Show simple item record

Prevention of Multidrug Resistant Organism Infections in Intensive Care Units

dc.contributor.authorอะเคื้อ อุณหเลขกะth_TH
dc.contributor.authorสุชาดา เหลืองอาภาพงศ์th_TH
dc.contributor.authorจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อth_TH
dc.date.accessioned2015-05-20T04:44:58Z
dc.date.available2015-05-20T04:44:58Z
dc.date.issued2557-12
dc.identifier.otherhs2153
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4265
dc.description.abstractโครงการวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการติดเชื้อดื้อยาที่เหมาะสมที่หออภิบาลผู้ป่วยของโรงพยาบาลระดับทุติภูมิและตติยภูมิสามารถนำไปปฏิบัติได้ รวมทั้งเพื่อเพิ่มพูนความรู้และส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องของบุคลากรหออภิบาลผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์เข้าสู่ร่างกาย เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหออภิบาลผู้ป่วยของโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้การติดเชื้อในหออภิบาลผู้ป่วยลดลง ผู้ป่วยปลอดภัยจากการติดเชื้อ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาและระยะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาล รวมทั้งการเสียชีวิตจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล การดำเนินงานโครงการนำแนวคิดการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือ (collaborative quality improvement) ของ Institute for Healthcare Improvement (IHI) ประเทศสหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้ มีโรงพยาบาลสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 50 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการประกอบด้วย การจัดทำ “ร่าง”แนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา การป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ การป้องกันการติดเชื้อที่กระแสโลหิตจากการใส่สายสวนหลอดเลือด การป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 2 ครั้ง เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรหออภิบาลผู้ป่วยเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือและการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาและการป้องกันการติดเชื้อจากการสอดใส่อุปกรณ์การแพทย์และการทำความสะอาดมือ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและแนวโน้มของการติดเชื้อดื้อยา รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วย บุคลากรและโรงพยาบาล การทบทวนแนวทางการเฝ้าระวัง การใช้ประโยชน์จากข้อมูลการเฝ้าระวัง เกณฑ์การวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบบ่อยในหออภิบาลผู้ป่วย การประชุมระดมสมองของบุคลากรของโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อพิจารณาร่างแนวปฏิบัติ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมกันค้นหาวิธีการที่เหมาะสมที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการแก้ปัญหาการติดเชื้อในหออภิบาลผู้ป่วย โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการพัฒนาการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องโดยนำผลที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการไปใช้ ผู้วิจัยให้การสนับสนุนทางวิชาการ โรงพยาบาลนำเสนอผลการดำเนินงานในการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการเพื่อกระตุ้นให้โรงพยาบาลมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลการดำเนินงานโครงการจากข้อมูลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการ คือ แนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย ประกอบด้วย แนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล แนวปฏิบัติในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ แนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อที่กระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือด แนวปฏิบัติในการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลและแนวทางการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล ข้อมูลจากการเฝ้าระวังการติดเชื้อในหออภิบาลผู้ป่วย 79 แห่งของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการที่รายงานข้อมูลการติดเชื้อในหออภิบาลผู้ป่วยครบถ้วน จำนวน 40 โรงพยาบาล ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 พบการติดเชื้อในโรงพยาบาลสูงสุด คือ ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ อัตราการติดเชื้อในภาพรวมคิดเป็น 7.8 ครั้งต่อจำนวนวันที่ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ 1,000 วัน รองลงมาคือ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะพบอัตราการติดเชื้อ 4.6 ครั้งต่อจำนวนวันที่ผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ 1,000 วัน และการติดเชื้อที่กระแสโลหิตจากการใส่สายสวนหลอดเลือด อัตราการติดเชื้อคิดเป็น 2.5 ครั้งต่อจำนวนวันที่ผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด 1,000 วัน อัตราผู้ป่วยตายจากการติดเชื้อแต่ละตำแหน่งพบว่า อัตราผู้ป่วยที่เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและเกิดการติดเชื้อที่กระแสโลหิตจากการใส่สายสวนหลอดเลือดเสียชีวิตพบเท่ากันคือ ร้อยละ 36.4 อัตราผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 24 ค่าใช้จ่ายยาต้านจุลชีพที่ใช้ในการรักษาปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเงินรวม 30,734,713 บาท ค่าใช้จ่ายยาในการรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะและการติดเชื้อที่กระแสโลหิตจากการใส่สายสวนหลอดเลือด เป็นเงิน 8,317,268 และ 2,545,381 บาท ตามลำดับ การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วยจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การจัดทำแนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการติดเชื้อที่สำคัญในหออภิบาลผู้ป่วย มีส่วนช่วยให้บุคลากรของหออภิบาลผู้ป่วยได้รับความรู้ที่ถูกต้องทันสมัยและเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน แนวปฏิบัติทั้งหมดที่พัฒนาขึ้นจากโครงการนี้สามารถนำไปขยายผลเพื่อให้หออภิบาลผู้ป่วยของโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้ใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยและให้ความรู้แก่บุคลากรth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคth_TH
dc.subjectเชื้อดื้อยาth_TH
dc.subjectการติดเชื้อth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วยth_TH
dc.title.alternativePrevention of Multidrug Resistant Organism Infections in Intensive Care Unitsen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research and developmental project aimed to develop appropriate and practical evidence-based practice guidelines for prevention of multidrug resistant organisms (MDRO) transmission and infections for intensive care units (ICUs) of secondary and tertiary care hospitals, to increase knowledge and promote correct practices among ICU personnel in prevention of MDRO infections from invasive medical device procedures, to create collaborative network among ICU personnel of hospitals and to promote knowledge sharing to improve quality of patient care, leading to reducing hospital associated infections (HAIs) in ICUs, costs of treatment and length of hospital stay including HAI related death. This project applied collaborative quality improvement concept of the Institute for Healthcare Improvement (IHI), USA. Fifty hospitals participated in the project, including regional and general hospitals under Ministry of Public Health, hospitals under Ministry of Defence and a university hospital. The duration of the project was from November 2013 to November 2014. The project activities consisted of preparation of “draft” guidelines for prevention of MDRO infection, prevention of ventilator-associated pneumonia (VAP), prevention of catheter-related bloodstream infection (CRBSI), prevention of catheter-associated urinary tract infection (CAUTI), Two workshops were conducted for participating hospitals in order to educate ICU personel on collaborative quality improvement and practices in prevention of MDRO infections and HAI related to medical devices invasive procedures, and hand hygiene and providing information toward MDRO problems and trend, consequences of MDRO to patients, personnel and hospitals, reviewing HAI surveillance, advantages, utilization of surveillance information, and diagnosis criteria of frequent HAIs in ICUs. Brainstorming sessions for hospital personnel were conducted to determine the draft guidelines, exchange experiences and determine the appropriate and practical methods in solving HAIs in ICUs. Participating hospitals continuously improved their practices in prevention of HAIs using the outcomes of the project workshop. Researchers supported useful information. Hospital personnel presented their works in the project workshop in order to encourage hospitals to work continuously. The project intervention was assessed by using information from HAI surveillance. Outcomes of the project included guideline for prevention of MDRO infections in ICUs, including guideline for prevention of MDRO transmission, guideline for prevention of VAP, guideline for prevention of CAUTI, guideline for prevention of CRBSI, guideline for environmental control and guideline for diagnosis of HAIs. Information from HAI surveillance of 79 ICUs of 40 participating hospitals which regularly sent the information from September 2013 to September 2014 indicated the highest infection rate was from VAP (7.8 per 1,000 ventilator-days), followed by CAUTI 4.6 per 1,000 catheter-days and CRBSI 2.5 per 1,000 catheter-days. Case fatality rate from VAP and CRBSI were 36.4% and case fatality rate from CAUTI was 24%. Cost of antibiotic treatment for VAP , CAUTI and CRBSI were 30,734,713 Baht, 8,317,268 and 2,545,381 Baht, respectively. Prevention of MDRO infections in the ICUs need to be implemented continuously. Establishing evidence-based practice guidelines in prevention of important HAIs in ICUs can help improve up-to-date knowledge of ICU personnel and create more confident in practices among them. All guidelines developed from this project can be distributed to ICUs of other hospitals not participating in the project for patient care practices and educating their personnel.en_US
dc.identifier.callnoQV350 อ584ก 2557
dc.identifier.contactno57-036
.custom.citationอะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์ and จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. "การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4265">http://hdl.handle.net/11228/4265</a>.
.custom.total_download1131
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year42
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs2153.pdf
Size: 1.415Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record