Show simple item record

การคลังสุขภาพสำหรับระบบบริการสุขภาพพึงประสงค์

dc.contributor.authorถาวร สกุลพาณิชย์en_US
dc.contributor.authorสมชัย จิตสุชนen_US
dc.contributor.authorอรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผลen_US
dc.date.accessioned2013-07-04T02:55:09Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:30:20Z
dc.date.available2013-07-04T02:55:09Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:30:20Z
dc.date.issued2556-01en_US
dc.identifier.otherhs2047en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3862en_US
dc.description.abstractการมีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปี 2545 ทำให้ประชาชนไทยเข้าถึงบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริการบางประเภทที่มีราคาแพง รวมทั้งมีแนวโน้มผลลัพธ์ด้านสุขภาพดีขึ้น ในขณะที่การขยายตัวของอุปทาน ได้แก่ จำนวนสถานพยาบาลและบุคลากรผู้ให้บริการมีจำกัด และไม่มีรูปแบบการร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในการกระจายตัวของสถานบริการ รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ ประเทศไทยจะเปลี่ยนไปจากปัจจุบันมากในอีก 20 ปีข้างหน้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐ มิติและสิ่งแวดล้อมในส่วนของสถานการณ์ระบบสุขภาพ ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มตัว ภาระโรคของคนไทยจะเกิดจากโรคเรื้อรังและโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นหลัก ระเบียบวิธีการวิจัยของรายงานการศึกษาครั้งนี้ใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ คณะผู้วิจัยได้นำมาสร้างเป็นสถานการณ์ที่เป็นไปได้ของระบบบริการสุขภาพ 4 สถานการณ์ ได้แก่ SC-0 เป็นสถานการณ์ที่ระบบหลักประกันสุขภาพแยกส่วน การ Harmonization ของรัฐบาลยังไม่ประสบผลสำเร็จ, SC-1 เป็นสถานการณ์ที่ระบบหลักประกันสุขภาพมีการ Harmonization อย่างไรก็ตามประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพยังเป็นบริการตั้งรับเป็นส่วนใหญ่ ระบบบริการปฐมภูมิยังไม่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ ผู้ป่วยในโรงพยาบาลยังแออัด, SC-2 เป็นสถานการณ์ที่ระบบหลักประกันสุขภาพมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานเหมือนกัน และไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการจัดบริการแต่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุมีอัตราเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น SC-3 เป็นสถานการณ์ที่ระบบหลักประกันสุขภาพมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานเหมือนกันและมีทรัพยากรเพียงพอในการจัดบริการ ระบบบริการมีการเชื่อมโยงกันเป็นระบบ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ หลีกเลี่ยงวิถีชีวิตที่ทำให้เกิดความเสี่ยงทางสุขภาพ ทำให้อัตราเป็นโรคเรื้อรังลดลง สำหรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคในอีก 20 ข้างหน้านั้น สามารถดูแนวโน้มได้เป็น 3 รูปแบบ คือ (1) สถานการณ์ที่การการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปตามศักยภาพ ซึ่งเป็นการประมาณการโดยใช้ข้อมูลในอดีตเป็นตัวกำหนดระดับการขยายตัวตามศักยภาพ (2) สถานการณ์ที่ติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลักจากความอ่อนแอเชิงสถาบัน (3) กรณีหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เป็นสถานการณ์ที่มีการปฏิรูปเชิงสถาบัน ผลการประมาณการค่าใช้จ่ายสุขภาพในกรณีเศรษฐกิจขยายตัวตามศักยภาพ พบว่าสถานการณ์แบบ SC-3 แม้ว่าต้องการเงินลงทุนจำนวนมากขึ้นในช่วงแรก แต่จะมีผลตอบแทนระยะยาวที่ทำให้ค่าใช้จ่ายสุขภาพ ใน พ.ศ. 2574 เพียงร้อยละ 3.03 ของ GDP แต่ถ้าประชาชนไม่ได้มีสุขภาพดีขึ้นตามสถานการณ์แบบ SC-2 จะทำให้ค่าใช้จ่ายสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.5 ของ GDP ส่วนในกรณีการทำการปฎิรูประบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐโดยการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพระบบบริการสุขภาพไม่เพียงพอแบบสถานการณ์ SC-1นั้น ค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาวเท่ากับร้อยละ 3.08 ของ GDP ซึ่งสูงกว่าสถานการณ์ SC-3ความยั่งยืนทางการคลังของระบบบริการสุขภาพภาครัฐของประเทศขึ้นอยู่กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในกรณีสถานการณ์ที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปตามศักยภาพและกรณีที่เศรษฐกิจขยายตัวดี จะไม่มีปัญหาความยั่งยืนทางการคลังของระบบบริการสุขภาพภาครัฐ สถานการณ์เดียวที่จะมีปัญหาคือกรณีเศรษฐกิจติดหล่มในกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ถ้าต้องการคงรายจ่ายภาครัฐทุกประเภทไว้ต้องมีการปฎิรูประบบภาษีen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)en_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Financingen_US
dc.subjectการคลังสุขภาพen_US
dc.subjectEconomics, Medicalen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการคลังสุขภาพสำหรับระบบบริการสุขภาพพึงประสงค์en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeAfter Universal Health Coverage policy was implemented in 2002, accessibility to health services of Thai citizens have been increased especially catastrophic treatment. Health outcomes have been improved. Nevertheless, there is constrained in the supply side of the health care, shortage and inappropriate distribution of health facilities and human resources in health. Public-private mixed in Thailand is also not efficient. Thailand will be changing dramatically in the next 20 years from rapid progress of technology, changing of socioeconomic situation and environmental changes. Thailand will be aged society within next 20 years. Chronic disease and diseases of inappropriate lifestyle will be a major burden of diseases. This study used both qualitative technique and quantitative techniques. Researchers developed 4 scenarios of health care. SC-0 is the situation that Thai social health protection is fragmented. Harmonization is not success. SC-1 is the situation that Thai social health protection is harmonized. However, Health literacy of people is low. Health care is provided using passive approach. Health care facilities and health care personnel are inadequate and distributed inappropriately. SC-2 is the situation that Thai social health protection is harmonized. Health literacy of people is low. Health care facilities and health care personnel are adequate. Morbidity expands from the increasing number of elderly with chronic diseases. SC3 is the situation that Thai social health protection is harmonized. Health literacy of people is good. People have appropriate lifestyle. Health care is provided using active approach. Health care facilities and health care personnel are adequate. Morbidity is compressed. Regarding the macroeconomic situation in the next 20 years, there are 3 scenarios. Potential economic growth scenario used previous trend to project Real GDP growth. Prolonged Middle Income Trap scenario is the situation that Thailand has institutional weakness. And Overcoming middle income trap scenario is the situation that Thailand can reform institutions. According to Potential economic growth scenario, SC3 need more money in the initial period. However in the long run, the impact of people who are in better health status will reduce health care expenditure to 3.03% of GDP. In contrast, if management of health service system is inefficient and people still are low level of health literacy as in SC2, healthcare expenditure will increase to 3.5% of GDP. If the social health protection schemes are harmonized alone without adequate supply side, health care expenditure in the long run will increase to 3.08% of GDP in 2031, which is higher than the SC3. Financial sustainability (Public debt less than 60% of GDP) of the social health protection schemes depends mainly on economic growth. There is no financial sustainability problem under Potential economic growth scenario and Prolonged Overcoming middle income trap scenario. However, the problem of fiscal sustainability will be occurred in the Middle Income Trap scenario. If policy makers would not like to decrease other public spending, while maintain the level of health care expenditure. Reform of tax policy is inevitable.en_US
dc.identifier.callnoW74 ถ331ก 2556en_US
dc.identifier.contactnoT54-13en_US
dc.subject.keywordระบบบริการสุขภาพen_US
.custom.citationถาวร สกุลพาณิชย์, สมชัย จิตสุชน and อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล. "การคลังสุขภาพสำหรับระบบบริการสุขภาพพึงประสงค์." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3862">http://hdl.handle.net/11228/3862</a>.
.custom.total_download440
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year37
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs2047.pdf
Size: 7.064Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record