• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

นโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์; Komatra Chuengsatiansup; ปารณัฐ สุขสุทธิ์; Paranat Suksut; ยงศักดิ์ ตันติปิฎก; Yongsak Thantiphidok; มณฑาวดี ครุธมีชัย; กุลพล คุปรัตน์;
วันที่: 2557
บทคัดย่อ
การประเมินนี้ประกอบด้วยวิธีการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิง นโยบายด้านการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ ทางเลือก ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพที่มีความสอดคล้องและ สมดุล ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงปริมาณเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบ Systematic random sampling ได้กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสำรวจ 970 ตัวอย่าง จากพื้นที่ดำเนินงานใน 46 จังหวัด ดำเนินการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลสำคัญ 20 คน สนทนากลุ่ม 4 กลุ่ม กำหนดขอบเขตการศึกษา โดยมุ่งศึกษาผ่านนโยบายของการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพนานาชาติ และด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร การแพทย์แผนไทย การนวดไทยสู่อาเซียนและตลาดโลก ทำการศึกษาวิเคราะห์ผ่านกระบวนการนโยบายของหน่วยงานส่วนกลาง การรับรู้และการนำนโยบายไปปฏิบัติของพื้นที่ (Implemented program components) มีข้อจำกัดการศึกษาด้านการเข้าถึงแหล่งข้อมูลจากหน่วยงานอื่น และกิจกรรมในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้นโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับต่ำมาก โดยที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีทัศนคติและความคิดเห็นเชิงบวกต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มองเห็นเป็นโอกาสการพัฒนาคุณภาพการบริการการนวดไทย และแพทย์แผนไทย และมีความเห็นว่าประเทศไทยยังขาดความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางด้านยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากกระบวนการนโยบายที่ยังไม่ชัดเจนของรัฐบาล ส่วนผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ส่วนกลางมีนโยบายและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้การแพทย์แผนไทยเป็นการแพทย์ทาง หลักของชาติ ควบคู่ไปกับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์อาเซียน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นศูนย์กลางบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ด้านการพัฒนา Champion Products เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ ด้านการพัฒนาการเป็นศูนย์กลาง Wellness และด้านการเป็นศูนย์กลางความรู้และวิชาการการแพทย์ดั้งเดิม จึงเป็นภาระงานหลายด้านและต้องการการจัดลำดับความสำคัญในการบรรลุผลลัพธ์อย่างมาก 2) ส่วนภูมิภาคมีการดำเนินงาน 2 ลักษณะ คือ 1) ตามความสนใจและความพร้อม 2) ทำตามนโยบาย บางพื้นที่มีการทำงานพัฒนาด้วยความสนใจ จนสามารถสร้างต้นทุนทางสังคมและค้นพบศักยภาพที่แตกต่างกัน มีบางแห่งที่มีแผนงาน/โครงการในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับทิศทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งตัวอย่างการศึกษานี้ ได้แก่ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว เป็นต้น ส่วนพื้นที่ดำเนินงานตามนโยบายจะขาดทิศทางที่ชัดเจนในการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่เอง 3) บุคลากรสาธารณสุขมีทัศนคติและความคิดเห็นต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในเชิงบวกมองเป็นโอกาสในการพัฒนาและจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยเฉพาะเห็นด้วยกับศักยภาพการนวดไทยในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยจะได้รับการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพการบริการจากการพัฒนาคุณภาพและจำนวนของแพทย์แผนไทยให้มากขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของผู้ให้บริการนวดไทย ให้มีมาตรฐานจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นโอกาสการเปิดกว้างทางการตลาด 4) บุคลากรสุขภาพเห็นในระดับปานกลางถึงน้อย ด้วยว่าประเทศไทยมีความพร้อมในด้านการเป็นศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร เนื่องจากยังขาดการสนับสนุนส่งเสริมและบริหารจัดการให้เกิดการดำเนินงานอย่างจริงจังจนบรรลุผลลัพธ์ ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหารก็มีผลต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติด้วย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2143.pdf
ขนาด: 4.813Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 12
ปีพุทธศักราชนี้: 9
รวมทั้งหมด: 956
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV