Show simple item record

Assistances for Disabled Students in Higher Education Institution: A Case Study of One of Rajabhat Universities in Southern Thailand

dc.contributor.authorกรุณา แดงสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorสุธาสินี บุญญาพิทักษ์th_TH
dc.contributor.authorพรพันธุ์ เขมคุณาศัยth_TH
dc.date.accessioned2013-01-25T07:11:59Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:29:54Z
dc.date.available2013-01-25T07:11:59Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:29:54Z
dc.date.issued2555en_US
dc.identifier.otherhs1998en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3736en_US
dc.description.abstractมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นกรณีศึกษา เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่มีประวัติยาวนานแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษและได้จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีสำหรับผู้พิการตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 โดยรับเฉพาะผู้พิการที่มีความบกพร่องทางการเห็น ต่อมาในปีการศึกษา 2550 ได้ดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดยเพิ่มการเปิดรับนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเข้าเรียน และได้จัดตั้งหน่วยบริการสนับสนุนการศึกษาพิการขึ้นภายใต้สถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษเมื่อกุมภาพันธ์ 2550 เพื่อรองรับการจัดการศึกษาพิเศษระดับอุดมศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 มีนักศึกษาพิการที่มีความบกพร่องทางการเห็น บกพร่องทางการได้ยิน และบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวเรียนรวมกับนักศึกษาไม่พิการในสาขาที่สถาบันอุดมศึกษาเปิดให้เรียน จำนวน 24 คน การศึกษาการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อทราบบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาพิการ การปรับตัวของนักศึกษาไม่พิการและค่านิยมในการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน ที่นำไปสู่การให้ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อใช้สำหรับการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่น การศึกษาได้ข้อสรุปว่าการจัดโครงสร้างองค์การที่มุ่งลดขั้นตอนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและประสานงาน หน่วยงานภายในยังทำงานแบบแยกส่วนโดยไม่มีการจัดการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาพิการเชิงบูรณาการ การจัดสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่เอื้อต่อความสะดวกปลอดภัยและการเข้าถึงของนักศึกษาพิการ บุคลากรต้องการการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะและเจตคติในการปฏิบัติงานที่ตอบสนองการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ทั้งในด้านการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนานักศึกษา การจัดสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบการจัดการศึกษาในภาพรวมยังออกแบบมาเพื่อนักศึกษาไม่พิการ ตั้งแต่การรับเข้าศึกษาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านทักษะที่จำเป็นในการศึกษา สื่อ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ การเข้าถึงข้อมูลด้วยตนเอง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการเตรียมการเพื่อเข้าสู่อาชีพ ทำให้นักศึกษาพิการมีอุปสรรคในการใช้ชีวิตและการเรียนรู้ สำหรับหน่วยบริการสนับสนุนการศึกษาพิการ แม้ว่ามีศักยภาพในการจัดบริการเนื่องจากอยู่ภายใต้สถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษซึ่งเป็นจุดแข็งของสถาบันอุดมศึกษา แต่จำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอและอัตราการย้ายออกสูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการในด้านทันต่อเวลา ความครอบคลุมและทักษะการทำงานด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ยังไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนบทบาทของนักศึกษาพิการจากผู้พึ่งพาหรือผู้สังเกตเป็นผู้ทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการสนับสนุนให้นักศึกษาไม่พิการปรับตัวและเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันกับนักศึกษาพิการ การอยู่ร่วมกันในสถาบันอุดมศึกษา นักศึกษาไม่พิการได้ปรับตัวและมีค่านิยมหลักในการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน 4 ประการคือ การมองด้วยใจและเห็นด้วยปัญญา การให้คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์เหนือรูปลักษณ์ภายนอก การประจักษ์ในหน้าที่ของตน และการสร้างความสำเร็จร่วมกัน ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับสถาบันอุดมศึกษา มี 5 ประเด็นคือ ประเด็นที่ 1 พัฒนาระบบบริหารและจัดโครงสร้างการบริหารให้เอื้อต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ ประกอบด้วยมาตรการด้านการจัดโครงสร้างองค์การ มาตรการด้านแผนการดำเนินงานและมาตรการด้านการสร้างการมีส่วนร่วมจากภายนอกสถาบัน ประเด็นที่ 2 พัฒนาระบบการรับเข้าศึกษาที่เพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาทั้งในด้านจำนวนและประเภทของความพิการอย่างมีส่วนร่วม ประกอบด้วยมาตรการด้านการรับนักศึกษาพิการ มาตรการด้านหลักสูตร และมาตรการด้านการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่มีแวว ประเด็นที่ 3 จัดระบบและกลไกสนับสนุนช่วยเหลือให้นักศึกษาพิการสำเร็จการศึกษารวมทั้งการเข้าสู่อาชีพ ประกอบด้วยมาตรการด้านบุคลากรกร สื่ออุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก มาตรการด้านการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน มาตรการด้านการพัฒนานักศึกษา และมาตรการสนับสนุนการเข้าสู่อาชีพ ประเด็นที่ 4 ใช้การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ ประกอบด้วยมาตรการด้านการพัฒนาบุคลากร มาตรการด้านการจูงใจให้เกิดการคงอยู่ในงาน และมาตรการด้านการมอบหมายงาน ประเด็นที่ 5 นำการจัดการเชิงคุณภาพมาพัฒนาระบบการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องประกอบด้วยมาตรการด้านการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงาน มาตรการด้านการจัดการความรู้ มาตรการด้านการพัฒนาองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรม และมาตรการด้านการติดตามประเมินผล การจัดการศึกษา โดยข้อเสนอเชิงนโยบายทั้ง 5 ประเด็นดังกล่าวมีเงื่อนไขสู่ความสำเร็จได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนและถ่ายทอดไปยังหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับนักศึกษาพิการเพื่อการทำงานที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน 2) เปิดกว้างให้นักศึกษาพิการ ศิษย์เก่าผู้พิการ ผู้ปกครอง ตัวแทน ผู้พิการในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพัฒนา การดำเนินงาน การออกแบบการทำงานหรือการออกแบบกิจกรรม และการประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาพิการ 3) สร้างเสริมให้ยอมรับผู้พิการในฐานะบุคคลคนหนึ่งที่เท่าเทียมและเสมอภาคกัน ยอมรับในความรู้ความสามารถด้านการศึกษา ยอมรับว่าความบกพร่องด้านร่างกาย ไม่ได้เป็นปมด้อยไม่ได้น่าเวทนาสงสารหรือเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตและการศึกษาเรียนรู้แต่ต้องการเข้าถึงสื่อ อุปกรณ์สิ่งช่วยเหลือ สิ่งอำนวยความสะดวกตามความต้องการจำเป็น และทำให้บุคลากรทุกระดับและนักศึกษาไม่พิการมองเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล 4) สถาบันอุดมศึกษามองเห็นการจัดการศึกษาเพื่อผู้พิการที่เป็นมากกว่าการสนองตอบเจตนารมณ์ของกฎหมายและแนวนโยบายที่เกี่ยวข้อง เป็นมากกว่าการปฏิบัติตามภารกิจปกติแต่เป็นการสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเองth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ(สสพ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)en_US
dc.format.extent3900329 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectคนพิการen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeAssistances for Disabled Students in Higher Education Institution: A Case Study of One of Rajabhat Universities in Southern Thailanden_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe selected Rajabhat University in this case study is a higher education institution for a local development which has a long history in southern Thailand. There is an institution for special education development which has offered a bachelor degree for disabled students since the academic year 1994 and required only disabled students who had impaired vision. Then, in 2007, the university operated according to the policy to support the educational management for disabled people by the Office of Higher Education Commission which included the disabled students who had impaired hearing to enroll the program. The university also established a service office for supporting the disabled students under the institution for special education development in February, 2007 in order to support the special education management at a higher education level. By the academic year 1/2011, there were 24 numbers of disabled students who have impaired vision, impaired hearing and imperfect body or movement, studied in the same class with students who do not experience disabilities in the fields that the higher education institution has offered. The aim of the study of the assistances for disabled students in the higher education institution was to understand the roles of the higher education institution in assisting the disabled students, the adaptation of normal students and the values in learning to live together which will lead to a proper policy recommendation to assist the disabled students in a local higher education institution. The research findings revealed that the structural arrangement of the organization which aimed at decreasing of the working steps was found to be a barrier for communication and cooperation. Each unit within the organization has been working separately: no work cooperation among each unit to provide assistances for the disabled students, no effective management for the university surroundings, buildings and facilities which still do not facilitate the conveniences and security, and the accessibility for the disabled students. In addition, the personnel here needs a knowledge development, working skills and attitude which are corresponded to the educational management of inclusion education including teaching and learning, student development activities, the management of surroundings, buildings, and facilities. The overall educational management has been designed to facilitate only students who do not experience disabilities including the enrollment, programs, the preparation for necessary learning skills, learning media and technology, self-access information system, the professional training experience and the preparation for future careers which are the obstacles for the disabled students in order to make a living and to learn. Regarding the Disabled Student Services Center, although it has a potential competence in service delivery as it is under the authority of the institution of special education development which is the strength of the higher education institution, the insufficient number of personnel and a higher turnover rate become barriers in handling the services, including a punctuality in providing services, work coverage and working skills. For student development activities, they have not yet facilitated for the change of the role of disabled students from dependences or observers to be the co-practitioners. Besides, there was a limitation in supporting the adjustment of normal students and learning to live together with the disabled students. To live together with disabled students in the higher education institution, the normal students has adjusted themselves with major values in learning to live together under the four categories: see by heart and understand with wisdom, not value people based on the physical appearance, understand own responsibility and building success together. The policy recommendations for the higher education institution were proposed in five issues. The first issue is to develop the administrative system and arrange the organization’s structure which facilitates the effectiveness of the educational management for disabled students, including the measure for the planning management and the measure in building the participation from outside institution. The second issue concerns the development of the enrollment system which increases the opportunity to access the education in both number of intakes and type of disability, cooperatively. These include the measure for the intake of disabled students, the measure of programs, and the measure of the preparation for students who are gifted. The third issue is about the system and mechanism management to support and assist the disabled students in graduating as well as the access to careers which include the measure for personnel, media, equipment and facilities, the measure for education management, and teaching and learning management, the measure for student development, and the measure for supporting the careers’ access. The fourth issue employs the human resource management as a mechanism in solving problems and developing the education management for disabled students, including the measure for the personnel development, the measure for motivation in remaining the present jobs, and the measure for assigning works. The fifth issue brings the qualitative management to develop the education system management which has a continual quality, including the measure for the quality management development, the measure for the knowledge management, the measure for the knowledge development and creative innovation, and the measure for following up and evaluating the educational management. Accordingly, the five recommendations mentioned above provide four conditions for the achievement. Firstly, having a set of a clear policy and transmit to the officers who mainly have the role in managing education for disabled students in order to work in the same direction. Secondly, providing the opportunities for disabled students, disabled alumni, parents, representatives of the disabled, who acted as stakeholders, or other related people to participate in providing information in order to develop the working procedure, design work procedure or activities, and evaluate the work associated with the disabled students. Thirdly, encouraging people to accept the disabled student and treat them similar to that of normal students, including accepting them in terms of their educational knowledge and abilities. In particular, they should be accepted that the physical impairment is not an inferiority complex, without pities or a barrier in living and learning. Indeed, they need the ability to access to media, equipment, aids, and facilities as necessary, and they also want all personnel at all level and those normal students see the value of living together, helpfully. Fourthly, the higher education institution shouldn’t perceive that the educational management for the disabled is only the responsiveness of the law and related policies or the routine work, but it is also the value creation and addition to the education institution as well.en_US
dc.identifier.callnoHV1568 ก268ก 2555en_US
dc.identifier.contactnoT52-01en_US
.custom.citationกรุณา แดงสุวรรณ, สุธาสินี บุญญาพิทักษ์ and พรพันธุ์ เขมคุณาศัย. "การดูแลช่วยเหลือนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในภาคใต้." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3736">http://hdl.handle.net/11228/3736</a>.
.custom.total_download58
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1998.pdf
Size: 3.916Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record