dc.contributor.author | ปาริชาต สุวรรณผล | th_TH |
dc.contributor.author | Parichat Suwanpon | en_US |
dc.contributor.author | ดลฤดี ศรีศุภผล | th_TH |
dc.contributor.author | Donrudee Srisuphol | en_US |
dc.contributor.author | วรรณศิริ นิลเนตร | th_TH |
dc.contributor.author | Wansiri Nilnate | en_US |
dc.contributor.author | รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง | th_TH |
dc.contributor.author | Rapeesupa Wangcharoenrung | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-07-03T04:24:17Z | |
dc.date.available | 2015-07-03T04:24:17Z | |
dc.date.issued | 2558-02 | |
dc.identifier.other | hs2158 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4270 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาที่ผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจและสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ของคนพิการ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทราบถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเข้าไม่ถึงบริการ เพื่อสามารถพัฒนาระบบบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างได้แก่ คนพิการทางการเคลื่อนไหว 400 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง กันยายน พ.ศ.2556 อัตราการตอบแบบสอบถามคิดเป็นร้อยละ 97.25 ( 389 คน ) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t test F test การทดสอบไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์การได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่คนพิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างเข้าถึงบริการได้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่นๆ ตามชุดสิทธิประโยชน์ การให้ยา ผลิตภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และหัตถการพิเศษอื่นๆ เพื่อการบำบัด ฟื้นฟู และการแนะแนว การให้คำปรึกษา และการจัดบริการเป็นรายกรณี ส่วนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่คนพิการเข้าถึงบริการน้อยที่สุด คือ การประเมินและเตรียมความพร้อมก่อนการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพหรือการประกอบอาชีพ, การฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะแก่คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการและผู้ช่วยคนพิการ และ การพัฒนาทักษะทางสังคม สังคมสงเคราะห์ และสังคมบำบัด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ สิทธิการรักษา ลักษณะความพิการ ระยะเวลาที่พิการ การเดินทางเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่สาธารณะ โดยที่ตัวแปรชุดนี้ร่วมกัน สามารถทำนายโอกาสของการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ ได้ร้อยละ 14.5 | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | คนพิการกับการฟื้นฟู | th_TH |
dc.subject | คนพิการ | th_TH |
dc.subject | การฟื้นฟูสมรรถภาพ | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | บริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว. | th_TH |
dc.title.alternative | Factors Relating to Access of Medical Rehabilitation Services Amongst the People with Mobility Impairment | en_US |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The methodology of this research was a Mixed method ,combination of survey research and In-depth
interview. The Objective to study medical rehabilitation services situation , to study factors relating to access
of medical rehabilitation service amongst people with mobility impairment and to utilize information for
policy planning in the aspect of development of the service system. A sample of people with mobility
impairment were drawn using multi-stage sampling from 10 provinces in 4 regions of Thailand. The samples
used in the research were 400. The questionnaire was used to collect the data from June to September
2013.The response rate was 97.25%. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t –
test, F test, chi-square test, and Forward stepwise logistic regression analysis. The study results situation of 26
items of rehabilitation services, service sectors can provide only some items. The most accessibility of service
consist of evaluation, medication and advice & councelling. While the less accessibility consist of vocational
rehabilitation, skill & knowledge training for care giver and social skill training for people with mobility
impairment. Correlation factors according to rehabilitation accessibility consist of gender, medical right, type
of impairment, onset of disability, travelling to the health service and public facilities. These factors can be
used as a predictor of rehabilitation accessibility at 14.5 percentage. | en_US |
dc.identifier.callno | HV1568 ป553ป 2558 | |
dc.identifier.contactno | 57-081 | en_US |
.custom.citation | ปาริชาต สุวรรณผล, Parichat Suwanpon, ดลฤดี ศรีศุภผล, Donrudee Srisuphol, วรรณศิริ นิลเนตร, Wansiri Nilnate, รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง and Rapeesupa Wangcharoenrung. "ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว.." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4270">http://hdl.handle.net/11228/4270</a>. | |
.custom.total_download | 411 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 12 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |