แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาความแตกต่างระหว่างสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของบริการโรคหลอดเลือดสมองและผลลัพธ์ : การศึกษาเชิงปริมาณ

dc.contributor.authorจุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorChulaporn Limwattananonen_US
dc.contributor.authorสมศักดิ์ เทียมเก่าth_TH
dc.contributor.authorSomsak Tiamkoaen_US
dc.contributor.authorสุรัชดา ชนโสภณth_TH
dc.contributor.authorSuratchada Chonsophonen_US
dc.contributor.authorอรอนงค์ วลีขจรเลิศth_TH
dc.contributor.authorOnanong Waleekhachonloeten_US
dc.contributor.authorธนนรรจ์ รัตนโชติพานิชth_TH
dc.contributor.authorThananan Rattanachotpaniten_US
dc.date.accessioned2014-07-03T06:43:03Z
dc.date.available2014-07-03T06:43:03Z
dc.date.issued2557-05
dc.identifier.otherhs2136en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4062en_US
dc.description.abstractโรคหลอดเลือดสมองสามารถสะท้อนการส่งเสริมสุขภาพ การคัดกรองโรค การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การให้บริการโรคฉุกเฉินและการให้การรักษาที่ทันท่วงที การดูแลรักษาในโรงพยาบาลต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัย และยาที่มีราคาสูง หรือการผ่าตัดสมอง การรักษามีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง และเป็นโรคที่ต้องการการฟื้นฟูสภาพร่างกาย รวมทั้งการมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัวและการมีส่วนร่วมของชุมชน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้พัฒนาระบบบริการโรคหลอดเลือดสมองมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 และในปัจจุบันทุกภาคส่วนในระบบสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสิทธิการรักษาพยาบาล ในส่วนแรกของรายงานการวิจัยฉบับนี้ มุ่งเน้นศึกษาความแตกต่างระหว่างสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของบริการโรคหลอดเลือดสมองและผลลัพธ์ โดยอาศัยข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนและติดตามผู้ป่วยด้วยการสัมภาษณ์ จำนวน 1,079 คน ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างของบริการและผลลัพธ์ที่สำคัญระหว่างสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล (ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) vs สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (CS)) ในช่วงได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และ 6 เดือนหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลที่ติดตาม ได้รับยา rtPA ร้อยละ 7 แต่การได้รับการเยี่ยมบ้านในภาพรวมยังมีสัดส่วนต่ำ การเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่มีสถานะสุขภาพแย่จะได้รับการเยี่ยมบ้านในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ป่วยที่มีสถานะสุขภาพดี ผู้ป่วย UC สามารถเข้าถึงบริการรถฉุกเฉิน 1669 ร้อยละ 44 ประเด็นที่แตกต่างกันระหว่างสิทธิการรักษาพยาบาล ได้แก่ ผู้ป่วย UC มาถึงโรงพยาบาลภายใน 210 นาที ร้อยละ 37 ซึ่งน้อยกว่าผู้ป่วย CS ร้อยละ 48 การมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง อาการเตือนและการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการ ยังมีสัดส่วนต่ำมากในผู้ป่วย UC ร้อยละ 18 ในขณะที่ผู้ป่วย CS เท่ากับร้อยละ 52 นอกจากนี้พบว่าผู้ที่มีความรู้ถูกต้องมีโอกาสมากกว่า 40% ที่จะมาถึงโรงพยาบาลภายใน 210 นาที เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีความรู้ไม่ถูกต้อง สำหรับการเปรียบเทียบอัตราตายด้วย Cox proportional hazard regression ควบคุมปัจจัยด้านสังคม เศรษฐานะ สถานะสุขภาพก่อนเข้าโรงพยาบาล อาการแรกรับความรุนแรงของโรค ไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยสิทธิ UC และ CS รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของปัจจัยด้านเศรษฐานะเมื่อประเมินจากดัชนีทรัพย์สินครัวเรือน ในส่วนที่สองวิเคราะห์ฐานข้อมูลผู้ป่วยในของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2550-2555 เพื่อศึกษาแนวโน้มอัตราตายภายใน 30 วัน และอัตราการรอดชีพเวลาต่างๆ ซึ่งพบว่า โรคหลอดเลือดสมองตีบมีแนวโน้มภาพรวมของประเทศที่ดีขึ้นเรื่อยๆ สำหรับโรคหลอดเลือดสมองแตกยังดีขึ้นเพียงเล็กน้อย อัตราตายใน 30 วันของโรคหลอดเลือดสมองตีบ ปี 2555 เท่ากับ 8.2% และ 14.8% ในอายุ 15-64 และ 65+ ปี และลดลงทั้ง 13 เขตสุขภาพ อัตราตายใน 30 วันของโรคหลอดเลือดสมองแตก ปี 2555 เท่ากับ 38% และ 49% ตามลำดับ แต่มีบางเขตสุขภาพไม่ลดลงอัตราการรอดชีพ มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชัดเจนในโรคหลอดเลือดสมองตีบกลุ่มผู้ใหญ่อายุต่ำกว่า 15-64 ปี การพัฒนาระบบบริการโรคหลอดเลือดสมอง ของ สปสช. สามารถเป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนาระบบบริการอื่นๆ และต้องขยายผล บำรุงรักษาระบบระบบบริการโรคหลอดเลือดสมองที่ดีไว้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาพัฒนาในประเด็นต่อไปนี้ - จัดทำสื่อสำหรับการสร้างความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ที่เหมาะสมกับระดับการศึกษา ความเป็นอยู่ถิ่นที่อยู่อาศัย - ทบทวนระยะเวลานอนพักรักษาในโรงพยาบาล หรือวิธีการดูแลผู้ป่วย และหาทางแก้ไข เพื่อลดอัตราตายภายใน 30 วัน ทั้งนี้ควรพิจารณาการควบคุมความดันโลหิตสูงในช่วงแรก - ทบทวนกลไกที่ส่งเสริมระบบการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินความต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา เพื่อเพิ่มผลลัพธ์ทางสถานะสุขภาพให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้ - โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่พบบ่อย มี policy intervention ระดับชาติหลายอย่าง ดังนั้น ต้องมีการประเมินตัวชี้วัด อัตราตายใน 30 วัน และอัตราการรอดชีพ ในทุกสิทธิการรักษาพยาบาล ต้องทำให้ฐานข้อมูลผู้ป่วยใน CS และระบบประกันสังคม เชื่อมกับข้อมูลการเสียชีวิตในฐานทะเบียนราษฎร์ได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทยth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหลอดเลือดสมองth_TH
dc.subjectสวัสดิการในโรงพยาบาลth_TH
dc.subjecthealth insuranceen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการศึกษาความแตกต่างระหว่างสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของบริการโรคหลอดเลือดสมองและผลลัพธ์ : การศึกษาเชิงปริมาณth_TH
dc.title.alternativeDifferences in stroke care and outcomes across health insurance schemes : a quantitative analysisen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWG300 จ678ก 2557
dc.identifier.contactnoT56-04en_US
dc.subject.keywordสวัสดิการรักษาพยาบาลth_TH
.custom.citationจุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, Chulaporn Limwattananon, สมศักดิ์ เทียมเก่า, Somsak Tiamkoa, สุรัชดา ชนโสภณ, Suratchada Chonsophon, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, Onanong Waleekhachonloet, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช and Thananan Rattanachotpanit. "การศึกษาความแตกต่างระหว่างสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของบริการโรคหลอดเลือดสมองและผลลัพธ์ : การศึกษาเชิงปริมาณ." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4062">http://hdl.handle.net/11228/4062</a>.
.custom.total_download374
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2136.pdf
ขนาด: 931.3Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย