dc.contributor.author | ลือชัย ศรีเงินยวง | en_US |
dc.contributor.author | ประเชิญ ศิริวรรณ | en_US |
dc.contributor.author | สายสุดา วงศ์จินดา | en_US |
dc.contributor.author | สลักจิต ชื่นชม | en_US |
dc.date.accessioned | 2013-07-04T02:18:18Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:30:24Z | |
dc.date.available | 2013-07-04T02:18:18Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:30:24Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.other | hs2057 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3860 | en_US |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและติดตามผลกระทบของการถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเชิงการบริหารจัดการการตอบสนองต่อสุขภาพในท้องถิ่น และวิเคราะห์เงื่อนไขและปัจจัยเชิงบริบทที่มีผลต่อความแตกต่างของผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนสถานีอนามัยในพื้นที่ถ่ายโอนจานวน 28 แห่ง และผู้กำหนดนโยบายในส่วนกลาง การสังเกตและการทบทวนจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่ พฤศจิกายน 2554 – พฤษภาคม 2555 ผลการวิจัยพบว่า ผลที่เกิดจากการถ่ายโอนแตกต่างกัน เป็นไปตามบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ในภาพรวมๆ บทบาทการทำงานของสถานีอนามัยในพื้นที่ถ่ายโอนประมาณสองในสามไม่เปลี่ยนแปลงไปจากก่อนการถ่ายโอน เพียงหนึ่งในสี่ที่สามารถทำงานได้ตามอุดมคติคือ ทั้งการบริการรักษาส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อันเป็นหน้าที่พื้นฐาน การตอบโจทย์นโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการคิดค้นพัฒนางานที่ตอบโจทย์ความต้องการสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น ในด้านการบริหารจัดการพบปัญหาการเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนการถ่ายโอนที่ทำให้กิดปัญหาการปรับตัวในการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ผลการวิจัยยังพบว่า การบริหารจัดการเรื่องตำแหน่ง การเลื่อนขั้น โอกาสในการพัฒนาทางวิชาการ การสนับสนุนทรัพยากรจาก CUP ยังคงเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น ยังไม่มีการสร้างระบบหรือโครงสร้างการบริหารที่รองรับการถ่ายโอนอย่างชัดเจน ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้และตีความระเบียบกฏเกณฑ์ไปตามบริบทของตนเองเกือบทั้งหมด ยังไม่มีการบรรจุเจ้าหน้าที่ครบกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้ มองในเชิงผลกระทบของการถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่นต่อสุขภาพของประชาชน การเข้าถึงบริการความเป็นธรรม อนุมานจากรูปธรรมของการถ่ายโอนที่เกิดขึ้นจริงได้ว่า ผลกระทบแตกต่างกันไปตามพื้นที่ในพื้นที่ๆ การถ่ายโอนเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำท้องถิ่นสามารถจับมือกันได้อย่างดี มักก่อให้เกิดบริการสุขภาพที่หลากหลาย เข้าถึงได้ง่าย ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้ป่วยเรื้อรังและงานสร้างเสริมสุขภาพกับกลุ่มอื่นๆ มีแพทย์ให้บริการ ฯลฯ แต่พื้นที่ถ่ายโอนส่วนใหญ่ รูปแบบบริการไม่แตกต่างไปจากเดิม การวิจัยนี้มีบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำคัญคือ 1) บทเรียนของสถานีอนามัยถ่ายโอนทั้ง 28 แห่ง แสดงให้เห็นแนวโน้มและการปรับตัวที่ดีขึ้นสู่เป้าหมายในอุดมคติ คือ การทำให้ระบบบริการสุขภาพตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ตรงจุด รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและกระทรวงสาธาณสุขจะต้องสร้างนโยบายและกลไกพิเศษในการผลักดันการถ่ายโอนให้เกิดเป็นจริงโดยเฉพาะการเร่งบรรจุอัตรากำลังที่ว่างอยู่ 3) หน่วยงานระดับนโยบายคือ กรมส่งเสริมฯ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ-สปสช ควรมีนโยบายสนับสนุนการถ่ายโอนที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในการพัฒนาแนวปฏิบัติการถ่ายโอนที่เป็นรูปธรรมและการกำหนดให้ CUP ถือเป็นหน้าที่สนับสนุนพื้นที่ถ่ายโอน ฯลฯ 4) รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรงวสาธารณสุขจำเป็นต้องส่งสัญญาณเชิงนโยบายที่ชัดเจนและการระดมสรรพกำลังเพื่อช่วยให้สถานีอนามัยถ่ายโอนสามารถก้าวผ่านอุปสรรคสู่ความสำเร็จได้ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและพรบ กระจายอำนาจ | en_US |
dc.description.sponsorship | แผนงานวิจัยและพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 985991 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | สาธารณสุข--นโยบายของรัฐ | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่น: การสังเคราะห์บทเรียนจากกรณีศึกษาพื้นที่ถ่ายโอน และข้อเสนอเชิงนโยบาย | en_US |
dc.title.alternative | Health Center Devolution: Lesson Learned and Policy Implications | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | The primary objective of this study is to assess and compile lessons learned in respect to impacts of health center devolution policy. Focus of the assessment is on administration and management, response to local health needs and increase access to health care of the devolved health centers. This study also aims to analyze contextual factors that explain the impact differences. Qualitative approach relying on data collection methods like in-depth interview, observation and documentary review was employed where study sites included 28 health-center- devolved areas. Data collection was carried out during the months of November 2011 and May 2012.
The study reveals that situation of the devolved health centers varied from area to area. Overall, about two-third of the health centers (16), their roles were not different from those during the period prior to the devolution. Only one-fourth (7) could fulfill the ideal roles (i.e. the provision of primary curative services, doing health promotion and prevention campaigns and inventing innovations to specifically respond to the local people’s health needs). In respect to transfer preparation, time and efforts for making both health center staff and local government’s officials and leaders prepared were found too short and less systematic. Problems of career development, capacity building and budget support from Contracting Unit for Primary Care-CUP abounded yet improving. No specific structure and system had been set up to curve the problems; most of the devolved health centers their vacant positions were mostly unfilled.
From the evidences gathered, it could be inferred that impacts of the devolution on health conditions, more equitable and easy access to health services were uneven. In the area where the transfer was smooth and health workers and local leaders could work harmoniously, a variety of innovative projects were created making services more accessible to the needy especially the chronically ill and the elderly. In some area doctors was employed as part-time staff. Yet, for the rest, insignificant difference of the service before and after the devolution was common.
This study concludes and recommends that 1)lessons learned from the 28 devolved health center shows successful tendency of health decentralization 2) Department of Local Administration-DLA and Ministry of Health-MOH have to seriously develop special policy and mechanisms to help make the devolution realistic especially the filling of vacant positions in the transferred health centers, 3) it is necessary for the policy bodies- DLA, MoH and the National Health Security Office-NHSO to have a clear and more committed policy direction to push forward the devolution of health centers; standard of practice guidelines and clear signal requiring CUP to support the devolved areas should be made explictely. | en_US |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ล517ก 2556 | en_US |
dc.identifier.contactno | 54-039 | en_US |
dc.subject.keyword | การถ่ายโอนสถานีอนามัย | en_US |
.custom.citation | ลือชัย ศรีเงินยวง, ประเชิญ ศิริวรรณ, สายสุดา วงศ์จินดา and สลักจิต ชื่นชม. "การถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่น: การสังเคราะห์บทเรียนจากกรณีศึกษาพื้นที่ถ่ายโอน และข้อเสนอเชิงนโยบาย." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3860">http://hdl.handle.net/11228/3860</a>. | |
.custom.total_download | 418 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 94 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 11 | |