อนน้ำท่วมประมาณร้อยละ 10 ในขณะที่การสูญเสียรายได้จากการประกอบอาชีพ หรือกิจการขาดทุนที่เกิดจากน้ำท่วม พบว่า ครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมใน กรุงเทพมหานคร และภาคกลางมีการสูญเสียโดยเฉลี่ยมากกว่าภาคอื่นหลายเท่า ส่วนความเสียหายของทรัพย์สินในครัวเรือน เช่น ที่อยู่อาศัย รถยนต์/รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้/สิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์การประกอบอาชีพ เมื่อคิดเป็นมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยต่อครัวเรือน พบว่า กรุงเทพมหานคร และภาคกลางมีมูลค่าความเสียหายมากกว่าภาคอื่นมาก 5. การเข้าถึงบริการสุขภาพ ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมมีสมาชิกได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากน้ำท่วมร้อยละ8.1 ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตร้อยละ 0.3 ซึ่งมีสาเหตุหนึ่งเนื่องจากไฟฟ้าดูด/ซ๊อต ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม มีสมาชิกในครัวเรือนใช้บริการทางการแพทย์ร้อยละ15.3 โดยจำนวนนี้มีร้อยละ1.2 ที่ไม่สามารถเข้ารับบริการได้ตามปกติ และผู้ที่ใช้บริการร้อยละ 18.3 เห็นว่าการให้บริการในช่วงน้ำท่วมดีกว่าก่อนน้ำท่วม และมีเพียงร้อยละ 5.2 ที่เห็นว่าแย่ลง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครสูงถึงร้อยละ 17.3 ช่องทางที่ครัวเรือนทราบมากที่สุดในการติดต่อขอความช่วยเหลือบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน คือ รถฉุกเฉิน เช่นรถ อบต./โรงพยาบาล/มูลนิธิ (ร้อยละ55.0) ส่วนสายด่วน 1669 มีทราบ ร้อยละ 47.3 ในขณะที่เรือ และเฮลิคอปเตอร์ฉุกเฉิน มีผู้ทราบน้อยมาก (ร้อยละ 17.0 และ 9.1 ตามลำดับ) 6. การจัดการขยะมูลฝอย/สิ่งปฏิกูล ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมประสบปัญหาขยะ และการกำจัดสิ่งปฏิกูล (ปัสสาวะ อุจจาระ) ร้อยละ 32.3 และ 24.2 ตามลำดับ โดยครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร และ ภาคกลางประสบปัญหาดังกล่าวมากกว่าภาคอื่น 7. การดำเนินงานของรัฐบาล ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมเห็นว่าสิ่งของที่ควรบรรจุอยู่ในถุงยังชีพมากที่สุด คือ อาหารกระป๋อง (ร้อยละ 96.1) น้ำดื่ม(ร้อยละ 94.6) ข่าวสาร(ร้อยละ 94.5) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป(ร้อยละ 86.9) และยาสามัญประจำบ้าน (ร้อยละ 82.0) เป็นต้น ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมมากกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในทุกเรื่อง ได้แก่ การป้องกันและกู้เส้นทางสายหลักเพื่อใช้ในการคมนาคม (ร้อยละ 87.0) การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ สถานการณ์น้ำท่วม (ร้อยละ 86.5) การใช้แรงดันเรือ/เครื่องในการดันน้ำ (ร้อยละ 85.8) การปรับปรุงสาธารณูปโภค (ร้อยละ 85.6) การระบายน้ำออกจากพื้นที่และการใช้ถุงทราย/คันกั้นน้ำชะลอการไหลของน้ำเข้าท่วมพื้นที่ (ร้อยละ 84.9) และการเปิด - ปิดประตูระบายน้ำ (ร้อยละ 84.9) โดยในจำนวนนี้ มีผู้ที่พอใจปานกลาง – มาก ร้อยละ57.6 – 64.6 | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 18073257 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ผู้ประสบอุทกภัย | en_US |
dc.subject | อุทกภัย | en_US |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | การสำรวจครัวเรือนที่ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2554 | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | GB1399.5.T5 ก218ก 2555 | en_US |
dc.identifier.contactno | 55-014 | en_US |
dc.subject.keyword | น้ำท่วม | en_US |
.custom.citation | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. "การสำรวจครัวเรือนที่ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2554." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3684">http://hdl.handle.net/11228/3684</a>. | |
.custom.total_download | 87 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 4 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 | |