• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานสงเคราะห์คนชราอาคารเขียวต้นแบบตามหลักวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์

สุขสันติ์ หอพิบูลสุข; Suksun Horpibulsuk; อวิรุทธิ์ ชินกุลกิจนิวัฒน์; Avirut Chinkulkijniwat; พรศิริ จงกล; Pornsiri Jongkol; ณัฐฐิตา เพชรประไพ; Nutthita Petchprapai; ปัทมา วาจามั่น; Patama Vajamun;
วันที่: 2558
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ประกอบด้วยเนื้อหาหลักสำคัญสามส่วน: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการล้มของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราและลำดับความสำคัญของสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลางตามหลักวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์ และการออกแบบอาคารสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลางจังหวัดนครราชสีมา ตามหลักอาคารเขียวงานวิจัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการล้มของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราและลำดับความสำคัญของสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยข้อมูลสามด้าน ได้แก่ ความสามารถในการป้องกันการล้มของอุปกรณ์ต่างๆ ความถี่และความรุนแรงที่เกิดการล้มที่สถานที่ต่างๆ และความแข็งแรงของผู้สูงอายุในสถานที่ศึกษา มาทำการวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุตามสถานที่ต่างๆ พบว่าสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความสำคัญสูงตามสถานที่ต่างๆจะเป็น การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และการเพิ่มสิ่งช่วยการทรงตัว ขึ้นกับสถานที่ โดยสถานที่กว้างมีบริเวณ การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมจะมีความสำคัญสูงสุด ส่วนสถานที่แคบๆ การเพิ่มสิ่งช่วยการทรงตัวจะมีความสำคัญสูงสุด ผลสรุปนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อมูล กลุ่มตัวอย่างจากบ้านพักธรรมปกรณ์โพธิ์กลางเท่านั้น หากต้องการนำไปใช้กับประชากรกลุ่มอื่น ควรทำการเก็บตัวอย่างและสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อข้อสรุปที่ได้มาจากประชากรกลุ่มที่ต้องการศึกษาอย่างแท้จริง ผลสำรวจข้อมูลพื้นฐาน สภาพทางกายภาพ และความแข็งแรงของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 59 คน มีค่าเฉลี่ยของอายุเท่ากับ 75.07 ปี เป็นเพศชาย 41 คน และเพศหญิง 18 คน จากข้อมูลสัดส่วนร่างกายพบว่า ค่าเฉลี่ยของความสูงจากพื้นถึงศีรษะเท่ากับ 160.42 เซนติเมตรสำหรับเพศชายและ 144.97 เซนติเมตรสำหรับเพศหญิง ความสามารถในการออกแรงของเพศชายมีค่ามากกว่าของเพศหญิง ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ราวจับควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร และความสูง 80 เซนติเมตร ซึ่งผลของการออกแบบครั้งนี้สอดคล้องกับกฏกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 การออกแบบอาคาร สถานสงเคราะห์คนชรา บ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง จังหวัดนครราชสีมา ตามหลักอาคารเขียว เป็นการเสนอแนวทางการออกแบบตั้งแต่การจัดวางผังโครงการ และอาคารต่างๆ ภายในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง ให้เป็นไปตามหลักอาคารเขียวและประหยัดพลังงาน เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของตัวอาคาร ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน การจัดการน้ำ การจัดการขยะ และการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบของตัวอาคารต่อสุขภาพของผู้ใช้อาคารและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพของผู้ใช้งานอาคารผ่านการออกแบบ การก่อสร้าง การดำเนินการ การบำรุงรักษา ไปจนถึงการกำจัดอย่างมีคุณภาพ ผู้วิจัยได้จัดทำวีดิทัศน์ 3 มิติ (Animation) เพื่อเผยแพร่ความรู้ และความเข้าใจในการออกแบบอาคารสำหรับผู้สูงอายุตามหลักอาคารเขียวและการเข้าถึงได้ของคนทุกวัย

บทคัดย่อ
Proper facilities for elderly is important for preparation for being an aging society of Thailand in a near future. Number of elderly in elderly home care is increasing during the past few years. This trend is expected to continue for decades. This paper determines a priority of facilities for elderly in elderly home care in Nakhon Ratchasima province namely Thamma Pakorn Poeklang. Three groups of information; including capability of the facilities to prevent falling in elderly, frequency and violence of falling in elderly, and level of self-care ability, are used for a determination of the priority of facilities for elderly. This study shows that facilities relating to environmental arrangement and balance of elderly are the most important depending on locations. For the wide court area, facilities relating to environmental arrangement are this most important. While, facilities relating to balance of elderly are the most important for limited space area. Results from this study are based on elderly sampled from the studied area. For other areas, it is suggested to determine the level of self-care ability of elderly in the interested area and re-determine the priority of facilities for elderly in the same way presented in this paper. This research explored basic information, physical characteristics, and strength of elderly in Thammapakon Pho Klang nursing home, Nakhon Ratchasima. Fifty nine subjects, 41 males and 18 females, participated in this study. Average age of the subjects was 75.07 years old. Average heights were 160.42 and 144.97 cm for males and females, respectively. Average shoulder heights were 134.24 and 119.22 cm for males and females, respectively. Average hand thickness were 4.00 and 2.90 cm for males and females, respectively. Average grip breadths, inside diameter, were 3.55 and 2.89 cm for males and females, respectively. Strength of males was greater than that of females. Data obtained from this research can be used to design facilities for elderly. For example, handrail diameter should be 3-4 cm. and handrail height should be 80 cm. These dimensions conform to stipulating accessibility in buildings for disabled persons and elderly ministerial regulation B.E. 2548. Design of buildings of Thammapakon Pho Klang nursing home, Nakhon Ratchasima based on green building principles is a suggestion of design guidelines. These guidelines include layout of project and buildings in Thammapakon Pho Klang nursing home which conform to green building and energy saving principles and also efficiency increase. Moreover, building utilization, water management, waste management, environment friendly material selection, effect of buildings on health of building users and environment, construction, operations, maintenance, and high quality disposal are included. The researchers have made 3 dimensional animation in order to transfer knowledges and understanding of building design for elderly based on green building and accessibility of people at all ages.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2188.pdf
ขนาด: 8.666Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 153
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV