Long-term care of elderly with dementia and Alzheimer’s disease in Thailand
dc.contributor.author | สิรินทร ฉันศิริกาญจน | th_TH |
dc.contributor.author | Sirintorn Chansirikarnjana | en_US |
dc.date.accessioned | 2014-07-23T09:14:51Z | |
dc.date.available | 2014-07-23T09:14:51Z | |
dc.date.issued | 2557-07-22 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4096 | |
dc.description.abstract | สมองเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยมากขึ้นในผู้สูงอายุ และจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับ สังคมไทยต่อไปในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะเมื่อทั้งจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุในประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในขณะที่ครอบครัวเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว รวมทั้งเมื่อคู่สมรสมีลูกน้อยลง ทั้งหญิงและชายสมัครใจที่จะอยู่เป็นโสดมากขึ้น สมองเสื่อมเป็นความเปลี่ยนแปลงของความสามารถสมองที่เลวลงเป็นผลให้ผู้ป่วยไม่ สามารถใช้ชีวิตอยู่คนเดียวอย่างปลอดภัยอีกต่อไป การที่สมองเปลี่ยนแปลงไปในทางเลงลงนี้เกิด จากสาเหตุหลายอย่าง ทั้งจากความผิดปกติของสมองโดยตรง เช่น โรคอัลไซเมอร์ หรือเป็นจาก โรคทางกายอื่น ๆ ซึ่งมีผลทำให้ความสามารถของสมองเปลี่ยนแปลงไป เช่น สมองเสื่อมจาก ปัญหาหลอดเลือดสมอง ฯลฯ ผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีอาการ อาการแสดง ในช่วงต้นแตกต่างกันบ้าง แต่เมื่อโรครุนแรงขี้น ผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงคล้าย ๆ กัน ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลทั้ง เรื่องกิจวัตรประจำวัน การสุขภาพทั่วไป ความปลอดภัยทั้งสำหรับตัวเองและผู้ที่อยู่รอบ ๆ ผู้ป่วย ซึ่งอาจจะต้องได้รับการดูแลตั้งแต่ฎช่วงระยะกลางของโรคไปจนถึงระยะท้าย ซึ่งเป็นเวลาโดยเฉลี่ย ประมาณ 10 ปี ปัญหาหลักของการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในปัจจุบันซึ่งเป็นการดูแลโดยผู้ป่วยอยู่ในบ้าน และมีผู้ดูแลอยู่ด้วยกัน ผู้ดูแลอาจเป็นคนในครอบครัว หรือ เป็นผู้ดูแลที่ได้รับการจ้างวานมาเพื่อ การดูแลโดยเฉพาะ คือ ครอบครัวไม่ทราบว่าอาการที่ผู้ป่วยแสดงออกนั้นเป็นเพราะมีพยาธิ สภาพในสมอง กลับไปโทษว่าเป็นเพราะความชรา ความไม่รู้จัก ไม่เข้าใจในลักษณะของโรค นำไปสู่ปัญหาระหว่างผู้ป่วยและครอบครัวเสมอ ซึ่งการขัดแย้งเหล่านั้นมักจะมีผลทำให้อาการ ของผู้ป่วยเลวลงไปอีก ในกรณีที่ครอบครัวไม่สามารถดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้ต่อไป จึงมักต้องพึ่ง สถานดูแล ซึ่งในขณะนี้ มีสถานสงเคราะห็ผู้สูงอายุหญิงเพียงแห่งเดียวที่ได้ถูกออกแบบแอย่าง เฉพาะเจาะจงสำหรับการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ยังไม่มีสถานดูแลระยะยาวอื่น ๆ (ทั้งภาครัฐ หรือเอกชน) ในประเทศไทยที่กำหนดแน่ชัดว่าเป็นสถานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่า ควรเน้นการ ดูแลให้ผู้ป่วยอยู่ในครอบครัวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกฝ่าย โดยมีหลักที่จะให้ผู้ป่วยสามารถใช้ ศักยภาพของตนได้อย่างเต็มความสามารถ จนกว่าจะทำไม่ได้ หลักการในการจัดการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ได้แก่ - ชะลอความเสื่อม ให้สามารถ”รู้เรื่อง” อยู่ได้นานที่สุด ซึ่งต้องดูแลทั้งเรื่องอาหาร การออก กำลังกาย กิจกรรมประจำวันเพื่อการกระตุ้น และฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง - การดูแลเรื่องความปลอดภัยทั้งในสถานที่อยู่ และ ป้องกันการที่ผู้ป่วยอาจหายออกไปจาก บ้าน - จัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้ป่วย (รวมทั้ง คน หรือเจ้าหน้าที่ด้วย) - การให้ความรู้ ความเข้าใจกับผู้ดูแล ทั้งกลุ่มที่เป็นญาติและครอบครัวของผู้ป่วย และ ผู้ดูแลอาชีพ เพื่อให้สามารถรับมือกับผู้ป่วยกับอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยในแตะละระยะ ของโรคอย่างเหมาะสม การดูแลระยะยาวนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับโรคหรือความเจ็บป่วยที่ไม่อาจรักษาให้หายขาด และร่างกายไม่กลับสู่สภาพเดิม ในผู้ป่วยสมองเสื่อมนั้นการให้ความช่วยเหลือดูแลจะยาก และ ซับซ้อนกว่าการเลี้ยงดูเด็กที่มีปัญหาทางกายหรือมีความพิการทางสมอง หรือการดูแลผู้ป่วยที่มี ความบกพร่องทางสภาพร่างกายอื่น ๆ เช่น อัมพาต เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะต้นของโรคที่ ญาติยังคิดว่าผู้ป่วยเป็น”คนแก”มักเป็นเพราะผู้ป่วยยังทำกิจกรรมต่าง ๆ พอได้ แต่ไม่เหมือนเดิม สภาพร่างกายก็ดูว่าไม่เปลี่ยนไปจากเดิมนัก และครอบครัวมักจะปลอบใจตนเองว่าเพราะเขาแก่ จึงเปลี่ยนไปบ้าง กว่าจะทราบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นจากโรค อาการของผู้ป่วยก็มักจะเป็นไปมากแล้ว สิ่งที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งสำหรับการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมคือ ครอบครัวมักรู้สึกอับอาย ที่มีญาติผู้ใหญ่ในบ้านมีอาการผิดปกติขนาดนี้ จึงมักปกปิด แอบซ่อนเอาไว้ การให้ความรู้เกี่ยวกับ เรื่องสมองเสื่อมสู่ชุมชนให้เกิดความตระหนักและรู้จักโรคจะช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลเร็วขึ้น และสังคมโดยรอบเป็นหูเป็นตา ช่วยเหลือผู้ป่วยโดยไม่ทิ้งให้เป็นภาระของครอบครัวแต่ฝ่ายเดียว จะช่วยเรื่องการพลัดหายออกไปจากที่อยู่ได้อย่างดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยจะสามารถพัฒนาจิต สาธารณะของคนในชาติและเครือข่ายความช่วยเหลืออื่น ๆ อย่างเป็นระบบต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | สมองเสื่อม | th_TH |
dc.subject | อัลไซเมอร์ | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | elderly | en_US |
dc.title | Long-term care of elderly with dementia and Alzheimer’s disease in Thailand | en_US |
dc.type | Presentation | en_US |
dc.description.publication | เอกสารนำเสนอประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยเกี่ยวกับสมอง จิตใจ และพฤติกรรม” (Development of Research Strategies for Brain Mind and Behaviour) จัดโดย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) วันที่ 21 – 23 กรกฎาคม 2557 ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ (Jupiter) ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ | th_TH |
dc.subject.keyword | Alzheimer's Disease | en_US |
.custom.citation | สิรินทร ฉันศิริกาญจน and Sirintorn Chansirikarnjana. "Long-term care of elderly with dementia and Alzheimer’s disease in Thailand." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4096">http://hdl.handle.net/11228/4096</a>. | |
.custom.total_download | 1669 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 4 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 57 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Presentations [882]
เอกสารนำเสนอประกอบการประชุม