dc.contributor.author | กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ | en_US |
dc.contributor.author | มโน มณีฉาย | en_US |
dc.date.accessioned | 2014-03-20T07:53:23Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:31:18Z | |
dc.date.available | 2014-03-20T07:53:23Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:31:18Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.other | hs2095 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3991 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการจัดการระบบสุขภาพระดับตำบลในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดการระบบสุขภาพระดับตำบล 3. ความสัมพันธ์เชิงอำนาจและความรับผิดชอบในการดำเนินการในแต่ละภารกิจ เพื่อสร้างความชัดเจนในประเด็นภารกิจด้านสุขภาพ 4. เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาไปสู่รูปแบบการจัดการระบบสุขภาพระดับตำบลที่สอดคล้องกับบริบทต่างๆ
จากผลการศึกษาพบว่า การกำหนดบทบาทและหน้าที่ที่เหมาะสมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Expenditure Assignment) เป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรยึดหลักเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนเป็นหลักการพื้นฐาน การถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ที่รับผิดชอบไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรองรับความรับผิดชอบใหม่ๆที่ได้รับจากการถ่ายโอนนี้ และส่วนกลางควรพัฒนาระบบการสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลักการกำหนดภารกิจควรมีการจัดแบ่งลักษณะของบริการสาธารณะออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1 บริการสาธารณะที่เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึงกลุ่มบริการสาธารณะที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าของ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยแท้จริง
กลุ่มที่ 2 บริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลแต่สามารถมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ท้องถิ่นทำแทนได้ หมายถึง กลุ่มบริการสาธารณะที่ยังจำเป็นที่ต้องกำหนดให้รัฐเป็นเจ้าของ เนื่องจากเป็นบริการสาธารณะที่รัฐจำเป็นต้องเข้าไปกำหนดแบบแผนและมาตรฐานของบริการสาธารณะนั้น แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเข้ามาจัดทำได้ โดยรัฐเป็นผู้จัดสรรภารกิจหน้าที่ 2 ลักษณะ คือภารกิจที่ได้รับมอบหมาย(Delegated function) และภารกิจที่ท้องถิ่นสามารถร่วมจัดทำได้ (Co-function)
กลุ่มที่ 3 บริการสาธารณะที่เป็นของรัฐ หมายถึง กลุ่มบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐและไม่อาจมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำแทนได้
World Bank ได้กำหนดภารกิจหน้าที่งานด้านสาธารณสุขระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ 3 ด้านคือ
1. ด้านการกำหนดนโยบายและการกำกับดูแล ควรเป็นภารกิจของทุกระดับตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภูมิภาคหรือจังหวัดและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ด้านการบริหารจัดการและด้านการให้บริการ ควรเป็นภารกิจของระดับภูมิภาคหรือจังหวัดและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากต้นทุนและผลประโยชน์ระหว่างภูมิภาคและท้องถิ่น
จากการศึกษาบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของชูชัย ศุภวงศ์ และคณะพบว่า สมาชิกอบต.ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ และไม่เข้าใจว่าปัญหาสาธารณสุขและปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านใดที่เป็นปัญหาร้ายแรงหรือปัญหาเร่งด่วนในพื้นที่ตำบลของตนเอง.
จากการศึกษาของ วัยวุฒิ ผลทวี และ บุษรา ผลทวี พบว่า ถึงแม้ประชาชนในเขต อบต.ในภาคเหนือตอนบนมีส้วมราดน้ำใช้ถึงร้อยละ 95 แต่ขาดการบริการรถขนถ่ายสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาลโดยมีรถของเอกชนที่ไม่ได้รับอนุญาตอีกทั้งยังให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานและการควบคุมมาให้บริการถึงร้อยละ 78.18 ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่คิดว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางประการยังไม่ชัดเจนควรมีการอบรมชี้แจงและทำความเข้าใจกฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เป็นต้น
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1. การกระจายอำนาจควรมีหลายรูปแบบตามบริบทของตำบลที่มีความแตกต่างกัน 2. แนวทางการกระจายอำนาจที่ผ่านมามุ่งประเด็นไปที่การถ่ายโอนด้านโครงสร้าง ในอนาคตควรคำนึงถึงภารกิจและกิจกรรมการดูแลสุขภาพประชาชนในระดับตำบลร่วมด้วย 3. การประเมินความพร้อมของหน่วยงานที่มีความต้องการถ่ายโอน ควรมีการพิจารณาหลักเกณฑ์เพิ่มเติม เช่น ขนาดของตำบล, จำนวนงบประมาณที่ใช้ในการบริหารของอบตและความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการระหว่างหน่วยงานทั้งสอง 4. ในระหว่างการดำเนินการถ่ายโอนหน่วยบริการสาธารณสุขยังไม่ครบทุกแห่ง ควรมีการกำหนดกิจกรรมการดูแลสุขภาพให้กับรพ.สต.และอบต.โดยจัดทำเป็นคู่มือ/แนวทางการดำเนินงาน 5. ควรมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบด้านต่างๆเกี่ยวกับกิจกรรมการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งระดับนโยบาย การบริหารจัดการและผู้ปฏิบัติในพื้นที่ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2822849 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดการระบบสุขภาพระดับตำบล ภายใต้แผนการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | WA525 ก281ก 2557 | en_US |
dc.identifier.contactno | 55-026 | en_US |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจ | en_US |
dc.subject.keyword | Decentralization | en_US |
dc.subject.keyword | การถ่ายโอน | en_US |
.custom.citation | กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ and มโน มณีฉาย. "การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดการระบบสุขภาพระดับตำบล ภายใต้แผนการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3991">http://hdl.handle.net/11228/3991</a>. | |
.custom.total_download | 280 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 39 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 6 | |