แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดการภัยพิบัติของระบบสาธารณสุข : กรณีศึกษาประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติในภาคใต้

dc.contributor.authorวรสิทธิ์ ศรศรีวิชัยen_US
dc.contributor.authorประณีต ส่งวัฒนาen_US
dc.contributor.authorเนตรนภา คู่พันธวีen_US
dc.contributor.authorลัพณา กิจรุ่งโรจน์en_US
dc.contributor.authorเนตรนภา พรมหมเทพen_US
dc.contributor.authorวิวัฒน์ ศีตมโนชญ์en_US
dc.contributor.authorสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจen_US
dc.contributor.authorต่อพงศ์ ครองไตรเวทย์en_US
dc.contributor.authorชญานิษฐ์ เพ็ชรรัตน์en_US
dc.date.accessioned2013-11-06T06:37:11Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:31:14Z
dc.date.available2013-11-06T06:37:11Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:31:14Z
dc.date.issued2556-11en_US
dc.identifier.otherhs2078en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3898en_US
dc.description.abstractประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติที่มีความรุนแรงมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบสาธารณสุขที่มีหน้าที่ต้องดูแลสุขภาพของประชาชนที่ประสบภัยพิบัติในวงกว้าง การวางระบบการจัดการภัยพิบัติที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการลดความสูญเสียและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ แต่ยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อจัดการภัยพิบัติในประเทศไทย โครงการนี้ศึกษาระบบสาธารณสุขใน 3 พื้นที่ของภาคใต้ซึ่งเกิดภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำที่รุนแรงและหลากหลายรูปแบบขึ้นบ่อยครั้ง คือ จังหวัดภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสงขลา โดยครอบคลุมการจัดการภัยพิบัติทั้งในระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ ขณะเกิดภัยพิบัติ และหลังเกิดภัยพิบัติ ตั้งแต่การป้องกัน การเตรียมรับ การตอบสนอง การบรรเทาผลกระทบ การฟื้นฟู รวมถึงการพัฒนาเพื่อศึกษาประสบการณ์ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการจัดการภัยพิบัติ โดยใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขและและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละพื้นที่เพื่อพัฒนาให้มีความสามารถในการเก็บ จัดการ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ข้อมูลการจัดการภัยพิบัติ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการภัยพิบัติระหว่างบุคลากรสาธารณสุขและหน่วยงานหลายภาคส่วน เก็บข้อมูลด้วยการทบทวน เอกสาร การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสำรวจด้วยแบบสอบถามถึงประสบการณ์ของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และ ผู้ประสบภัย ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 3 จังหวัดมีพัฒนาการจากการจัดการภัยพิบัติที่เน้นการตอบสนองเชิงตั้งรับ ภายในขอบเขตของงานบริการทางสาธารณสุขโดยเฉพาะการรักษาพยาบาล ไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติเชิงรุกกับภาคส่วนต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมในการจัดการภัยพิบัติครบวงจร เพื่อต่อยอดการพัฒนาและเสริมความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนการจัดการภัยพิบัติทั้งระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด ประเทศ และนานาชาติ โดยระบบสาธารณสุขของจังหวัดภูเก็ตมีจุดเด่นในด้านการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติโดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีผู้นำที่เข้มแข็งโดยเฉพาะหน่วยงานระดับท้องถิ่นมีความร่วมมือกับหน่วยงานวิชาการ และมีการเชื่อมโยงกับนโยบายและทรัพยากรในส่วนกลางและต่างประเทศ ในขณะที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีจุดเด่นในด้านการตอบสนองต่อภัยพิบัติ โดยมีความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยงานวิชาการและเครือข่ายภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ และ จังหวัดสงขลามีจุดเด่นในด้านการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติล่วงหน้าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการจัดการที่เน้นความเป็นชุมชนที่คนในชุมชนพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง และมีกลไกนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานรัฐและภาคประชาชน อย่างไรก็ตามระบบสาธารณสุข ใน 3 พื้นที่ยังมีจุดอ่อนในการจัดการภัยพิบัติ เช่น การสื่อสารความเสี่ยง ระบบข้อมูลและการเตือนภัย และยังขาดประสิทธิภาพในบางด้าน โดยเฉพาะในสถานการณ์ภัยพิบัติ การบริหารจัดการความช่วยเหลือในระดับพื้นที่บางครั้งยังมีลักษณะแยกส่วน ขาดการประสานการทำงานที่เป็นระบบ ทำให้การช่วยเหลือกระจุกตัว ไม่ทั่วถึง ไม่เป็นธรรม และก่อให้เกิดความขัดแย้งและความแตกแยกในชุมชน รวมถึงยังขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการจัดการการฟื้นฟูในระยะยาวที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้การจัดการภัยพิบัติมีความยั่งยืน และขาดการบันทึกและการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อถอดบทเรียน เป็นองค์ความรู้ในการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติในอนาคต ข้อเสนอแนะที่ท้าทายจากการประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติใน 3 พื้นที่ของภาคใต้นี้ คือ ระบบสาธารณสุขจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์จาก “การจัดการภัยพิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุข” (Medical disaster management) สู่ “การจัดการภัยพิบัติในมิติสุขภาวะ” (Health disaster management) ที่เป็นการจัดการเชิงรุกแบบบูรณาการที่เปิดพื้นที่และเชื่อมร้อยทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในทุกระยะของการจัดการภัยพิบัติ โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ที่บุคลากรสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการร่วมจัดการภัยพิบัติอย่างครบวงจร และให้ระบบสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติกับชุมชนen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติen_US
dc.format.extent6979000 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.publisherสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectภัยพิบัติen_US
dc.subjectระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectPublic Health Systemen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดการภัยพิบัติของระบบสาธารณสุข : กรณีศึกษาประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติในภาคใต้en_US
dc.title.alternativeDisaster Management of Public Health Sector: Lesson Learned from the Southen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThailand, especially the south, more frequently faced natural disaster with more severity which cause loss of life and property of affected population and also have effect on public health system. Development of disaster management system is of paramount importance to minimize such effect, however, no study of public health disaster management in Thailand was found. This project studied 3 southern provinces that have past experience on disaster management namely Phuket, Nakorn Sri Thammarat and Songkhla to learn from their direct experience in order to recommend disaster management for public health sector. The study included disaster prevention, preparedness, response, mitigation, recovery and development during pre-disaster, disaster and post-disaster phases. Methodology used in the study was mixed method, quantitative and qualitative. This study also emphasized on the participation of the participants from public health and relevant organization to build their capacity in disaster-related data collection, management, analysis and utilization and team learning by sharing experience among multi-disciplinary participants. Data collection was carried out by document review, focused group discussion, in-depth interview and questionnaire survey among executive, practitioner and the affected people. The study found that the 3 provinces had developed from passive disaster management focusing on public health service to active, integrated disaster management with collaboration with relevant organizations at various levels from local, national to international. Phuket had its forte in disaster preparedness especially with capacity building and resource management and collaboration with academic sector. Its strong leaders can also mobilize resource and link to national and international authorities. Nakorn Sri Thammarat had strength in disaster response with multi-sectoral collaboration and civil society participation while Songkhla excelled in community engagement to prevent and mitigate the disaster with its strong community self-sustainable identity and participatory public policy mechanism. However the three settings still had room for development in the area of risk communication, information and early warning system, systematic, effective aid management, long-termed recovery that integrated with community development and knowledge management to improve disaster management in the future. The challenging recommendation to public health system from the experience of these three settings is; public health system has to shift its paradigm from “medical disaster management” to “health disaster management”. It should be more actively engaged in integrated multi-sectoral disaster management with the multi-disciplinary relevant organization including the civil society. Public health system, its facility and its human resource have to be inclusive as a part of the community in disaster management especially in prevention and preparedness.en_US
dc.identifier.contactno55-012en_US
.custom.citationวรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, ประณีต ส่งวัฒนา, เนตรนภา คู่พันธวี, ลัพณา กิจรุ่งโรจน์, เนตรนภา พรมหมเทพ, วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์, สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ, ต่อพงศ์ ครองไตรเวทย์ and ชญานิษฐ์ เพ็ชรรัตน์. "การจัดการภัยพิบัติของระบบสาธารณสุข : กรณีศึกษาประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติในภาคใต้." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3898">http://hdl.handle.net/11228/3898</a>.
.custom.total_download276
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2078.pdf
ขนาด: 7.544Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย