Show simple item record

การพัฒนาแนวทางอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพ

dc.contributor.authorเดือนเด่น นิคมบริรักษ์en_US
dc.contributor.authorวีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารีen_US
dc.contributor.authorธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศen_US
dc.contributor.authorพรชัย ฬิลหาเวสสen_US
dc.date.accessioned2013-04-30T04:04:46Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:30:29Z
dc.date.available2013-04-30T04:04:46Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:30:29Z
dc.date.issued2556-01en_US
dc.identifier.otherhs2042en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3816en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาระบบการอภิบาลการคลังสาธารณสุขของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้มีสิทธิในระบบประกันสุขภาพต่างๆ และสามารถสร้างความยั่งยืนทางการเงินของระบบประกันสุขภาพของประเทศได้ ผลการศึกษาพบว่าการมีกองทุนสุขภาพหลายกองทุนไม่ได้เป็นประเด็นปัญหาหากกองทุนเหล่านั้นอยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงานเดียวกัน คือ กระทรวงที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขดังเช่นในประเทศที่ศึกษาหลายประเทศที่มีระบบประกันสุขภาพที่อิงกับระบบ ประกันสังคมซึ่งมีกองทุนประกันสังคมมากกว่า 1 กองทุนตามลักษณะของอาชีพ การที่ประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบซึ่งอยู่ภายใต้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงที่ต่างกัน 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงาน ทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการ ความลักลั่นของสิทธิประโยชน์และภาระเบี้ยประกัน รวมถึงความแตกต่างของรูปแบบการบริการจัดการด้านการคลัง ซึ่งระบบประกันสังคมเป็นระบบเดียวที่มีการบริหารจัดการในลักษณะกองทุน ในขณะที่อีก 2 ระบบใช้เงินจากงบประมาณของประเทศโดยตรง ในเชิงความเท่าเทียมกัน (equity) ของบริการรักษาพยาบาลนั้น จากการที่กองทุนสุขภาพในประเทศไทยทั้ง 3 กองทุนมีรูปแบบที่ต่างกันและภายใต้การดูแลของกระทรวงที่ต่างกัน ทำให้เกิดความ “เหลื่อมล้ำ” ของสิทธิประโยชน์และคุณภาพในการรักษาพยาบาลระหว่างกองทุนในหลายมิติ เช่น1) ภาระค่าเบี้ยประกันที่ต่างกัน ระบบประกันสังคมเป็นระบบเดียวที่ผู้ประกันตนมีภาระค่าใช้จ่าย โดยร่วมจ่ายกับนายจ้างและรัฐ ในขณะที่ข้าราชการและระบบประกันสุขภาพแห่งชาติไม่มีภาระค่าใช้จ่าย 2) สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลที่ได้ในแต่ละกลุ่มก็ยังคงแตกต่างกัน เช่น การเข้าถึงการรักษาในระบบสวัสดิการข้าราชการสามารถใช้สถานพยาบาลของรัฐได้ทุกแห่งเนื่องจากเป็นระบบการจ่ายตามจริง ในขณะที่อีก 2 ระบบนั้นต้องขึ้นทะเบียนกับสถานพยาบาลที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพราะเป็นระบบการเหมาจ่ายรายหัว เป็นต้น 3) คุณภาพในการรักษาพยาบาลแตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละกองทุนมีอัตราการเบิกจ่ายในการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะระหว่างระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการที่มีการเบิกจ่ายตามจริง กับระบบประกันสังคมและประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นการเหมาจ่ายรายหัว และแม้แต่ในกรณีของผู้ป่วยในที่มีการจ่ายตามโรค อัตราการเบิกจ่ายก็ยังคงต่างกัน ทำให้สถานพยาบาลมีการปฏิบัติต่อผู้ป่วยของแต่ละกองทุนที่แตกต่างกัน ในเชิงประสิทธิภาพ (efficiency) การมีระบบประกันสุขภาพหลายระบบที่มีการบริหารจัดการแบบแยกส่วนทำให้เกิดต้นทุนที่สูงสำหรับผู้ให้บริการ (provider) และผู้จ่าย(payer) ในมิติของผู้ให้บริการ การมีระบบประกันทั้งสามระบบทำให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นปัญหา เนื่องจากแต่ละกองทุนมีวิธีการและเอกสารที่ต้องใช้ที่แตกต่างกัน เช่น การเก็บข้อมูลในการรักษาพยาบาลนั้น ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใช้โปรแกรม NHSO สำนักงานประกันสังคม ใช้โปรแกรม SSdata และกรมบัญชีกลางใช้โปรแกรม CSMBS ทำให้ฐานข้อมูลไม่สอดคล้องกัน เป็นต้น ในมิติของผู้จ่ายหรือผู้ที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลซึ่งหมายถึงภาครัฐนั้น การมีระบบประกัน สุขภาพที่มีการบริหารจัดการแบบแยกส่วนทำให้เกิดต้นทุนซ้ำซ้อนในการกำกับควบคุม เช่น การตรวจสอบทางด้านการเงิน (Financial audit) และคุณภาพในการรักษาพยาบาล (Clinical audit) เป็นต้น ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ทั้งในมิติของโครงสร้างและระบบอภิบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อที่จะ (1) เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการบริหารจัดการและ (2) ลดความเหลื่อมล้ำของสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพของผู้ประกันตนในแต่ละกองทุน เพื่อที่จะบรรลุเป้าประสงค์ทั้งสองดังกล่าว ประเทศไทยจำเป็นต้องเลือกว่าระบบประกันสุขภาพของประเทศที่พึงปรารถนาจะเป็นระบบที่อิงกับระบบประกันสังคม หรือที่ไม่อิงกับระบบประกันสังคมโดยการใช้งบประมาณของประเทศคณะผู้วิจัยเห็นว่า ระบบประกันสุขภาพหลักของไทยในอนาคตควรมีระบบเดียวซึ่งใช้งบประมาณของประเทศ เนื่องจากระบบประกันสังคมในปัจจุบันมีสมาชิกเพียง 10.3 ล้านคน จากทั้งหมด 40 ล้านคนทำให้ไม่ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยยังคงมีเศรษฐกิจและแรงงานนอกระบบจำนวนมาก ในขณะที่ระบบสวัสดิการข้าราชการมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินควร หากเป็นเช่นนั้นแล้วควรมีการโอนย้ายภารกิจในการกำหนดนโยบายและในการกำกับดูแล ระบบประกันสุขภาพทั้งสามระบบให้อยู่ภายใต้หน่วยงานเดียวกัน ซึ่งควรเป็นกระทรวงสาธารณสุข เพื่อที่จะให้การบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของภาครัฐเป็นไปอย่างบูรณาการ และเพื่อที่จะให้ความรับผิดชอบต่อระบบประกันสุขภาพของประเทศมีความชัดเจน อย่างไรก็ดี เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมีสถานภาพเป็นผู้ให้บริการด้วยเนื่องจากมีโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในสังกัดจำนวนมาก หน่วยงานที่รับภารกิจในการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของประเทศจึงควรที่จะเป็นอิสระจากกระทรวงฯ เพื่อป้องกันปัญหาการทับซ้อนของบทบาทหน้าที่ของผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลกับผู้ให้บริการรักษาพยาบาล หากรัฐเห็นว่าระบบประกันสุขภาพของประเทศควรเดินไปในทิศทางของกองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ใช้เงินจากงบประมาณแล้วก็ควรที่จะมีแนวทางในการควบรวมทั้งกองทุนสุขภาพทั้งสามระบบเข้าด้วยกัน โดยอาจยึดระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นแกน ดังนี้ 1) กำหนดให้สิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาลภายใต้กองทุนสุขภาพแห่งชาติเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากแต่ระบบสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคมอาจเสนอสิทธิพิเศษเพิ่มเติม (add on) ให้แก่ข้าราชการและผู้ประกันตน (การคำนวณเบี้ยประกันจะต้องอิงกับต้นทุนในการให้สิทธิเพิ่มเติมเท่านั้น) เช่น กองทุนประกันสังคมอาจให้สิทธิพิเศษในการได้รับค่าชดเชยรายได้ในช่วงที่ลาป่วยหรือลาคลอด และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการอาจให้สิทธิพิเศษแก่สมาชิกในการเลือกรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐได้ทุกแห่งดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นต้น 2) โอนย้ายภารกิจด้านการรักษาพยาบาลจากสำนักงานประกันสังคมมายังสปสช. 3) กำหนดให้ข้าราชการหรือพนักงานของรัฐที่มีการบรรจุใหม่ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยให้ค่าชดเชยเป็นเงินเพิ่มรายปีที่คำนวณจากส่วนต่างของค่าใช้จ่ายของระบบจ่ายตามจริงกับเหมาจ่ายรายหัวตามข้อมูลเชิงประจักษ์ 4) ในช่วงเปลี่ยนผ่าน กระทรวงสาธารณสุขสามารถลดความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการกับระบบประกันสุขภาพของภาครัฐอีกสองระบบโดยการ (1) ปรับอัตราการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ให้เท่ากัน และ (2) ปรับปรุงอัตราการเบิกจ่ายยาของกรมบัญชีกลางเพื่อให้สถานพยาบาลไม่มีแรงจูงใจที่จะจ่ายยาราคาแพงให้แก่ผู้ใช้สิทธิระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการโดยไม่จำเป็นen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1763799 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบหลักประกันสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาแนวทางอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe health insurance system in Thailand is currently separated into three main programs, namely the Civil Servants System (CSS), the Social Security System (SSS) and the National Health Security Program (NHSP). Each of these programs has been developed and implemented for different groups of beneficiaries. The CSS was created to finance the provision of health care services for civil servants and their family including their parents and children under the legal age. The SSS, on the other hand, aims to provide the social welfare for private employees. The NHSP is the health care coverage scheme for the rest of population who do not benefit from the first two schemes. The multiple programs proved rather problematic as they lead to inequality of health benefits and inefficiency due to duplicate administration and management. This study aims thus to analyze the governance of Thailand’s national health system with the objectives to establish equity in terms of benefits from the health care schemes among Thai population as well as to create the budgetary sustainability for the health insurance system. Reviews of health care regimes overseas reveal that multiple health care schemes (such as in countries where health care benefits are provided through the social security system) is not necessarily problematic if all are overseen by a single authority responsible for national public health policy. However, the three healthcare programs of Thailand are governed by three different public agencies: Ministry of Finance, Ministry of Public Health and Ministry of Labor, which manage the CSS, the NHSP and the SSS respectively. Overlapping and duplication of administration and management lead to inefficiency and more importantly, inequality of health benefits as elaborated below. 1) Different charges of health insurance: the insured persons of the SSS are obliged to pay their health insurance charges regularly in order to benefit the insurance co-payment from their employers and the State. Whereas the beneficiaries of the CSS and the NHSP are not to but still benefit the rights on health care services. 2) unequal health benefits: members of the “fee-for-service” CSS system are allowed to obtain health care services provided in any public hospitals nationwide, while SSS and the NHSP members can obtain the services only in hospitals or health centers where they have previously registered as a beneficiary under the “per capitation payment system”. 3) Discriminatory treatment: patients with “fee-for-service” health care scheme normally obtain better treatment than those with “per capitation” counterparts. Also, different schemes often use different DRGs. Different rate of reimbursement leads to different service quality. In terms of efficiency, the administrative separation of health insurance system into three schemes leads to high costs for both the health services providers (hospitals) and the payers (public agencies). 1) For the providers, the costs are generated from the complication of reimbursement systems because each scheme necessitates different beneficiaries’ data collection and documentation. The NHSP uses the database software called “NHSO” while the SSS and the CSS require the “SSdata” and the “CSMBS” respectively. 2) For the payers, the costs are caused in the process of overseeing the systems separately. This means that the State has to duplicate the process such as financial audit and clinical audit for each scheme. Consequently, the current health insurance system in Thailand needs to be reformed regarding its structure and governance in order to 1) improve the efficiency and reduce the costs of administration and management and 2) reduce inequality in terms of health benefits and quality of services for beneficiaries covered by each program. To attain to the objectives mentioned above, Thailand has to choose whether its health insurance system is operated in the same model as the Social Security or not. The research team finds that Thailand’s health insurance system in the future should be based on a single scheme and that this scheme should be fully funded by the national budget. This is because the SSS covers only 10.3 million of over 40 million work force. This is because Thailand has a very large informal economy. The CCS, on the other hand, does not make a feasible national scheme due to the uncontrollable surge in costs. It is recommended that national health care scheme be managed by a single authority, which should be the Ministry of Public Health so that the system is coherent and is easily accountable. However, since the Ministry, with many hospitals and health centers under its supervision, is also a service provider, the designated public agency in charge of the system management should therefore be independent from the Ministry to avoid the problem of conflict of role between policymaker/regulator and service provider. In case the State finds that it is more advantageous to run Thailand’s health insurance system under the same model as the NHSP with the financing from public funds, the practice standards for the agencies integration should be the following; 1) Provide every citizen with standard health benefits currently offered by the NHSP free of charges. The CSS and SSS may nevertheless offer additional peripheral benefits as “add ons”. For example, the SSS may offer supplementary income for forgone earnings during sick leave. However the calculation of the premium should be only based on the cost of the add-on benefits only and not the standard healthcare. 2) Transfer the responsibilities of the Social Security Office (SSO) regarding the health insurance to the National Health Security Office (NHSO). 3) Provide newly hired civil servants or public employees with the standard health benefits according to the NHSP rather than the CSS and offer financial payment to compensate for the lost healthcare benefits. 4) During the transition period, inequality of health benefits between the CSS and the two other schemes can be avoided by (1) Implement the same “DRG” for all schemes (2) Revise the current drug reimbursement regulation which provides incentives for hospitals to prescribe expensive drugs to CSS patients in order to eliminate the perception about the discrepancy in drugs benefits between the CSS and the other two health care schemes.en_US
dc.identifier.callnoW160 ด933ก 2556en_US
dc.identifier.contactnoT54-13en_US
dc.subject.keywordการอภิบาลระบบสุขภาพen_US
.custom.citationเดือนเด่น นิคมบริรักษ์, วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี, ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ and พรชัย ฬิลหาเวสส. "การพัฒนาแนวทางอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพ." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3816">http://hdl.handle.net/11228/3816</a>.
.custom.total_download247
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year9

Fulltext
Icon
Name: hs2042.pdf
Size: 2.615Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record