Show simple item record

Analysis of the Capacity and Preparedness of Local Administrative Organizations and Citizens in Health Management

dc.contributor.authorศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุen_US
dc.contributor.authorธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชาen_US
dc.contributor.authorSupawatanakorn Wongthanavasuen_EN
dc.contributor.authorTatchalerm Sudhipongprachaen_EN
dc.date.accessioned2013-09-27T11:25:54Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:30:54Z
dc.date.available2013-09-27T11:25:54Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:30:54Z
dc.date.issued2556-07-31en_US
dc.identifier.otherhs2071en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3889en_US
dc.description.abstractการกระจายอำนาจเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ประสิทธิภาพดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นวิเคราะห์ความพร้อมและศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในการรองรับการถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ด้านสาธารณสุข โดยพิจารณา 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 ความพร้อมเชิงองค์การ (Institutional Capacity) อันประกอบด้วย 3 มิติ คือ 1) ภาวะผู้นำและเจตคติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) โครงสร้างของระบบสนับสนุนภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและความเพียงพอของบุคลากร ด้านสาธารณสุขต่อจำนวนประชากร และ 3) ศักยภาพทางด้านการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ประเด็นที่ 2 ความพร้อมของชุมชน (Community Capacity) อันประกอบด้วย 2 มิติ คือ 1) ทัศนคติของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นต่อการรักษาสุขภาพอนามัยให้สมบูรณ์แข็งแรง และ 2) รูปแบบการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการศึกษานี้ได้ศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ (จ.อุดรธานี) และองค์การบริหารส่วนตำบลนาสี (จ.หนองบัวลำภู) ผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู เทศบาลนครอุดรธานี และองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ มีความพร้อมเชิงองค์การที่สูงกว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นกรณีเปรียบเทียบ ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบมีเจตคติที่เป็นบวกต่องานด้านสาธารณสุขและการทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรภาคประชาชนมากกว่าผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบมีส่วนงานภายในด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะและมีจำนวนบุคลากรด้านสาธารณสุขในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อจำนวนประชากรในพื้นที่ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมีข้อจำกัดทางด้านการจัดเก็บรายได้ของตนเอง โดยต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนจากรัฐเป็นส่วนใหญ่ เมื่อพิจารณาทางด้านความพร้อมและศักยภาพของภาคประชาชนในด้านสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบมีความพร้อมมากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปรียบเทียบ โดยเห็น ได้จากองค์กรภาคประชาชนที่หลากหลายและมีความกระตือรือร้นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดี ทั้งนี้ ความหลากหลายขององค์กรภาคประชาชนและกิจกรรมด้านสุขภาพล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชนอันก่อให้เกิดความตระหนักรู้ในความสำคัญของการรักษาสุขภาพอนามัย และยังเกี่ยวโยงไปถึงการทำงานเชิงรุกของบุคลากรด้านสาธารณสุขของท้องถิ่นen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2750587 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Managementen_US
dc.subjectการจัดการสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพen_US
dc.title.alternativeAnalysis of the Capacity and Preparedness of Local Administrative Organizations and Citizens in Health Managementen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeDecentralization is an important management strategy to improve local government efficiency and services. However, such efficiency will not occur without the self-governing ability of local authorities and communities. This study analyzes the capacity and preparedness of local administrative organizations and communities in taking over the healthcare responsibilities from the national government. The local health management capacity is divided into two (2) elements. First, institutional capacity refers to a local administrative organization’s ability to offer high-quality and adequate health services. The institutional capacity consists of three (3) dimensions: (1) political leadership and local executives’ attitude towards healthcare, (2) organizational structure and adequacy of local healthcare personnel, and (3) local fiscal capacity. Second, community capacity refers to a local community’s ability to participate meaningfully in the local policy-making process. This consists of two (2) dimensions: (1) local citizens’ attitude towards their health and (2) forms of citizen participation in social and political activities. Based on these two (2) elements of local health management capacity, this study examines six (6) local administrative organizations: Nongbua Lumphu Provincial Administrative Organization, Udornthani Provincial Administrative Organization, Udornthani Nakorn Municipality, Nongbua Lumphu Muang Municipality, Naphu Tambon Administrative Organization, and Nasee Tambon Administrative Organization. This study finds that the three (3) “model communities” –including the Nongbua Lumphu Provincial Administrative Organization, Udornthani Nakorn Municipality, and Naphu Tambon Administrative Organization—demonstrate more institutional capacity than the other three (3) local administrative organizations. The model communities’ mayors exhibit positive attitudes towards healthcare responsibilities and the need to collaborate with the Ministry of Public Health and civil society. Also, research findings indicate that each model community has a local health department with adequate healthcare personnel to serve its constituents. Nonetheless, all six (6) local administrative organizations in this study encounter difficulty with revenue collection. Even the model communities still rely heavily on intergovernmental transfers to finance their operations and services. In terms of community capacity, the model communities are more prepared than the other three (3) local administrative organizations. This is due to the diversity and enthusiasm of civil society organizations that offer a variety of health-related activities in the model communities. Such diversity and enthusiasm come from a wide range of news media outlets and other information sources that make local citizens aware of the importance of maintaining healthy lifestyle. Also, the local healthcare personnel’s proactive approach plays an important role in inculcating health awareness among local citizens.en_US
dc.identifier.callnoW50 ศ723ก 2556en_US
dc.identifier.contactno55-035en_US
dc.subject.keywordHealth Decentralizationen_US
dc.subject.keywordLocal Institutional Capacityen_US
.custom.citationศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, Supawatanakorn Wongthanavasu and Tatchalerm Sudhipongpracha. "การวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพ." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3889">http://hdl.handle.net/11228/3889</a>.
.custom.total_download679
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs2071.pdf
Size: 2.778Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record