แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนสถานการณ์และกลไกการจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ

dc.contributor.authorธีระ วรธนารัตน์th_TH
dc.contributor.authorThira Woratanaraten_US
dc.contributor.authorภัทรวัณย์ วรธนารัตน์th_TH
dc.contributor.authorPatarawan Woratanaraten_US
dc.contributor.authorอรจิรา วงษ์ดนตรีth_TH
dc.contributor.authorมณฑิชา เจนพานิชทรัพย์th_TH
dc.coverage.spatialออสเตรเลียth_TH
dc.coverage.spatialไต้หวันth_TH
dc.coverage.spatialนิวซีแลนด์th_TH
dc.coverage.spatialญี่ปุ่นth_TH
dc.date.accessioned2015-08-04T03:29:40Z
dc.date.available2015-08-04T03:29:40Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.otherhs2172
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4291
dc.description.abstract“Health Literacy” หมายถึง ความสามารถในการค้นหาเข้าถึง ทำความเข้าใจ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านสุขภาพ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน นักวิชาการในประเทศไทยมีการแปลคำนี้ไว้แตกต่างกันไป อาทิเช่น “ความแตกฉานด้านสุขภาพ” หรือ “การรู้เท่าทันด้านสุขภาพ” หรือ “ความรอบรู้ด้านสุขภาพ” หรือ “ความฉลาดทางสุขภาวะ” อย่างไรก็ตาม ในรายงานฉบับนี้จะใช้คำว่า “ความแตกฉานด้านสุขภาพ” วัตถุประสงค์ 1. เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง Health Literacy กับองค์ประกอบสำคัญของระบบสุขภาพตามกรอบ Six Building Blocks ขององค์การอนามัยโลก 2. เพื่อทบทวนสถานการณ์และระบบ/กลไกหลักที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Health Literacy ในระดับนานาชาติรวมถึงประสบการณ์การดำเนินงานด้าน HL เพื่อสังเคราะห์กรอบการดำเนินงานที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย 3. เพื่อให้มีข้อมูล research mapping and stakeholder mapping ที่เกี่ยวกับ Health Literacy สาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาจากรายงานวิจัยทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ พบว่า ผู้ที่มีระดับความแตกฉานด้านสุขภาพต่ำ มีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยจนต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ใช้บริการรักษาฉุกเฉินมากกว่า มีความสามารถในการป้องกันและดูแลสุขภาพน้อยกว่าผู้บุคคลที่มีระดับความแตกฉานด้านสุขภาพที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่หลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีอยู่นั้น พอจะบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานด้านสุขภาพกับองค์ประกอบต่างๆ ของระบบสุขภาพ ได้ดังนี้ “ในการพัฒนาความแตกฉานด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรวิชาชีพสุขภาพควรมีความรู้ และทักษะด้านอื่น นอกเหนือไปจากความรู้ด้านสุขภาพ เช่น การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การสนับสนุนทางสังคม ทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่จำเป็นให้แก่ผู้ป่วย และประชาชน” “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ ควรคำนึงถึงลักษณะเชิงประชากรศาสตร์ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และวางแผนพัฒนาให้สอดคล้องกับปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความยากง่ายในการเข้าถึง (Access) วิธีการใช้งานสำหรับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย (Usability) และความสามารถของระบบในการตอบสนองต่อความต้องการจริง (System Capacity/Intelligence)” “ความแตกฉานด้านสุขภาพนั้นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยา วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระบบบริการสุขภาพควรมีกลไกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของประชากรที่มีพื้นฐานความแตกฉานด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน นอกจากนี้การพัฒนาระบบสุขภาพไม่ควรมุ่งเน้นที่ตัวผู้ป่วยหรือกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น แต่ควรครอบคลุมผู้ดูแลหรือครอบครัวด้วย” “มีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับความแตกฉานด้านสุขภาพของประชากรเพื่อให้สถานะสุขภาพดีขึ้น ลดภาระของระบบบริการสุขภาพ อย่างไรก็ตามระบบบริการสุขภาพจำเป็นต้องได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับกลุ่มประชากรที่มีระดับความแตกฉานด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถเกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการ และเกิดประสิทธิภาพในกระบวนการดูแลรักษาสุขภาพ” “นโยบายจากรัฐบาล กลไกการบริหารจัดการระดับหน่วยงาน และกลไกการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับต่างๆ คือกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาความแตกฉานด้านสุขภาพของประชากร” “มีหลักฐานชัดเจนว่ากลุ่มประชากรที่มีความแตกฉานด้านสุขภาพระดับต่ำจะมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มประชากรที่มีความแตกฉานด้านสุขภาพระดับสูง ทั้งจากการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน และการนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล”th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Literacyen_US
dc.subjectการดูแลตนเองth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการทบทวนสถานการณ์และกลไกการจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพth_TH
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW30 ธ661ท 2558
dc.identifier.contactno58-033en_US
dc.subject.keywordความฉลาดทางสุขภาวะth_TH
dc.subject.keywordการรู้เท่าทันด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordความแตกฉานทางสุขภาพth_TH
.custom.citationธีระ วรธนารัตน์, Thira Woratanarat, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, Patarawan Woratanarat, อรจิรา วงษ์ดนตรี and มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์. "การทบทวนสถานการณ์และกลไกการจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4291">http://hdl.handle.net/11228/4291</a>.
.custom.total_download1551
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year29
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2172.pdf
ขนาด: 1.363Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย