dc.contributor.author | พินิจ ฟ้าอำนวยผล | en_US |
dc.contributor.author | Pinij Faramnuayphol | en_EN |
dc.date.accessioned | 2013-02-01T06:51:46Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:30:09Z | |
dc.date.available | 2013-02-01T06:51:46Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:30:09Z | |
dc.date.issued | 2555-12 | en_US |
dc.identifier.other | hs2025 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3751 | en_US |
dc.description.abstract | การพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ เป็นความพยายามในการสร้างกรอบของการติดตามระบบสุขภาพในระดับมหภาค ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพกับสภาวะสุขภาพ ซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้ายของระบบสุขภาพ โดยในการพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ เกิดจากกระบวนการพูดคุยและศึกษากรอบแนวคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระหว่างปี พ.ศ. 2551-2553 ทําให้ได้ชุดตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติขึ้น และมีการนําเสนอสถานการณ์ตามตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติครั้งแรก ในรายงานสุขภาพคนไทย 2554 ในครั้งนี้เป็นการดําเนินการที่ต่อเนื่อง โดยมีการศึกษาข้อมูลที่มีอยู่ และประเด็นการนําเสนอภายใต้กรอบของชุดตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ โดยมีการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น 6 หมวด ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมสุขภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สภาวะสังคม และระบบบริการสุขภาพ โดยเป็นการดําเนินงานภายใต้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ และการสนับสนุนจากสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติที่ต่อเนื่องต่อไป ทั้งในด้านกระบวนการกําหนดตัวชี้วัด การพัฒนาตัวชี้วัด และการใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดเพื่อติดตามประเมินระบบสุขภาพ รวมทั้งสร้างความตระหนักให้กับสังคม ชุดตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย 12 หมวด 24 ตัวชี้วัด โดยหมวดของตัวชี้วัดที่ยังเป็นปัญหาอยู่ ได้แก่ หมวดสุขภาพปัญญา ที่ยังไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนและขาดข้อมูลในการนําเสนอ นอกจากนี้ จากหมวดของตัวชี้วัดทั้ง 12 หมวด ยังสามารถจัดกลุ่มให้มีจํานวนหมวดลดลงได้ อาทิเช่น การรวมหมวดความมั่นคงของชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว ศักยภาพชุมชน และความมั่นคงของสังคม เข้าไว้ในหมวดเดียวกัน คือ หมวดสภาวะสังคม และการรวมหมวดที่เกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพทั้ง 3 หมวด เข้าไว้ด้วยกัน ทําให้เหลือจํานวนหมวดเพียง 6 หมวด เพื่อให้ง่ายต่อการนําเสนอ ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมสุขภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สภาวะสังคม และระบบบริการสุขภาพ โดยจะนําเสนอแยกในแต่ละหมวด | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Indicators | en_US |
dc.subject | ตัวชี้วัดสุขภาพ | en_US |
dc.subject | Health Administration | en_US |
dc.subject | Health Policy | en_US |
dc.subject | การบริหารงานสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | นโยบายด้านสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | การสังเคราะห์การจัดทำข้อมูลและพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ | en_US |
dc.title.alternative | การประชุมกลุ่มวิชาการย่อยการจัดทำตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | WA540 พ685ก 2555 | en_US |
dc.identifier.contactno | 55-028 | en_US |
.custom.citation | พินิจ ฟ้าอำนวยผล and Pinij Faramnuayphol. "การสังเคราะห์การจัดทำข้อมูลและพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3751">http://hdl.handle.net/11228/3751</a>. | |
.custom.total_download | 134 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 9 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |