The effects and caregiving burdens of older persons in long-term care based on Thai culture.
dc.contributor.author | ศิราณี ศรีหาภาค | th_TH |
dc.contributor.author | Siranee Sihapark | en_US |
dc.contributor.author | โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Komatra Chuengsatiansup | en_US |
dc.contributor.author | คณิศร เต็งรัง | th_TH |
dc.contributor.author | Kanisorn Tengrang | en_US |
dc.date.accessioned | 2014-06-24T09:06:46Z | |
dc.date.available | 2014-06-24T09:06:46Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.other | hs2116 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4028 | |
dc.description.abstract | รายงานผลการวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ภาระและผลกระทบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และ บทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสังคมไทย ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากกลุ่มผู้สูงอายุ 179 คน ผู้ดูแล 187 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่การวิจัยคือ 13 ตำบล 9 จังหวัด ครอบคลุม 5 ภูมิภาคของประเทศไทย ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 – พฤษภาคม 2556 แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ประเด็น และแจกแจงความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าประสบการณ์เกิดภาวะพึ่งพาระยะยาวของผู้สูงอายุ มี 4 เส้นทาง คือ ภาวะ Stroke ภาวะสมองเสื่อม โรคเรื้อรังร่วม และอายุที่มากกว่า 80 ปี ด้านสถานะของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระยะยาวในสังคมไทย พบว่า ผู้ดูแลส่วนใหญ่อยู่ในภาวะไร้อำนาจต่อรอง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ประมาณร้อยละ 85.0 ผู้ดูแลส่วนใหญ่มีปัญหาภาวะสุขภาพและต้องการการพึ่งพาด้านสุขภาพ โดยพบผู้ดูแลหนึ่งในสามมีปัญหาโรคเรื้อรัง หนึ่งในสามของผู้ดูแลเป็นผู้สูงอายุ และผู้ดูแลส่วนใหญ่มีรับภาระดูแลครอบครัว สามในสี่ของผู้ดูแลยังประกอบอาชีพอยู่ ประมาณหนึ่งในเก้ามีผู้ที่ต้องดูแลระยะยาวมากกว่า 1 คน และผู้ดูแลส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย โดยพบว่าแบบแผนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสังคมไทยเป็นการภายในครอบครัว โดยผู้ดูแลในครอบครัว ซึ่งพบว่าการดูแลอยู่ภายใต้เงื่อนไขของความกตัญญู ด้านภาระการดูแลผู้สูงอายุ พบว่าการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ Stroke และโรคเรื้อรังอื่น ก่อให้เกิดภาระและผลกระทบด้านการเศรษฐกิจมากที่สุดเกือบ 4 ใน 5 ซึ่งทำให้ครอบครัวมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รายได้ลดลง จนทำให้เกิดหนี้สินและผู้ดูแลขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ และพบว่ามากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ดูแลมีภาระและผลกระทบด้านอารมณ์ ทำให้เกิดความวิตกกังวล ความรู้สึกเศร้า และอารมณ์เครียดที่รุนแรง ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในครอบครัวและญาติพี่น้องมากกว่าสองในห้า อีกทั้งพบว่ามากกว่าสองในสามของผู้ดูแลเกิดภาระและผลกระทบด้านร่างกายจากการทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ เช่น เหนื่อยล้าร่างกาย ปวดหลัง ปวดเอว มีปัญหาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และพบว่าการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวส่วนใหญ่เป็นเพียงการดูแลกิจวัตรประจำวัน มีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 45 ไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพ ส่วนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม พบว่าทำให้เกิดภาระและผลกระทบด้านอารมณ์เป็นปัญหาที่พบมากที่สุด 4 ใน 5 ของผู้ดูแล ผู้ดูแลมากกว่า 3 ใน 4 เกิดภาระและผลกระทบด้านร่างกาย ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ดูแลลาออกจากงานและหยุดงาน ร้อยละ 11 เพื่อทำหน้าที่ผู้ดูแล และพบว่า มีข้อจำกัดของการวินิจฉัยและความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมทำให้ผู้สูงอายุขาดโอกาสในการบำบัด ร้อยละ 72 นอกจากนี้พบว่าขาดความต่อเนื่องของการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในระบบบริการสุขภาพ รวมทั้งขาดหลักประกันคุณภาพการดูแลที่บ้านและการบูรณาการภารกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน การวิจัยครั้งนี้ จึงสรุปได้ว่าการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวก่อให้เกิดภาระและผลกระทบกับผู้ดูแล และครอบครัวที่อยู่ท่ามกลางความไม่พร้อมของครอบครัวและระบบการสนับสนุนในชุมชน ดังนั้นการพัฒนาระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในและการออกแบบระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีทางเลือกให้สำหรับผู้ดูแลและครอบครัวในชุมชน ได้แก่ พัฒนาสถานบริการปฐมภูมิ ส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในครอบครัว รวมถึงกำหนดมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของประเทศ อันนำไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย | th_TH |
dc.title.alternative | The effects and caregiving burdens of older persons in long-term care based on Thai culture. | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study was a qualitative research aiming to study the experience of long-term care, its associated burden and impact as well as the role of organizations involved in long - term care for the elderly in Thailand. Data were collected, from June of 2012 to May of 2013, through indepth interview, focus group discussion, and direct observation of 179 elderly persons and 187 caregivers, at 13 districts of nine provinces and five regions of Thailand. The data were analyzed using content analysis, thematic analysis, and frequency and percentage. The experiences of long-term dependency of the elderly with stroke, dementia, co - morbidity, and aged 80 years and above, were documented. The care givers who provided long-term care for the elderly in Thailand showed that the majority of them feel relative powerless; most of them (85%) were female; one-third had a chronic health problem; and one-third were elderly caregivers. Three-quarters of caregivers also work, about one in nine people need to provide long-term care for more than one person, and the majority had never experienced any long term care. In addition, it was found that the pattern of family caregivers for long-term elderly care in Thai social that the caring was subject of gratitude. Regarding the burden and effect of care, nearly four in five caregivers who care for the elderly with stroke and co-morbidity experienced the economic burden, due to costs of care, financial debt, and a lack of opportunities for career development. More than two in three of caregivers experienced emotional burden including anxiety, depression, and severe stress, and conflicts within relatives. More than two-thirds of caregivers experienced physical burden of elderly care, including fatigue, body pain, increased health problems. And, the majority of long-term care for the elderly was only activities daily living care. It found the elderly 45 % who did not receive rehabilitation. Also, the psychological burden and emotional problems were the most common, about four in five, among those who provided care to elderly people with dementia. More than three in four of these caregivers experienced physical, social and economic burdens. Moreover, 11% of paid care workers quit their job. And,it found the restrictions of diagnosis and knowledge of the elderly with dementia that the elderly lack of opportunity in the treatment of 72%. In addition, there is a lack of continuity of care for the elderly in the longterm health care system, a lack of assurance for the quality of home care, and the lack of integration of missions of the organizations involved in the care of the elderly in a community. In conclusion, the long-term care for the elderly in Thailand results in tremendous burden on caregivers and families amidst the unavailability of family and community support systems. Therefore, support system development and system design for long-term elderly care options for caregivers and families in the community include; development of primary care services, promote the role of local government in the long term care system for the elderly, development potential family caregivers, and standardization and quality control long-term elderly care nationality.Thus, leading to the development of a sustainable aged care that is in accord with the culture of Thailand. | en_US |
dc.identifier.callno | WT30 ศ444ผ 2557 | |
dc.identifier.contactno | 54-059 | en_US |
.custom.citation | ศิราณี ศรีหาภาค, Siranee Sihapark, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, Komatra Chuengsatiansup, คณิศร เต็งรัง and Kanisorn Tengrang. "ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4028">http://hdl.handle.net/11228/4028</a>. | |
.custom.total_download | 2783 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 65 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 16 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย