dc.contributor.author | อนันต์ อัครสุวรรณกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Anan Akkharasuwankul | en_US |
dc.contributor.author | พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ | th_TH |
dc.contributor.author | Pongthep Sutheravut | en_US |
dc.contributor.author | ธรรมศักดิ์ โคจรนา | th_TH |
dc.contributor.author | Thammasak Kojonna | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-08-26T03:22:11Z | |
dc.date.available | 2015-08-26T03:22:11Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.other | hs2174 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4299 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาระบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์เขตสุขภาพที่๑๒ โดยศึกษาความต้องการสารสนเทศ การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศรวมทั้งประเมินผลกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการและงบประมาณของผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ การดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศครอบคลุมหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพที่ ๑๒ ใน ๗ จังหวัดคือจังหวัดตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลาและ นราธิวาสโดยหน่วยงานที่ใช้งานประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ใช้งานประกอบด้วยผู้ที่ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณ ผู้ที่จัดทำแผนงาน/โครงการ และผู้ที่ทำหน้าที่เบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งมีการบันทึกข้อมูลผ่านขั้นตอนการทำงานจริง
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามกำกับโครงการและงบประมาณของหน่วยงานในเขตสุขภาพที่ ๑๒ สามารถตอบสนองความต้องการสารสนเทศตามแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพ การบริหารจัดการแบบมุ่งผลสำเร็จ บทบาทหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขเขต และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการวางแผน ติดตามประเมินผล จัดสรรทรัพยากร และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนาสาธารณสุขส่วนภูมิภาคในระดับอำเภอ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.) ให้มีอำนาจหน้าที่และบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการบริหารแผนงานโครงการและงบประมาณ รวมทั้งการการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ(DHS) โดยระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถลดความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูล การบันทึกข้อมูลดำเนินการ ณ จุดปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ฐานข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้ในทุกระดับของหน่วยงานในเขตสุขภาพ ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว ตรงกับความต้องการ จึงเป็นการอำนวยความสะดวกและจะสร้างบรรยากาศ ให้เกิดการจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ได้มากยิ่งขึ้น
ผลการพัฒนาในปีงบประมาณ ๒๕๕๗-๒๕๕๘ จังหวัดในเขตบริการที่ ๑๒ สามารถใช้ระบบสารสนเทศในการติดตามแผนงาน/โครงการและงบประมาณ ได้ ๗ จังหวัด ปัจจัยความสำเร็จคือการประกาศเป็นนโยบายของผู้บริหารในการนำสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงาน และการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดการงบประมาณ ตั้งแต่การรับจัดสรร ทำแผนการใช้งบประมาณ และบันทึกการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลจากตัวโปรแกรมในการติดตามกำกับแผนงาน/โครงการและงบประมาณ ในการประชุมกรรมการบริหาร ทุกระดับ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศ | th_TH |
dc.subject | การบริหารโครงการ | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการและงบประมาณ ของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12 | th_TH |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | Health information system for project and budget management (HIS4PM) of Health Service Area 12 (HSA 12) had been web-base application which was developed base on a Rapid Prototyping Design Model (RPDM) and a participation action research that consisted with both qualitative and quantitative methods. This included four phases, gathering requirement form health agencies in HAS 12 (Zonal Health Office; ZHO, Provincial Health Office; PHO, and District Health Service Network), setting objectives, constructing and utilizing of prototype. The prototype was installed in many health agencies (PHO, DHO, Hospitals and Health Promoting Hospitals) at 7 provinces that were Songkha, Satoon, Trang, Pattalung, Pattani, Yala, and Naratiwat. The focus group method was used to hear form users, and then HIS4PM was improved follow by users’ need. During February to April 2015, it was evaluated satisfaction by users.
Relational Database Concept was used to deploy Web Base Application for accessibility of all users that could be accessed and updated their data in real time especially at the important points for instance budget arrangements and budget withdrawal etc.
The result showed that HIS4PM could respond to all health agencies’ monitoring and evaluating systems in HSA 12. Most of users rather highly satisfied to HIS4PM’s utilization in all dimension such as application using policy, strategy implementation, utilization of project and budget managements, information completeness, and appropriateness of application. | en_US |
dc.identifier.callno | W26.55 อ168ก 2558 | |
dc.identifier.contactno | 57-089 | |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
.custom.citation | อนันต์ อัครสุวรรณกุล, Anan Akkharasuwankul, พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ, Pongthep Sutheravut, ธรรมศักดิ์ โคจรนา and Thammasak Kojonna. "การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการและงบประมาณ ของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4299">http://hdl.handle.net/11228/4299</a>. | |
.custom.total_download | 171 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 7 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |