Show simple item record

Situation analysis and study on the factors affecting the achievement of problem solving of maternal health care in the 3 southernmost provinces of Thailand

dc.contributor.authorศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุลth_TH
dc.contributor.authorSrivipa Leangpunsakulen_US
dc.date.accessioned2015-07-09T07:55:20Z
dc.date.available2015-07-09T07:55:20Z
dc.date.issued2558-05-29
dc.identifier.otherhs2161
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4273
dc.description.abstractสถานการณ์อนามัยแม่และเด็ก 3 จังหวัดชายแดนใต้เข้าขั้นวิกฤติ อัตรามารดาตายสูงกว่าเป้าหมายระดับประเทศประมาณ 3 เท่า และสูงกว่าเป้าหมาย MDGs Plus เกือบ 2 เท่าตัว ผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมายในเกือบทุกตัวชี้วัด สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ในบริบทของสูติศาสตร์สมัยใหม่ มีเพียงน้อยรายที่น่าจะเป็นเหตุสุดวิสัย หญิงตั้งครรภ์ยังคงฝากครรภ์กับผดุงครรภ์โบราณ ด้วยเพราะวิถีชีวิต ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานปฏิบัติตนของหญิงตั้งครรภ์ แต่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญว่าเป็นการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมสุขภาพ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าอนามัยแม่และเด็กทั้งระดับปัจเจก สังคม และระบบบริการสาธารณสุข ยังต้องใช้ความพยายามบริหารจัดการอย่างเข้มแข็งอีกหลายเท่าตัว ผลการศึกษามีข้อค้นพบสำคัญถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในงานอนามัยแม่และเด็ก 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ 1. กำลังคนผู้ปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็ก มีลักษณะ “คนไม่ทันเก่า ใหม่ก็มา” ด้วยเพราะเป็นงานที่ยาก ต้องใช้ทักษะ/ประสบการณ์ค่อนข้างสูงในการประเมินและจัดการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ประกอบกับเครื่องมือและตัวชี้วัดที่มีมาก บางตัวชี้วัดไม่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้ภาระงานมาก รวมถึงอัตรากำลังตามระบบยังไม่เอื้อ เมื่อมีเจ้าหน้าที่(น้องใหม่)มาปฏิบัติงานจะมีการโอนงานเพื่อตนจะได้ไปรับผิดชอบงานอื่น ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงานอนามัยแม่และเด็ก 2. ความเชื่อที่ยังคงมีอยู่และเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานปฏิบัติตนของหญิงตั้งครรภ์ คือ 1) ความเชื่อว่าหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานอาหารมาก รวมถึงไม่ควรรับประทานยาบำรุง 2) ความเชื่อที่จะคลอดกับหมอผู้หญิง รวมถึงวิถีชีวิต ศาสนาที่ให้คุณค่าสูงมากในเรื่องการให้กำเนิดบุตรและเชื่อว่าการตายเป็นเรื่องของธรรมชาติ แม้ในรายที่หญิงตั้งครรภ์มีโรคมีความเสี่ยงสูง ก็ยังต้องการมีลูกเพื่อสืบสกุล ตลอดจนทัศนคติที่คิดว่าการคุมกำเนิดนั้นผิดหลักการของศาสนาอิสลาม 3. โต๊ะบีแด(ผดบ.) ถือเป็นจุดแข็งของระบบอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ด้วยวิถีชีวิตและศรัทธาต่อโต๊ะบีแด เนื่องจากเป็นผู้อาวุโสที่มีความรู้ความชำนาญด้านการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีการผสมผสานกับหลักศาสนา อบอุ่นใจในน้ำคำ น้ำใจที่โต๊ะบีแดดูแลคนไข้ประดุจญาติมิตร และค่าใช้จ่ายถูก ในขณะที่บริการทางการแพทย์ยังมีข้อจำกัด และมีช่องว่าง(Gap)ที่ไม่สามารถเข้าใจเข้าถึงวิถีมุสลิมได้อย่าง แท้จริง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ๑. มาตรการระยะเร่งด่วน ควรจับมือกับโต๊ะบีแด(ผดบ.) เพื่อร่วมฝ่าวิกฤตลดอัตรามารดาตายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยฟื้นฟูและพัฒนาสมรรถนะ ผดบ. เรื่องประเมินปัจจัยเสี่ยงของหญิงมีครรภ์ การส่งต่อและการทำคลอดฉุกเฉินอย่างปลอดภัย มีมาตรการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม เพื่อรักษาคนดี คนเก่ง (บุคลากรสาธารณสุข อสม. และผดบ.) ให้อยู่ในระบบงานอนามัยแม่และเด็ก เร่งสร้างความเข้มแข็งโรงเรียน พ่อแม่เพื่อส่งเสริมบทบาทสามีให้มีทัศคติที่ดีมีความพร้อมร่วมดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และค้นหาหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง เพื่อให้บริการดูแลขณะตั้งครรภ์และให้มีความมั่นใจทุกรายที่คลอดมีสุขภาพดี 2. มาตรการระยะกลางและระยะยาว กรมอนามัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมทบทวนตัวชี้วัดและปรับแนวทาง/กลยุทธ์ขับเคลื่อนนโยบายอนามัยแม่และเด็ก ให้เป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมและเป็นไปได้ เพื่อเป็นพลังให้เกิดการสร้างวิธีคิดและวิธีทำงานใหม่ที่เหมาะสม สอดคล้องตามสภาพปัญหาในบริบทของพื้นที่ต่อไป มีการวิเคราะห์และสนับสนุนอัตรากำลังในงานอนามัยแม่และเด็ก รวมถึง สนับสนุนโควตาเรียนสูตินรีแพทย์เป็นกรณีพิเศษในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ และเพิ่มสมรรถนะแก่แพทย์หรือผู้ปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ ให้มีความเข้าใจวิถีมุสลิมอย่างแท้จริงth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการวางแผนอนามัยth_TH
dc.subjectอนามัยแม่และเด็กth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeSituation analysis and study on the factors affecting the achievement of problem solving of maternal health care in the 3 southernmost provinces of Thailanden_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeMaternal and child health (MCH) situation in three southernmost provinces has been in a critical stage. MMR was about three times higher than country’s targets and almost two times in MDGs Plus target, lower than the performance in almost all indicators. Most deaths due to causes that can be prevented in the context of modern obstetrics. There is only a small detail that seems to be absent. Prenatal care to pregnant women with traditional midwives. The way of life, religion and cultural norms determine the practice of pregnant women. But it is not seen as important as surveillance and health complications. Key factors which affect the success of maternal and child in three southmost provinces are 1. Manpower : Turnover rates are frequent, bcause it is a difficult task, required high skills and experience. More tools and indicators and some indicators are not consistent with the context in three southmost provinces. 2. Belief : Two believes persists that determines the norms and practices of pregnant women are 1) do not eat more and do not take the medicine 2) seek female personnel’s service for delivery. Including lifestyle, religious values are very high in regard to procreation, and that the death is natural. The attitude that contraception is wrong, against the principles of Islam. 3. Traditional Birth Attendants (TBA) : TBA is the strength of maternal and child health in the southmost provinces. Pregnant women are faithful and believe in TBA. While Islam still had limited access to medical services. Suggestion and Policy Brief 1. Urgent measures : Cooperation with TBA to reduce MMR (Maternal Mortality Rate) in three southmost provinces. Development competency TBA to learn assessment of high risk pregnancy, refer and delivery of emergency cases safely. Appropriate Incentive measures are important. We should also encourage Muslim husbands to have proper attitude and to help woman during pregnancy and childbirth. 2. Medium and long term measures : Department of Health and related agencies should review policy, strategy and tools that is flexible, affordable and possible. Provides analysis and support capacity in maternal and child health. We should put more ostetricians in the three southmost provinces and enhance them and their MCH team to understand the way of truly Muslim.en_US
dc.identifier.callnoWA310 ศ249ว 2558
dc.identifier.contactno57-077en_US
.custom.citationศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล and Srivipa Leangpunsakul. "วิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4273">http://hdl.handle.net/11228/4273</a>.
.custom.total_download217
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year15
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs2161.pdf
Size: 1.318Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record