dc.contributor.author | อำนาจ ธีบำรุง | th_TH |
dc.contributor.author | Amnat Theebumrung | en_US |
dc.contributor.author | สกุลรัตน์ ศิริกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Sakulrat Sirikul | en_US |
dc.contributor.author | ธีระ วรธนารัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Thira Woratanarat | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-29T08:50:52Z | |
dc.date.available | 2015-06-29T08:50:52Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.other | hs2157 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4269 | |
dc.description.abstract | จากสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุในสังคมไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความชุกของปัญหาการสูญเสียฟัน และเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ปัญหาทุพโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลของการใช้งานฟันเทียมต่อการเปลี่ยนแปลงดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่ฟันเทียม ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาแบบ Retrospective cohort โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลค่าดัชนีมวลกายย้อนหลังจากเวชระเบียนเป็นเวลา 6 เดือน ถึง 2 ปี ภายหลังจากการได้รับบริการใส่ฟันเทียม จำนวน 436 คน จาก 5 จังหวัด ของเขตบริการสุขภาพที่ 2 และใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยมีตัวแปรอิสระคือกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้งานฟันเทียม และกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้ใช้งานฟันเทียม ตัวแปรตามคือค่าผลต่างดัชนีมวลกาย มีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปร เพศ อายุ ระดับรายได้ และดัชนีมวลกายเริ่มต้น โดยให้เป็นตัวแปรที่ร่วมในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยการใช้งานฟันเทียมส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุภายหลังการได้รับบริการใส่ฟันเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) การศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ที่สำนักโภชนาการ กรมอนามัย และบุคลากรสาธารณสุขทุกวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จะต้องรับทราบและคำนึงถึง เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ คือมิติสุขภาพช่องปาก ซึ่งการศึกษานี้ค้นพบว่าการฟื้นฟูสภาวะช่องปากแก่ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันด้วยการใส่ฟันเทียม ส่งผลให้ดัชนีมวลกายผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภาวะดัชนีมวลกายเดิมในเกณฑ์ต่ำ เมื่อมีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปร เพศ อายุ ระดับรายได้ และดัชนีมวลกายเริ่มต้น ความชัดเจนในข้อค้นพบนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นเหตุผลหนึ่งที่สำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาโครงการฟันเทียมพระราชทานให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และดำรงอยู่ต่อไป เพราะไม่เพียงแค่เป็นการแก้ปัญหาการบดเคี้ยวและสร้างรอยยิ้มที่สวยงามเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม การเกิดโรคเรื้อรัง และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | ฟันปลอม | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการภายหลังการใส่ฟันเทียมในผู้สูงอายุ โครงการฟันเทียมพระราชทาน : กรณีศึกษาเขตเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 2 | th_TH |
dc.title.alternative | Nutritional Status Changes after Denture Treatment among Elderly in Royal Denture Bestowed Project : A Case Study of Second Health Services Region | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to examine changes in body mass index among elderly in royal denture bestowed project. The study design was a retrospective cohort study. Data collection was carried out in 436 subjects, from 6 months to 2 years after denture services. Multiple linear regression was used to analyses the relationship between denture use and body mass index adjusted for gender, age, income level and baseline body mass index.
The results showed that the denture use significantly increased body mass index of elderly in royal denture bestowed project (P < 0.05) | en_US |
dc.identifier.callno | WT104 อ686ก 2558 | |
dc.identifier.contactno | 57-070 | en_US |
dc.subject.keyword | ฟันเทียม | th_TH |
.custom.citation | อำนาจ ธีบำรุง, Amnat Theebumrung, สกุลรัตน์ ศิริกุล, Sakulrat Sirikul, ธีระ วรธนารัตน์ and Thira Woratanarat. "การเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการภายหลังการใส่ฟันเทียมในผู้สูงอายุ โครงการฟันเทียมพระราชทาน : กรณีศึกษาเขตเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 2." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4269">http://hdl.handle.net/11228/4269</a>. | |
.custom.total_download | 153 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 0 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |