แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การเตรียมความพร้อมด้านระบบยา เวชภัณฑ์ และสิ่งของ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ

dc.contributor.authorอรอนงค์ วลีขจรเลิศen_US
dc.contributor.authorภาณุมาศ ภูมาศen_US
dc.contributor.authorดวงตา ผลากรกุลen_US
dc.contributor.authorพรพิมล จันทร์คุณภาสen_US
dc.contributor.authorไพทิพย์ เหลือเรืองรองen_US
dc.contributor.authorวรนัดดา ศรีสุพรรณen_US
dc.contributor.authorภัทร์อนงค์ จองศิริเลิศen_US
dc.contributor.authorกิตติ พิทักษ์นิตินันท์en_US
dc.date.accessioned2013-08-14T02:59:57Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:30:57Z
dc.date.available2013-08-14T02:59:57Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:30:57Z
dc.date.issued2556-06en_US
dc.identifier.otherhs2060en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3878en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการดำเนินการจัดหาและสนับสนุนยาเวชภัณฑ์และสิ่งของในระหว่างการเกิดภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติในอนาคต โดยทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จังหวัดหรือพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยพิบัติในปีที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค สำนักบริหารการสาธารณสุข องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินงานที่ผ่านมาของหน่วยงานต่างๆ มีดังนี้ กระทรวงสาธารณสุขจัดให้มีคณะกรรมการและคณะทำงานแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ คณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมการแพทย์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกและองค์การเภสัชกรรม จัดทำมาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานของคณะทำงานสนับสนุนยาเวชภัณฑ์และสิ่งของ กำหนดแนวทางการสนับสนุนและกระจายยาการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ การสื่อสารกับพื้นที่การประเมินผลการดำเนินงาน มีการมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรมเป็นหน่วยงาน National Stockpile หน่วยงานส่วนภูมิภาคมีการจัดการปัญหาในพื้นที่ครอบคลุมประเด็นการจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลได้ การจัดแบ่งพื้นที่เป็นโซนเพื่อให้มีโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางในการให้การสนับสนุนด้านยาในเบื้องต้นแก่โรงพยาบาลชุมชนอื่นๆ ในจังหวัด ทั้งนี้ยังคงมีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้ จัดระบบเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการสนับสนุนยาเวชภัณฑ์ และสิ่งของที่กระจายในส่วนภูมิภาคเสี่ยงภัย เช่น คลังสำรองยาระดับชาติ ระดับเขต และในหน่วยงานต่างๆ การจัดการระบบพื้นที่การทำงานกำลังคนและเงินสำรองข้อมูลที่ทำให้ทราบจำนวนยาและเวชภัณฑ์ที่มีสำรองในระดับต่างๆ ที่ชัดเจน การจัดให้มีบัญชีรายชื่อบริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติต่างๆ เพื่อการติดต่อประสานในกรณีฉุกเฉิน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในศึกษาเพื่อวางแผนโครงสร้างงานและระบบสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาหน่วยงานที่มีภารกิจพัฒนาและจัดระบบเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างเข้มแข็งและชัดเจนต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent846982 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบยาen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการเตรียมความพร้อมด้านระบบยา เวชภัณฑ์ และสิ่งของ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoQV55 อ383ก 2556en_US
dc.identifier.contactno55-025en_US
dc.subject.keywordเวชภัณฑ์en_US
dc.subject.keywordภัยพิบัติen_US
.custom.citationอรอนงค์ วลีขจรเลิศ, ภาณุมาศ ภูมาศ, ดวงตา ผลากรกุล, พรพิมล จันทร์คุณภาส, ไพทิพย์ เหลือเรืองรอง, วรนัดดา ศรีสุพรรณ, ภัทร์อนงค์ จองศิริเลิศ and กิตติ พิทักษ์นิตินันท์. "การเตรียมความพร้อมด้านระบบยา เวชภัณฑ์ และสิ่งของ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3878">http://hdl.handle.net/11228/3878</a>.
.custom.total_download279
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year25
.custom.downloaded_fiscal_year7

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2060.pdf
ขนาด: 957.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย