dc.contributor.author | ชื่นจิตร กองแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Chuenjid Kongkaew | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-03T05:01:26Z | |
dc.date.available | 2015-09-03T05:01:26Z | |
dc.date.issued | 2557-10 | |
dc.identifier.other | hs2178 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4302 | |
dc.description.abstract | ปัญหาการใช้ยาที่นำไปสู่การเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นสาเหตุสำคัญของความเจ็บป่วยพิการซึ่งเป็นภาระต่อระบบสุขภาพซึ่งที่มีทรัพยากรจำกัด นอกจากนี้ปัญหาการใช้ยาเป็นประเด็นความเสี่ยงทางสุขภาพสำคัญในเอกสารเชิงนโยบายทั่วโลก
จุดมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อศึกษาธรรมชาติของปัญหาการใช้ยาที่นำไปสู่การเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลในด้านของความชุก ปัจจัยเสี่ยง และยาที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการใช้ยาสำหรับการศึกษานี้รวมถึง เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา และความคลาดเคลื่อนทางยา
วิธีวิจัย ศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบไปข้างหน้าโดยเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลที่ตอบรับเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 10 โรงพยาบาลในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย เป็นระยะเวลา 3 เดือน เภสัชกรที่เข้าร่วมโครงการทำการระบุปัญหาการใช้ยาโดยการทบทวนเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ผู้ป่วย จากนั้นผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินปัญหาการใช้ยาด้านที่ผ่านการคัดกรองจากเภสัชกรด้านความสัมพันธ์กับการเข้ารับรักษาตัว สาเหตุจากการใช้ยา ความรุนแรงและการป้องกันได้ การวัดผลลัพธ์หลัก ได้แก่ สัดส่วนของการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลจากปัญหาการใช้ยาโดยรวม เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา และความคลาดเคลื่อนทางยา การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรม STATA 9
ผลการศึกษา จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาการใช้ยาที่ผ่านการคัดกรองของเภสัชกรในงานวิจัยนี้ รวมทั้งสิ้น 4,112 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยสูงอายุ 1,999 คน อัตราการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้สูงอายุที่มีสาเหตุปัญหาการใช้ยาโดยรวมของการศึกษานี้เท่ากับ 56 ราย (ร้อยละ 2.8) เมื่อจำแนกปัญหาการใช้ยาแต่ละประเภท พบอัตราการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เท่ากับ 47 (ร้อยละ 2.4) ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์เท่ากับ 46 ราย (ร้อยละ 2.3) และความไม่ร่วมมือในการใช้ยาเท่ากับ 18 ราย (ร้อยละ 0.9) แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่สามารถระบุความคลาดเคลื่อนทางยา
การเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาการใช้ยาเกือบครึ่ง (ร้อยละ 44) ได้รับการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญว่าเป็นปัญหาการใช้ยาที่ป้องกันได้ เมื่อจำแนกตามประเภทของปัญหาการใช้ยา เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์รวมถึงปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาสามารถป้องกันได้เกือบ 1 ใน 3 ของเหตุการณ์ทั้งหมด (ร้อยละ 44) และความไม่ร่วมมือในการใช้ยาร้อยละ 90.6 สามารถป้องกันได้ ปัญหาการใช้ยาโดยรวมและปัญหาการใช้ยาแต่ละประเภทส่วนใหญ่มีความรุนแรงระดับปานกลาง
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทั้งในกลุ่มประชากรทั้งหมดของการศึกษาซึ่งรวมประชากรสูงอายุกว่าร้อยละ 60 และกลุ่มประชากรสูงอายุ ได้แก่ อายุของผู้ป่วย ผู้ป่วยยิ่งอายุมากโดยความเสี่ยงของการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลยิ่งเพิ่มขึ้น การได้รับยาใหม่ภายในระยะเวลา 1 เดือน การใช้ยาหลายขนาน (มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ชนิด) ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่พบในประชากรทั้งหมดของการศึกษา ได้แก่ การรับยาจากคลินิกเอกชน การรับยาจากร้านขายยา การศึกษา การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และครอบครัว
อันตรายจากการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการใช้ยาที่พบบ่อยในการศึกษานี้ ได้แก่ ภาวะ hypoglycaemia ภาวะ hypokalemia ภาวะ gastrointestinal/intracerebral haemorrhage ภาวะ hyperglycemia ภาวะ hypertensive urgency / ascites ภาวะ COPD exacerbation และภาวะ drowsiness
กลุ่มยาส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารวมถึงปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ยาที่เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไร้ท่อ ยาที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ยาที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนกลุ่มยาที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากความไม่ร่วมมือในการใช้ยา ได้แก่ ยาที่เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไร้ท่อ ยาที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ยาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
สรุปผลการศึกษา ผู้สูงอายุไทยมีความเสี่ยงต่อการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาการใช้ยา โครงการจัดการความเสี่ยงจากการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพและกลวิธีลดความเสี่ยงจากการใช้ยาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการประกันความปลอดภัยด้านการใช้ยาของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาในวัยชรา | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.title.alternative | Drug-related hospital admission problems in Thai elderly | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.publication | ภายใต้แผนงานการวิจัยการใช้ยาในผู้สูงอายุไทยเขตภาคเหนือตอนล่าง | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Introduction: Drug-related problems (DRPs) that cause hospital admission are a major cause of morbidity and pose a substantial burden on limited healthcare resources. Risks of DRPs have been highlighted in policy documents worldwide.
Aim: The overall aim of this study was to examine the natures of DRPs that lead to hospital admissions in terms of prevalence, risk factors, and medications. The DRPs in this study included adverse drug events (ADEs), adverse drug reactions (ADRs), non-adherence to medication (NA) and medication errors (MEs).
Methods: A prospective observational study was conducted in 10 hospitals in the Lower Northern Region of Thailand over 3 months. A review of medical records of patients admitted to medical units was undertaken by pharmacists supplemented by patient interview to detect DRPs. All DRPs were clinically assessed to determine contribution to hospital admissions, causality, severity and preventability. The main outcome measures included the proportion of screened hospital admissions that were due to overall DRPs, ADEs, ADRs, NA, and MEs. All statistical analyses were performed using STATA version 9.
Results: A total of 4112 patients were screened of whom 1999 patients were elderly, and of these, 56 admissions (2.8%) were due to causal DRPs. The corresponding number of hospital admissions associated with ADEs and ADRs was 47 (2.4%) and 46 (2.3%). NA was responsible for 18 (0.9%) of admissions. Nearly half of hospital admissions associated with causal DRPs (44.0%) were judged to be preventable. When classified by type of DRPs, nearly one third of hospital admissions associated with causal ADEs [22 (31.4%)] including causal ADRs [20 (29.4%)] were preventable; 90.6% of hospital admissions associated with causal NA were preventable. Most casual drug related problems (98.9%) were of moderate severity. Risk factors of hospital admissions associated with the study population including 60% of the elderly patients were patient age, receiving new medications within 1 month, polypharmacy (≥ 5 medications). Other risk factors identified in the study population included receiving medications from private clinics, receiving medications from drugstores, education, alcohol drinking, and family. Harm to patients from hospital admissions associated with drug related problems were often hypoglycaemia, hypokalemia, gastrointestinal/intracerebral haemorrhage, hyperglycaemia, hypertensive urgency/ascites, COPD exacerbation and drowsiness. Medications targeting the endocrine, cardiovascular and central nervous systems were the drug classes most frequently involving hospital admissions associated with ADEs including ADRs. Medications involving the endocrine, cardiovascular and respiratory systems were frequently involved in hospital admissions associated with non-adherence.
Conclusion: Hospital admissions associated with drug-related problems in elderly Thais are common. Effective risk management programmes and interventions for reducing risk from DRPs are needed for ensuring safety in medication use in the elderly. | en_US |
dc.identifier.callno | WT100 ช592ก 2557 | th_TH |
dc.identifier.contactno | 56-028 | en_US |
.custom.citation | ชื่นจิตร กองแก้ว and Chuenjid Kongkaew. "การเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4302">http://hdl.handle.net/11228/4302</a>. | |
.custom.total_download | 569 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 25 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 | |