แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินการกระจายแนวคิดและบรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

dc.contributor.authorสมหญิง พุ่มทองth_TH
dc.contributor.authorSomying Pumtongen_US
dc.contributor.authorพัชรี ดวงจันทร์th_TH
dc.contributor.authorPatcharee Duangchanen_US
dc.contributor.authorกัญญดา อนุวงศ์th_TH
dc.contributor.authorKunyada Anuwongen_US
dc.date.accessioned2014-09-30T08:47:21Z
dc.date.available2014-09-30T08:47:21Z
dc.date.issued2556-03
dc.identifier.otherhs2132
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4205
dc.description.abstractนับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (ASU) เมื่อปี 2550 เป็นต้นมา ASU ยังคงมีการดำเนินอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีสถานพยาบาลที่ดำเนินโครงการนี้เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่สำคัญทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผลการประเมินโครงการในระยะต่างๆ ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงการยอมรับแนวคิด ASU ของผู้สั่งใช้ยา ผู้บริหารระดับนโยบายและนักวิชาการ จึงทำให้เกิดการสนับสนุนและผลักดันการดำเนินโครงการ ASU ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของบุคลากรการแพทย์ไปในทางที่ดีขึ้น การนำแนวคิด ASU สู่ความยั่งยืนในประเทศไทยกำลังดำเนินการผ่าน 3 ยุทธศาสตร์ คือ การเชื่อมต่อแนวคิด ASU เข้ากับนโยบายระดับประเทศ การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย และการสร้างบรรทัดฐานเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ประเมินการกระจายแนวคิดและบรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืนของโครงการ ASU ในส่วนของการกระจายแนวคิดและบรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลนั้น ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 348 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 276 คน ในกลุ่มทดลองมีการจัดโครงการรณรงค์แนวคิด ASU โดยทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ (Change agent) ผลการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีบรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้นจากก่อนการรณรงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า บรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลภายหลังการรณรงค์ไม่แตกต่างกัน แสดงว่า การรณรงค์แนวคิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลด้วยวิธีนี้ยังไม่ได้ผลในการสร้างบรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล แต่บรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นภายหลังการรณรงค์ ในขณะทื่ พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลภายหลังการรณรงค์เพิ่มขึ้นจากก่อนการรณรงค์และแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า การรณรงค์แนวคิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดย change agent มีประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของกลุ่มทดลอง นอกจากนี้ พบว่า บรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลทั้งก่อนและหลังการรณรงค์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วย การศึกษาความยั่งยืนของโครงการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ASU จำนวน 39 ท่าน จาก 30 โครงการ (18 จังหวัด) ผู้ให้ข้อมูลมีความหลากหลายทั้งในด้านวิชาชีพ ตำแหน่งงาน หน่วยงาน/จังหวัดที่อาศัยอยู่ และระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ พบว่า การที่ ASU กลายเป็นเกณฑ์คุณภาพระบบยาเพื่อใช้สำหรับพิจารณาการจ่ายค่าตอบแทน (P4P) แก่โรงพยาบาลในสังกัดของรัฐ ตั้งแต่ปี 2553 โดย สปสช. เป็นปัจจัยหรือแรงกระตุ้นที่สำคัญที่สุดที่ทำให้โรงพยาบาลต้องบรรจุโครงการนี้ไว้ในนโยบายของโรงพยาบาล แต่ความจริงจังในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แนวคิด ASU ของโรงพยาบาลมีความแตกต่างกัน ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหาร (ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ/นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) การกำหนดให้ ASU เป็นตัวชี้วัดในระดับอำเภอและจังหวัด ศักยภาพของบุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการ โดยเฉพาะผู้ประสานงานหรือแกนนำความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันของทีมวิชาชีพ ความช่วยเหลือ ความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคีที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชน ทั้งส่วนภูมิภาค (สสอ. สสจ. และโรงพยาบาลแม่ข่าย) ส่วนกลาง (สปสช. อย.) รวมถึง ระดับท้องถิ่น (อบต.) และการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรท้องถิ่น อุปสรรคสำคัญ ที่พบจากการดำเนินโครงการ ASU คือ ความไม่ร่วมมือในการปฏิบัติของผู้สั่งใช้ยาการโยกย้าย หมุนเวียนของผู้สั่งใช้ยา (โดยเฉพาะแพทย์ใช้ทุน) และ ผู้ประสานงานหลักของโครงการ ภาระงานของบุคลากรที่เพิ่มมากขึ้น การประเมินผลโครงการ และการขาดงบประมาณ มีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและดำเนินโครงการ ASU ให้ยั่งยืน ที่ได้จากการสัมภาษณ์ สรุปได้ดังนี้ การเพิ่มศักยภาพบุคลากรการแพทย์ การจัดทำหลักฐานทางวิชาการ (local evidence) เพื่อใช้สนับสนุนข้อมูลการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในประเทศไทย การสร้างเครือข่าย ASU อย่างเป็นรูปธรรม การสื่อสารกับประชาชนเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยา การนำเสนอผลของโครงการและส่งข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลth_TH
dc.subjectยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินการกระจายแนวคิดและบรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลth_TH
dc.title.alternativeEvaluation of diffusion of concept and social norm about Antibiotics Smart Useen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoQV55 ส255ก 2556
dc.identifier.contactno54-058en_US
.custom.citationสมหญิง พุ่มทอง, Somying Pumtong, พัชรี ดวงจันทร์, Patcharee Duangchan, กัญญดา อนุวงศ์ and Kunyada Anuwong. "การประเมินการกระจายแนวคิดและบรรทัดฐานของสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4205">http://hdl.handle.net/11228/4205</a>.
.custom.total_download453
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2132.pdf
ขนาด: 855.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย