dc.contributor.author | วินัย ลีสมิทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2013-04-01T07:14:55Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:30:13Z | |
dc.date.available | 2013-04-01T07:14:55Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:30:13Z | |
dc.date.issued | 2556-02-28 | en_US |
dc.identifier.other | hs2039 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3799 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์และวิธีการศึกษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการได้แก่ (๑)ค้นหารูปแบบจำลององค์ประกอบและบทบาทเขตสุขภาพ รวมทั้งทางเลือกฉากทัศน์ (scenarios) การพัฒนาในอนาคต (๒)พัฒนารูปแบบจำลององค์ประกอบและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเขตสุขภาพและระบบสนับสนุนสำคัญที่จำเป็นสำหรับการทำงานและ (๓) ข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยอาศัยวิธีวิจัย ๒ วิธี คือ การทบทวนประการณ์จากต่างประเทศ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และสังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา การศึกษาสรุปให้เห็นช่องทางการพัฒนาเขตสุขภาพประเทศไทยใน ๖ ประเด็นสำคัญๆ ดังนี้ คือ แนวคิดเรื่องเขตสุขภาพพบว่ายังมีการมองเชิงเป้าหมาย(end) มากกว่ามองเป็นกลไกพัฒนา(means), องค์ประกอบและบทบาทเขตสุขภาพมีมุมมองที่แยกส่วนระหว่างสปสช.และกระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถวางแผนแบบบูรณาการได้ดี, แนวคิด องค์ประกอบและบทบาทคณะกรรมการเขตสุขภาพถูกมองในกรอบกระทรวงสาธารณสุขมากกว่าที่จะครอบคลุมทุกภาคส่วน, ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างส่วนกลางและเขตสุขภาพให้ความสำคัญกับตัวบุคคลกว่าระบบที่ต้องมีการเชื่อมต่อโดยเฉพาะผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข, รูปแบบจำลองของเขตสุขภาพและทางเลือกระยะเปลี่ยนผ่านรวมทั้งฉากทัศน์ของการจัดการระยะเปลี่ยนผ่าน มีการเสนอ ๓ รูปแบบเพื่อให้เกิดทางเลือกและการพัฒนาสำหรับสร้างฉากทัศน์ระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งอาจผสมผสานหลายรูปแบบเพื่อความคล่องตัว ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ๗ ประการ ๑. เป้าหมายของการปฏิรูปการจัดการสุขภาพระดับเขตพื้นที่หรือเขตสุขภาพ คือ ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้นโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ (more health for money) และคำนึงถึงความเสมอภาคของการใช้ทรัพยากรระหว่างเขตพื้นที่และกองทุน มีช่องทางการมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับประเทศ เขต ท้องถิ่นและประชาชน ๒. การดำเนินการปฏิรูปเรื่องเขตสุขภาพควรดำเนินการโดยเร็วและเป็นขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรมในการจัดพวงบริการในทิศทางหลัก ๓ ประการ คือ ก. เริ่มจากรูปแบบเขตสุขภาพที่เป็นโครงสร้างตามบทบาทหน้าที่สำคัญๆ จนเกิดความชัดเจน และนิ่งเพียงพอที่จะจัดตั้งปรับเปลี่ยนและพัฒนาสู่โครงสร้างทางกฎหมายที่ยั่งยืน (functional structure to legal structure) ข. บทบาทบริการเริ่มจากส่วนที่ครอบคลุมเฉพาะบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุขจนขยายออกไปครอบคลุมการบริการที่เกี่ยวข้องกับตัวกำหนดทางสังคมด้านสุขภาพ (social determinants of health) และปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอื่นๆ (health risk factors) ค. บริการสุขภาพเริ่มจากการดำเนินงานในขอบเขตความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข และขยายออกไปสู่การมีส่วนร่วมของภาคส่วนนอกกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน ๓. การบริหารจัดการเขตสุขภาพต้องมีอำนาจครอบคลุม ๓ มิติ คือ อำนาจรัฐ อำนาจทางสังคมและอำนาจทางปัญญา (leadership) เพียงพอที่จะบูรณาการการทำงานในเขตสำหรับบริการดูแลประชาชนครอบคลุมทั้งทางร่ายกาย จิตใจและจิตวิญญาณ ซึ่งอำนาจต้องการความยั่งยืนโดยมีกฎหมายและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนรองรับมากกว่าเป็นเพียงนโยบายที่เป็นนามธรรม ๔. การดำเนินการเขตสุขภาพให้ดำเนินการสอดคล้องกับการถ่ายโอนภารกิจภายใต้ พรบ.แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจโดยมีความชัดเจนในบทบาทเขตสุขภาพกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๕. การจัดตั้งและดำเนินงานเขตสุขภาพต้องยืดหยุ่นโดยพิจารณาบริบทของพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันของปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งหน้าที่สำคัญของคณะกรรมการเขตสุขภาพคือการสร้างทางเลือกฉากทัศน์ (scenarios)ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่นั้นๆ ๖. คณะกรรมการเขตสุขภาพและสำนักงานเลขานุการเขตสุขภาพให้มีการจัดตั้งเป็นโครงสร้างที่ชัดเจนที่มีผู้ปฏิบัติงานประจำและยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมกับการปรับเปลี่ยนขยายตัวของเขตสุขภาพ เช่น การปรับเปลี่ยนที่มาของประธานและคณะกรรมการเขตสุขภาพ เป็นต้น โดยพิจารณาถึงทุนทางสังคมและทุนทางปัญญา (leadership) และเน้นเจตนารมณ์สำคัญของเขตสุขภาพ คือ ประชาชนมีส่วนร่วมและประชาชนคือผู้ที่ได้รับผลจากการบริการ ๗. ควรมีการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงานเขตสุขภาพ โดยองค์กรหรือหน่วยงานอิสระนอกกระทรวงสาธารณสุขและสปสช. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องในทิศทางที่ต้องการ ข้อเสนอแนะดังกล่าวนี้เป็นการนำเสนอภาพรวมเชิงระบบ (system approach) ที่ต้องการความชัดเจนทางเทคนิค (technical approach) จำเป็นต้องดำเนินการและศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นรายละเอียดที่การศึกษาครั้งนี้ยังไม่สามารถตอบได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 708821 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาข้อเสนอรูปแบบและโครงสร้างการบริหารเขตสุขภาพ | en_US |
dc.title.alternative | A Study of the Development of Recommendations for the Form and Structure of Area Health Management | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ว619ก 2556 | en_US |
dc.identifier.contactno | 56-007 | en_US |
dc.subject.keyword | การบริหารเขตสุขภาพ | en_US |
.custom.citation | วินัย ลีสมิทธิ์ and ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. "การพัฒนาข้อเสนอรูปแบบและโครงสร้างการบริหารเขตสุขภาพ." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3799">http://hdl.handle.net/11228/3799</a>. | |
.custom.total_download | 316 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |