Melatonin aging/age-related neurodegeneration
dc.contributor.author | ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Piyarat Govitrapong | en_US |
dc.date.accessioned | 2014-07-21T09:37:58Z | |
dc.date.available | 2014-07-21T09:37:58Z | |
dc.date.issued | 2557-07-21 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4077 | |
dc.description.abstract | ปัจจุบันทั่วโลกมีจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยก็เช่นกันปี 2012 มีประชากรสูงอายุ 11% , ปี 2050 เพิ่มเป็น 30% การที่มนุษย์มีอายุยืนยาวมากขึ้นนั้นอาจเป็นการบ่งชี้ ถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์ แต่สิ่งที่ตามมาด้วยคือสภาวะเสื่อมของเซลล์ประสาท และการเสื่อมของสมอง ทำ ให้เกิดความเสื่อมทางด้านสติปัญญา ความจำ ความเครียดและการมีเหตุผล ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคที่พบใน ผู้สูงอายุ เป็นเวลานานนับศตวรรณที่มนุษย์ได้พยายามที่จะทำให้ตัวเองฉลาดขึ้นหรือยาทำให้สมองดี แต่ก็ไม่ ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนที่จะได้ตัวยา จำเป็นที่จะต้องทราบเข้าใจกลไกที่เกิดชราภาพ สมองเสื่อม เกิดขึ้นได้อย่างไร ความชราภาพเกิดจากพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด และความชราภาพเกิดจากความไม่สมดุลย์ หรือความล้มเหลวจากการปรับตัว พันธุกรรมเช่นยีนเกี่ยวกับความยั่งยืน ยีนควบคุมนาฬิกาชีวภาพ ระบบ ภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ส่วนความไม่สมดุลย์ เช่น การเกิดอนุมูลอิสระไมโทคอนเดรีย การทำลายดีเอ็นเอ การเกิด โปรตีน-เปปไทด์ที่ผิดปกติ การปรับการสร้างพลังของเซลล์ และเซลล์ประสาทผิดปกติ การรักษาความสมดุลย์ ของอินซูลินผิดปกติ ตลอดจนความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ประสาท เมลา โทนินเป็นสารที่ได้รับความสนใจมาก เนื่องจากสารนี้ออกฤทธิ์ในการทำลายอนุมูลอิสระได้ดีมาก มีงานวิจัยศึกษา ค้นคว้ามาก เมลาโทนินเป็นสารที่สร้างโดยต่อมไพเนียล ซึ่งอยู่ใจกลางภายในสมอง ต่อมไพเนียลจะสร้างเมลา โทนินมากตอนกลางคืน และสร้างมากในวัยเด็ก และน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ช่วงวัยชราจะมีเมลาโทนินน้อยมาก ซึ่งตรงกับช่วงที่เกิดความเสื่อมของร่างกายส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองเสื่อม เมลาโทนินมีบทบาทสำคัญ ในการกำจัดอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของการชราภาพและสมองเสื่อม เมลาโทนินสามารถยับยั้งการตาย ของเซลล์ประสาทโดปามีน ยับยั้งการสร้างโปรตีนที่ผิดปกติได้เช่น -synuclein ซึ่งเป็นโปรตีนเกิดขึ้นในสมอง เสื่อมพาร์กินสัน เมลาโทนินสามารถยับยั้งการเกิด neuroinflammation ทำให้นำไปสู่การศึกษาในกรณีของ โรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้เมลาโทนินยังสามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนและการเจริญเติบโตของเซลล์ต้นกำเนิด ระบบประสาท (neural stem cell) ในบริเวณ hippocampus ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นแนวทางด้านการแพทย์ในการรักษาโรคต่างๆ และภาวะเสื่อมทางสมองต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | en | th_TH |
dc.publisher | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Melatonin | en_US |
dc.subject | ความเครียด | th_TH |
dc.subject | ประสาทวิทยา | th_TH |
dc.subject | สมองเสื่อม | th_TH |
dc.title | Melatonin aging/age-related neurodegeneration | en_US |
dc.title.alternative | Melatonin: anti-oxidant reducing oxidative stresses, neuronal degeneration and death, implication in Parkinson’s disease, neurotoxicity of amphetamine and antiaging | en_US |
dc.title.alternative | Basic and applied research on Brain-Mind-Behaviour in Thailand | en_US |
dc.type | Presentation | th_TH |
dc.description.publication | เอกสารนำเสนอประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยเกี่ยวกับสมอง จิตใจ และพฤติกรรม” (Development of Research Strategies for Brain Mind and Behaviour) จัดโดย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) วันที่ 21 – 23 กรกฎาคม 2557 ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ (Jupiter) ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ | th_TH |
.custom.citation | ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ and Piyarat Govitrapong. "Melatonin aging/age-related neurodegeneration." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4077">http://hdl.handle.net/11228/4077</a>. | |
.custom.total_download | 1413 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 15 | |
.custom.downloaded_this_year | 153 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 40 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Presentations [882]
เอกสารนำเสนอประกอบการประชุม