dc.contributor.author | โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Komatra Chuengsatiansup | th_TH |
dc.contributor.author | ปารณัฐ สุขสุทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Paranat Suksut | th_TH |
dc.contributor.author | ยงศักดิ์ ตันติปิฎก | th_TH |
dc.contributor.author | Yongsak Thantiphidok | th_TH |
dc.contributor.author | มณฑาวดี ครุธมีชัย | th_TH |
dc.contributor.author | กุลพล คุปรัตน์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2014-10-14T07:30:19Z | |
dc.date.available | 2014-10-14T07:30:19Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.other | hs2143 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4212 | |
dc.description.abstract | การประเมินนี้ประกอบด้วยวิธีการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิง
นโยบายด้านการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์
ทางเลือก ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพที่มีความสอดคล้องและ
สมดุล ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงปริมาณเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบ Systematic random sampling ได้กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสำรวจ 970 ตัวอย่าง จากพื้นที่ดำเนินงานใน 46 จังหวัด ดำเนินการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลสำคัญ 20 คน สนทนากลุ่ม 4 กลุ่ม กำหนดขอบเขตการศึกษา โดยมุ่งศึกษาผ่านนโยบายของการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพนานาชาติ และด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร การแพทย์แผนไทย การนวดไทยสู่อาเซียนและตลาดโลก ทำการศึกษาวิเคราะห์ผ่านกระบวนการนโยบายของหน่วยงานส่วนกลาง การรับรู้และการนำนโยบายไปปฏิบัติของพื้นที่ (Implemented program components) มีข้อจำกัดการศึกษาด้านการเข้าถึงแหล่งข้อมูลจากหน่วยงานอื่น และกิจกรรมในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้นโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับต่ำมาก โดยที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีทัศนคติและความคิดเห็นเชิงบวกต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มองเห็นเป็นโอกาสการพัฒนาคุณภาพการบริการการนวดไทย และแพทย์แผนไทย และมีความเห็นว่าประเทศไทยยังขาดความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางด้านยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากกระบวนการนโยบายที่ยังไม่ชัดเจนของรัฐบาล ส่วนผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า
1) ส่วนกลางมีนโยบายและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้การแพทย์แผนไทยเป็นการแพทย์ทาง
หลักของชาติ ควบคู่ไปกับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์อาเซียน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นศูนย์กลางบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ด้านการพัฒนา Champion Products เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ ด้านการพัฒนาการเป็นศูนย์กลาง Wellness และด้านการเป็นศูนย์กลางความรู้และวิชาการการแพทย์ดั้งเดิม จึงเป็นภาระงานหลายด้านและต้องการการจัดลำดับความสำคัญในการบรรลุผลลัพธ์อย่างมาก 2) ส่วนภูมิภาคมีการดำเนินงาน 2 ลักษณะ คือ 1) ตามความสนใจและความพร้อม 2) ทำตามนโยบาย บางพื้นที่มีการทำงานพัฒนาด้วยความสนใจ จนสามารถสร้างต้นทุนทางสังคมและค้นพบศักยภาพที่แตกต่างกัน มีบางแห่งที่มีแผนงาน/โครงการในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับทิศทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งตัวอย่างการศึกษานี้ ได้แก่ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว เป็นต้น ส่วนพื้นที่ดำเนินงานตามนโยบายจะขาดทิศทางที่ชัดเจนในการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่เอง 3) บุคลากรสาธารณสุขมีทัศนคติและความคิดเห็นต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในเชิงบวกมองเป็นโอกาสในการพัฒนาและจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยเฉพาะเห็นด้วยกับศักยภาพการนวดไทยในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยจะได้รับการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพการบริการจากการพัฒนาคุณภาพและจำนวนของแพทย์แผนไทยให้มากขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของผู้ให้บริการนวดไทย ให้มีมาตรฐานจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นโอกาสการเปิดกว้างทางการตลาด 4) บุคลากรสุขภาพเห็นในระดับปานกลางถึงน้อย ด้วยว่าประเทศไทยมีความพร้อมในด้านการเป็นศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร เนื่องจากยังขาดการสนับสนุนส่งเสริมและบริหารจัดการให้เกิดการดำเนินงานอย่างจริงจังจนบรรลุผลลัพธ์ ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหารก็มีผลต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การแพทย์แผนไทย | th_TH |
dc.subject | การแพทย์พื้นบ้าน | th_TH |
dc.subject | การแพทย์ทางเลือก | th_TH |
dc.subject | ประชาคมอาเซียน | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | นโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | WB50 ก941น 2557 | |
dc.identifier.contactno | 57-015 | en_US |
.custom.citation | โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, Komatra Chuengsatiansup, ปารณัฐ สุขสุทธิ์, Paranat Suksut, ยงศักดิ์ ตันติปิฎก, Yongsak Thantiphidok, มณฑาวดี ครุธมีชัย and กุลพล คุปรัตน์. "นโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4212">http://hdl.handle.net/11228/4212</a>. | |
.custom.total_download | 947 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 22 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |