ระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามราคาและวิเคราะห์ขีดความสามารถในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ยาของภาครัฐตามแนวทางของ PAC
dc.contributor.author | รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ | en_US |
dc.contributor.author | นุศราพร เกษสมบูรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | ศิริพา อุดมอักษร | en_US |
dc.contributor.author | อินทิรา กาญจนพิบูลย์ | en_US |
dc.contributor.author | ไพทิพย์ เหลืองเรืองรอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2013-02-15T02:25:00Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:30:02Z | |
dc.date.available | 2013-02-15T02:25:00Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:30:02Z | |
dc.date.issued | 2555 | en_US |
dc.identifier.other | hs2030 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3761 | en_US |
dc.description.abstract | กลไกการควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นมาตรการที่ใช้กันทั่วไปเพื่อให้ระบบประกันสุขภาพมีประสิทธิภาพ ภายใต้มาตรการเหล่านี้ ถ้าผู้ให้บริการขาดศักยภาพในการจัดการ ผลกระทบจะเกิดกับคุณภาพการให้บริการแก่ผู้ป่วย ดังนั้นการเพิ่มศักยภาพในการจัดการด้านยาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักกลุ่มหนึ่งของผู้ให้บริการ (Providers) เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้การบริการในระบบสุขภาพสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ แนวคิด PAC (Pharmaceutical Acquisition Capability) เป็นกลไกหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อยาของโรงพยาบาล ในขณะเดียวกันสารสนเทศจากระบบ PAC-DSS (Pharmaceutical Acquisition Capability-Decision Support System) จะสามารถนาไปใช้ในการกำหนดราคายาอันจะเป็นประโยชน์ต่อมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาต่อไป PAC หรือขีดความสามารถเสริมกำลังซื้อสัมพัทธ์ เป็นแนวคิดที่พัฒนาจากการประยุกต์ใช้แนวคิดกำลังความสามารถ (Capability Approach) เพื่อวัดความแตกต่างของราคาจัดซื้อยาที่เกิดจากปัจจัยอื่นที่นอกเหนือจากปริมาณการซื้อ ค่า PAC ที่สูงกว่าสะท้อนถึงขีดความสามารถเสริมกำลังซื้อสูงกว่าหรือสามารถซื้อยาในราคาที่ต่ำกว่าด้วยปริมาณการซื้อที่เท่ากัน การนำแนวคิดของ PAC ซึ่งประกอบด้วยสถิติที่เกี่ยวข้องกับ PAC รวมทั้ง Gini Coefficient มาใช้ในการติดตามพฤติกรรมราคายาที่จัดซื้อโดยโรงพยาบาลจะเป็นกลไกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหายาของภาครัฐ การพัฒนาระบบ PAC-DSS มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสารสนเทศภายใต้แนวคิด PAC ทั้งหมด ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในกระบวนการจัดซื้อจัดหายาในระดับโรงพยาบาล และการตัดสินใจด้านยาในระดับนโยบาย โดยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและสามารถรองรับความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละภาคส่วน ข้อมูลการจัดซื้อที่ส่งมายัง DMSIC จะถูกส่งเข้าสู่ระบบ PAC-DSS และพัฒนาเป็นสารสนเทศย้อนกลับให้แก่โรงพยาบาล เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถตรวจสอบราคายาที่จัดซื้อเองเปรียบเทียบกับราคาที่แนะนำจาก ค่า PAC เฉลี่ยของกลุ่มเปรียบเทียบ ระบบสามารถแนะนำราคาที่เหมาะสมตามกำลังซื้อหนึ่งๆ ของโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนยาและประหยัดงบประมาณให้แก่โรงพยาบาล สัมประสิทธิ์การกระจาย หรือ Gini Coefficient แสดงถึงขนาดความแตกต่างของราคายาในตลาด เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้ระบบสามารถติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมราคายาในท้องตลาด จึงสามารถใช้เป็นข้อมูลที่จะช่วยให้การตัดสินใจเชิงนโยบายด้านราคายามีความแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้สารสนเทศภายใต้แนวคิด PAC สามารถใช้สนับสนุนการกำหนดราคายามาตรฐานสำหรับการเบิกจ่ายในระบบประกันสุขภาพ ระบบ PAC-DSS ทำงานผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Web Application) บนเว็บไซต์ http://pac-dss.moph.go.th โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ผู้ใช้สามารถตรวจสอบราคายาที่โรงพยาบาลจัดซื้อเองเปรียบเทียบกับราคายาจาก PAC ของแต่ละตลาดหรือกลุ่มเปรียบเทียบ ระบบสามารถแนะนำราคาที่เหมาะสมสำหรับปริมาณการจัดซื้อที่โรงพยาบาลต้องการ และมีระบบการวิเคราะห์พฤติกรรมราคายาในท้องตลาดเพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย ข้อมูลนำเข้าหลักของระบบ PAC-DSS ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยาและเวชภัณฑ์ (DMSIC) ซึ่งมาจากข้อมูลการจัดซื้อยาของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย รหัสมาตรฐานของยา 24 หลัก ข้อมูลการจัดซื้อยาของหน่วยงาน และข้อมูลรหัสมาตรฐานอื่น เช่น รหัสพื้นที่การปกครอง รหัสโรงพยาบาล และรหัสเขตตรวจราชการUser ในระบบ PAC-DSS มีทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใช้งานทั่วไป ฝ่ายเภสัชกรรมของโรงพยาบาล ผู้วางแผนในระดับนโยบาย และผู้ดูแลระบบ โดยแต่ละกลุ่มสามารถเข้าดูข้อมูลได้แตกต่างกันตามสิทธิ์ในการเข้าถึงที่ได้กำหนดขึ้น ในส่วนการเลือกข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ ระบบสามารถให้ user แยกดูข้อมูลได้แบบ interactive ตามความต้องการในการวิเคราะห์ วิธีการวิเคราะห์และรายงานจากระบบได้มาจากการสำรวจความต้องการของกลุ่ม user เพื่อให้ครอบคลุมและเหมาะกับการนำไปประกอบการตัดสินใจทั้งในเชิงปฏิบัติระดับโรงพยาบาลและเชิงวางแผนระดับนโยบาย สำหรับผลการวิเคราะห์ ระบบสามารถแสดงผลการวิเคราะห์โดยจำแนกตามวิธีการจัดซื้อ เขตพื้นที่ ระดับโรงพยาบาล กลุ่มยา และความแรง การทดสอบประสิทธิภาพของระบบ PAC-DSS ใช้ข้อมูลการจัดซื้อจริงของโรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2553 ที่ส่งมายัง DMSIC ของยา 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) HMG-CoA-reductase inhibitors หรือ Statin, 2) Proton pump inhibitors (PPI), 3) Blood-glucose-lowering drugs, 4) COX-2 selective inhibitor, และ 5) ยาผสมในกลุ่ม Statin ซึ่งประกอบด้วยยาทั้งหมด 116 รายการตามชื่อการค้า และเป็นยาชื่อสามัญที่แตกต่างกันตามความแรงและรูปแบบของยารับประทานทั้งหมด 57 รายการ อย่างไรก็ตามเพื่อให้ผลการวิเคราะห์มูลค่าประหยัดได้มีความน่าเชื่อถือ จึงดำเนินการวิเคราะห์โดยคัดเลือกเฉพาะรายการยาที่มีจานวนข้อมูลมากกว่า 4 โรงพยาบาล ซึ่งมียารวม 33 รายการ ใน 5 กลุ่มยา พบว่ามีมูลค่าการจัดซื้อรวมในฐานข้อมูล 899.85 ล้านบาท ถ้ามีการจัดซื้อตามราคาที่แนะนำโดย PAC โรงพยาบาลจะสามารถประหยัดได้ 190.19 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าที่ประหยัดได้ร้อยละ 21.14 โดยมีโรงพยาบาลที่สามารถได้ประโยชน์จากการจัดซื้อคิดเป็นร้อยละ 70.11 เมื่อประเมินเฉพาะยา 10 รายการ ที่มีมูลค่าการจัดซื้อรวมสูงที่สุดในยา 5 กลุ่มดังกล่าว พบว่า Atorvastatin 20 mg เป็นยาที่มีมูลค่ารวมสูงที่สุด ด้วยมูลค่าการจัดซื้อ 120.74 ล้านบาท และ Pioglitazone 15 mg เป็นยาที่มีมูลค่าการจัดซื้อเป็นอันดับ 10 ด้วยมูลค่าการจัดซื้อ 40.48 ล้านบาท มูลค่าการจัดซื้อรวม 10 รายการ คิดเป็นมูลค่ารวม 665.82 ล้านบาท ทั้ง 10 รายการนี้ ถ้ามีการจัดซื้อยาตามราคาที่แนะนำสำหรับโรงพยาบาลที่ราคาจัดซื้อสูงกว่าที่แนะนำ จะสามารถประหยัดได้ 164.79 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.75 ของมูลค่าการจัดซื้อเดิม ผลการการประเมินข้างต้นนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันของศักยภาพในการจัดซื้อและต่อรองราคายาของโรงพยาบาลเมื่อปรับด้วยปริมาณการจัดซื้อแล้ว ฐานข้อมูล PAC-DSS จะช่วยให้โรงพยาบาลทราบศักยภาพของตนเองเปรียบเทียบกับภาพรวมและมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดซื้อ เมื่อวิเคราะห์การกระจายหรือความแตกต่างของราคายาแต่ละรายการ โดย Gini Coefficient พบว่ายาที่มีค่า Gini Coefficient สูง สะท้อนถึงพฤติกรรมราคายาที่ผิดปกติและควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น มีโรงพยาบาลที่มีปริมาณการซื้อน้อยแต่สามารถซื้อได้ในราคาถูก เป็นต้น จากการศึกษานี้ได้ข้อสังเกตว่าโรงพยาบาลยังให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐานข้อมูลการจัดซื้อน้อย ทำให้ข้อมูลที่ส่งมา DMSIC ยังพบข้อผิดพลาดมาก ถึงแม้การส่งข้อมูลการจัดซื้อยาจะมีระเบียบกำหนดให้โรงพยาบาลต้องดำเนินการส่งข้อมูลให้แก่กระทรวงสาธารณสุข แต่ในทางปฏิบัติ การกำกับติดตามยังไม่เคร่งครัดและไม่มีการกำหนดรายละเอียดวิธีการ จึงพบว่าแต่ละโรงพยาบาลส่งข้อมูลตามความสมัครใจด้วยความถี่และจำนวนข้อมูลที่แตกต่างกัน ขึ้นกับความสะดวกของแต่ละโรงพยาบาล นอกจากนี้โรงพยาบาลจำนวนมากไม่มีการใช้รหัสยา 24 หลัก ทำให้มาตรฐานข้อมูลแตกต่างกันและต้องใช้เวลามากในการปรับข้อมูลที่ได้รับให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก่อนนำเข้าสู่ระบบ ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการนำข้อมูลไปใช้ข้อเสนอแนะเพื่อการขยายผล PAC-DSS ถึงแม้ว่าระบบ PAC-DSS จะมีประโยชน์และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดซื้อ แต่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวงกว้างต่อไป จึงมีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายให้ขยายจำนวนโรงพยาบาลที่ใช้สารสนเทศจากระบบ PAC-DSS เพื่อให้เกิดการประหยัดงบประมาณการจัดซื้อ จัดอบรมเพื่อให้ความรู้เรื่องหลักการและแนวคิด PAC แก่โรงพยาบาลอย่างทั่วถึงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของคุณภาพและมาตรฐานของข้อมูลที่จะนำส่งมายังศูนย์ข้อมูล สร้างมาตรการเพื่อเป็นแรงจูงใจให้โรงพยาบาลนำส่งข้อมูลการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาให้แก่ DMSIC เพื่อให้ฐานข้อมูลมีจำนวนข้อมูลเพิ่มขึ้นทำให้ระบบสารสนเทศมีความน่าเชื่อถือ พัฒนากลไกการนำส่งข้อมูลเพื่อให้มีการนำส่งข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เน้นให้ผู้บริหารใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในระดับนโยบาย เช่น ใช้ในการกำหนดราคากลาง หรือใช้เพื่อการติดตามราคายาทั้งในลักษณะการเฝ้าระวังพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคายา และการตั้งราคายาของบริษัทยา และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ PAC-DSS และสารสนเทศ จึงควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศของ PAC-DSS ตามแนวคิด PAC เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถติดตามและตรวจสอบสาเหตุของความแตกต่างของราคา อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ยา | en_US |
dc.title | ระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามราคาและวิเคราะห์ขีดความสามารถในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ยาของภาครัฐตามแนวทางของ PAC | en_US |
dc.title.alternative | PAC-DSS : PHARMACEUTICAL ACQUISITION CAPABILITY- DECISION SUPPORT SYSTEM | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | W26 ร626ร 2556 | en_US |
dc.identifier.contactno | 53-066 | en_US |
dc.subject.keyword | การจัดซื้อยา | en_US |
dc.subject.keyword | ราคายา | en_US |
dc.subject.keyword | การควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยา | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบสารสนเทศ | en_US |
.custom.citation | รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์, นุศราพร เกษสมบูรณ์, ศิริพา อุดมอักษร, อินทิรา กาญจนพิบูลย์ and ไพทิพย์ เหลืองเรืองรอง. "ระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามราคาและวิเคราะห์ขีดความสามารถในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ยาของภาครัฐตามแนวทางของ PAC." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3761">http://hdl.handle.net/11228/3761</a>. | |
.custom.total_download | 266 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย