Show simple item record

Medication Use Behaviors among the Older Thai Adults

dc.contributor.authorอุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์th_TH
dc.contributor.authorUraiwan Chaichanawiroteen_US
dc.contributor.authorนิรนาท วิทยโชคกิติคุณth_TH
dc.date.accessioned2015-09-03T08:16:35Z
dc.date.available2015-09-03T08:16:35Z
dc.date.issued2557-10
dc.identifier.otherhs2180
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4305
dc.description.abstractพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของผู้สูงอายุเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาการใช้ยา ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องมาจากปัญหาการใช้ยา จำนวน 23 คน และการสัมภาษณ์ผู้ดูแล ร่วมกับการสนทนากลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 26 คน วิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้ยาที่เหมาะสมของผู้สูงอายุเกิดขึ้นจากความสามารถในการบริหารยาร่วมกับความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ยา ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการใช้ยา 3 ด้าน คือ (1) วิธีการใช้ยาของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย พฤติกรรมการใช้ยาไม่เป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ เช่น การรวบมื้อยา การใช้ยาไม่สม่ำเสมอ การปรับเพิ่มหรือลดยาเอง และการติดยา พฤติกรรมการใช้ยาด้วยตนเองอย่างไม่ปลอดภัยทั้งการซื้อยาใช้เองและการใช้ยาทางเลือกโดยขาดความรู้ (2) การเลือกสถานบริการที่รับยา และ (3) การเก็บรักษายาและนำยาออกมาใช้ โดยการวิจัยนี้พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุประกอบด้วย (1) ปัจจัยที่มีอยู่เดิม (ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาทั้งด้านความสามารถในการบริหารยาและความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ยา) ประกอบด้วย ปัจจัยความสามารถของบุคคล เช่น ความรู้ ทัศนคติ ความจำ การมองเห็น การใช้มือหยิบจับ และปัจจัยภารกิจในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ งานดูแลผู้อื่น งานอาสาสมัคร หรืองานสังคม (2) ปัจจัยชักนำ (ปัจจัยที่กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ยา) ได้แก่ การปรากฏของอาการของโรค เช่น ความรุนแรงและความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น และการตอบสนองของร่างกายต่อยา เช่น การเกิดผลข้างเคียงและผลลัพธ์เชิงการรักษา และ (3) ปัจจัยปรับเปลี่ยน (ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัจจัยที่มีอยู่เดิม ปัจจัยชักนำ และพฤติกรรมการใช้ยา) ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อนบ้านและบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งสื่อต่างๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวยาที่ใช้ เช่น คุณสมบัติของยาในการรักษา ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และความซับซ้อนของวิธีการใช้ยา ปัจจัยทางกายภาพของสิ่งแวดล้อม เช่น ความห่างไกลของสถานที่รักษาพยาบาล การคมนาคมขนส่ง และปัจจัยฐานะทางเศรษฐกิจ ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะทั้งการจัดการเชิงรับ การจัดการเชิงรุก และการจัดการเชิงระบบ การนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการศึกษาทางการพยาบาลและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะในการวิจัยเพื่อทดสอบแนวคิด และค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพล รวมทั้งข้อเสนอแนะด้านนโยบายและการบริหารในการพัฒนาระบบข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพ และการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาในวัยชราth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทยth_TH
dc.title.alternativeMedication Use Behaviors among the Older Thai Adultsen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.publicationภายใต้แผนงานการวิจัยการใช้ยาในผู้สูงอายุไทยเขตภาคเหนือตอนล่างth_TH
dc.description.abstractalternativeInappropriate medication use behavior is one of major causes of drug related events which lead to acute episodes and hospital visits among older adults. The purposes of this study were to investigate medication use behaviors, determine factors related to medication use behaviors, and explore means to prevent and solve problems related to medication use behaviors among older Thai adults. Using a descriptive qualitative design, this study employed an in-depth interview in 23 adults aged 60 years and older who experienced drug-related problems on a hospital visit and their caregivers. The study focus groups were conducted in 26 health care personnel. Using a content analysis, this study revealed that medication use behaviors required capability to perform medication administration and capability to make a proper decision. Medication use behaviors involved: medication use method (medication non-adherence and unsafe self-medication), making choices of drug sources, and keeping and dispensing medication. Factors related to medication use behaviors comprised (1) pre-existing factors including individual capacity factors (e.g. knowledge, attitude, memory, and vision), and daily activity factors (e.g. working job, social activities, and caring for others) (2) precipitating factors including disease manifestation (e.g. severity, duration), and response to medication (e.g. experience relief and side effect), and (3) modifying factors including social influences (family, health care personnel, and media), medication-related factors (medication regimen complexity), physical environment (distance to hospital), and financial status. The results of this study proposed 3 approaches to solve the problems related to medication use behaviors: reactive, proactive and systematic approaches. The results can be used in nursing education and other allied disciplines. Suggestion for future research was to test the model of factors related to medication use behaviors and to determine influencing factors. The results of the study also suggested that national and local governments develop database network system, and provide services to fulfill basic needs of the older Thai adults.en_US
dc.identifier.callnoWT100 อ858พ 2557th_TH
dc.identifier.contactno56-028en_US
.custom.citationอุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, Uraiwan Chaichanawirote and นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ. "พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4305">http://hdl.handle.net/11228/4305</a>.
.custom.total_download3514
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year112
.custom.downloaded_fiscal_year16

Fulltext
Icon
Name: hs2180.pdf
Size: 841.3Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record