Show simple item record

Situation review on the generation of health knowledge body and dissemination of health information

dc.contributor.authorธีระ วรธนารัตน์en_US
dc.date.accessioned2013-06-03T04:24:31Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:30:27Z
dc.date.available2013-06-03T04:24:31Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:30:27Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.otherhs2050en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3837en_US
dc.description.abstractงานวิจัยได้ดำเนินการศึกษาสถานการณ์โดยแบ่งออกเป็นสองระยะ ระยะแรกเป็นการทบทวนสถานการณ์โดยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิร่วมกับการดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อระบบการสร้างองค์ความรู้และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ระยะที่สอง เป็นการดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่บ่งถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระบบการสร้างองค์ความรู้และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ รวมถึงความสัมพันธ์กับนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพเฉพาะประเด็นและทิศทางของการพัฒนาระบบเพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และสังคมโลกในอนาคต ข้อค้นพบสำคัญการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ 1.หน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานวิชาการภาครัฐยังคงเป็นภาคส่วนหลักในการสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพในสังคมไทย 2.หากไม่นับความร่วมมือที่มีกลไกประสานงานระดับแหล่งทุนภายนอกแล้วกระบวนการสร้างองค์ความรู้ในแต่ละหน่วยงานมักจะเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำส่วนในระดับระหว่างหน่วยงานนั้นยังคงเป็นไปในลักษณะแข่งขันและต่างคนต่างทำเช่นกันแม้ว่าจะมีกลไกบางอย่างที่เป็นเวทีร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน หรือร่วมวางแผนแนวทางการดำเนินงานร่วมกันก็ตาม 3.หากจำแนกชนิดขององค์ความรู้ด้านสุขภาพที่ได้รับการสร้างขึ้นในรอบ5ปีที่ผ่านมา จะพบว่าการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพเน้นหนักไปทางด้านการรักษาและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาโรค ระบบการให้บริการสุขภาพ รวมถึงด้านระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ในขณะที่ด้านกำลังคนด้านการเงินการคลังสุขภาพ และด้านการอภิบาลระบบสุขภาพยังมีจำนวนน้อยมาก 4. ระบบการสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพของหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานวิชาการด้านสุขภาพส่วนใหญ่ได้รับการสะท้อนจากผู้เกี่ยวข้องว่ามีปัญหาในการดำเนินงานด้านการอภิบาลระบบทีดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การตรวจสอบได้ การตอบสนองต่อปัญหา ประสิทธิภาพ ความครอบคลุมและความเป็นธรรม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ 1. ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่ามีมากมาย ปะปนกันทั้งข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง มีผลการสำรวจจากประชากร 450 คนพบว่าเกินกว่าครึ่งที่รู้สึกว่ามีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพในปัจจุบัน และกว่าหนึ่งในสามที่อยากให้ทั้งองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพมาจากการศึกษาวิจัยที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพของสังคมอย่างแท้จริง 2. โทรทัศน์คือช่องทางที่น่าจะเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุดหากต้องการจะเผยแพร่องค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ รองลงมาคือวิทยุ หนังสือพิมพ์และทางอินเตอร์เน็ต 3. หากดูแนวโน้มจำนวนชิ้นของข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์สาธารณะ 29 แหล่งในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มลดลง โดยมีสัดส่วนของแหล่งข่าวภาครัฐมากกว่าภาคเอกชนเล็กน้อย และเป็นข้อมูลข่าวสารในประเทศมากกว่าต่างประเทศถึง 7 เท่า 4. หากเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการเข้าถึงและศักยภาพที่เอื้อต่อการเข้าถึงของสาธารณชนระหว่างเว็บไซต์ของสื่อมวลชนระดับแนวหน้ากับเว็บไซต์ของหน่วยงานด้านสุขภาพชั้นนำของประเทศจะพบว่ามีหน่วยงานด้านสุขภาพยังมีประสิทธิภาพในการเผยแพร่และศักยภาพที่เอื้อต่อการเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าสื่อมวลชนอย่างมาก 5. ระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพทั้งจากหน่วยงานการศึกษา หน่วยงานวิชาการด้านสุขภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคส่วนเอกชนหรือธุรกิจได้รับการสะท้อนจากผู้เกี่ยวข้องว่ามีปัญหาในการดำเนินงานด้านการอภิบาลระบบทีดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การตรวจสอบได้ การตอบสนองต่อปัญหาประสิทธิภาพความครอบคลุมและความเป็นธรรม และการเข้ากับกรอบระเบียบตัวบทกฎหมายข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาธรรมนูญ 1. การผนวกสาระธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติหมวด 9 และ 10 เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพเข้าด้วยกันตามบริบทจริงในสังคม และเพื่อเอื้อให้เกิดกลไกการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และกลไกสนับสนุนการแปรองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติในสังคม 2. เพิ่มหมวดสาระธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยเรื่องการอภิบาลระบบสุขภาพ โดยครอบคลุมเรื่องกำลังคนด้านสุขภาพ ระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบเวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ การออกแบบระบบบริการ การบริหารและนำองค์กร และการจัดการงบประมาณ 3. ปรับมาตรการในสาระธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ หมวด 9 และ 10 ให้เน้นการพัฒนากลไกประสานงานและความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ให้ชัดเจน อาทิเช่น การแบ่งปันข้อมูล การร่วมลงทุน และร่วมใช้ทรัพยากร การสร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่ของภาคส่วนเอกชน ประชาสังคม และ ชุมชนในคุณค่าและความสามารถของตนเองที่จะมาร่วมในกระบวนการสร้างองค์ความรู้และเผยแพร่องค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ รวมถึงกระบวนการตรวจสอบและแจ้งเตือนถึงความจำเป็น ความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้en_US
dc.subjectพฤติกรรมด้านสุขภาพen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการทบทวนสถานการณ์การสร้างองค์ความรู้และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552en_US
dc.title.alternativeSituation review on the generation of health knowledge body and dissemination of health informationen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA590 ธ661ท 2556en_US
dc.identifier.contactno55-032en_US
dc.subject.keywordHealth Knowledge Bodyen_US
dc.subject.keywordองค์ความรู้en_US
dc.subject.keywordสุขภาพ--ข้อมูลen_US
dc.subject.keywordHealth Informationen_US
.custom.citationธีระ วรธนารัตน์. "การทบทวนสถานการณ์การสร้างองค์ความรู้และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3837">http://hdl.handle.net/11228/3837</a>.
.custom.total_download249
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs2050.pdf
Size: 1.539Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record