dc.contributor.author | เพ็ญนภา กุลนภาดล | th_TH |
dc.contributor.author | Pennapa Koolnaphadol | en_US |
dc.contributor.author | จุฑามาศ แหนจอน | th_TH |
dc.contributor.author | Juthamas Haenjohn | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-08T02:32:28Z | |
dc.date.available | 2015-09-08T02:32:28Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.other | hs2189 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4314 | |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาและพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุโดยการบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและเครือข่ายประชาสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาสภาวการณ์ภูมิคุ้มกันทางใจ (Resilience Quotient) ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก 2) การศึกษารูปแบบในการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจ (Resilience Quotient) ของผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของผู้สูงอายุที่แตกต่างกัน และ 3) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ (Resilience Quotient) ที่มีการบูรณาการกระบวนการการมีส่วนร่วมของครอบครัว เครือข่ายประชาสังคม และ กระบวนการปรึกษา สำหรับผู้สูงอายุ โดยมีขั้นตอนการวิจัยและผลการวิจัยดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาวการณ์ภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุ โดยดำเนินการใน 2 ขั้นตอนย่อยดังนี้
1) การสำรวจภูมิคุ้มกันทางใจของผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกทั้ง 8 จังหวัด ได้แก่
สระแก้ว จันทบุรี นครนายก ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ปราจีนบุรี จังหวัดละ 240 คน รวมทั้งสิ้น รวม 1,920 คน เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจสภาวการณ์ภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุภาคตะวันออก โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.41 เมื่อทำการเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบที่ 5 การจัดการตนเองในการดำเนินชีวิต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการเผชิญปัญหา องค์ประกอบที่ 3 การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น องค์ประกอบที่ 1 ความมุ่งหมายในชีวิต และ องค์ประกอบที่ 2 การมีมุมมองชีวิตทางบวกโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.49, 2.47, 2.45.2.34 และ 2.32 ตามลำดับ
2) ศึกษาบริบทของครอบครัว เครือข่ายประชาสังคม รูปแบบการปรึกษา ในการ
ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก ผลการศึกษา พบว่า เครือข่ายประชาสังคมที่ทำงานกับผู้สูงอายุในภาคตะวันออก มีอยู่เป็นจำนวนมาก หลากหลายองค์กรที่ดำเนินงานในด้านผู้สูงอายุ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ขาดการบูรณาการในการทำงานด้านผู้สูงอายุร่วมกัน ลักษณะโครงการ รูปแบบการปรึกษาเป็นไปตามความต้องการของแต่ละหน่วยงาน ขาดความยั่งยืนในการดำเนินการของโครงการ
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษารูปแบบในการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจ (Resilience Quotient) ของวัยสูงอายุที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของผู้สูงอายุที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบในการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุในบริบทที่แตกต่างกัน พื้นที่แต่ละพื้นที่ในจังหวัดภาคตะวันออกยังไม่มีหน่วยงานใดในการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุ มีเพียงการพัฒนาด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ ด้านความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านรูปแบบการดำรงชีวิต โดยรูปแบบที่ใช้ในการพัฒนา จะใช้รูปแบบการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแนะแนว การให้ความรู้ การพัฒนาศักยภาพและการส่งเสริมการใช้ศักยภาพผู้สูงอายุ
ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ (Resilience Quotient) ที่มีการบูรณาการกระบวนการการมีส่วนร่วมของครอบครัว เครือข่ายประชาสังคม และ กระบวนการปรึกษา สำหรับผู้สูงอายุ ผลการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้น โดยจัดทำเป็น หลักสูตรในการฝึกอบรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นรูปแบบการผสมผสานระหว่างแนวคิดต่าง ๆ ได้แก่ แนวคิดการสร้างและประสานเครือข่ายประชาสังคม แนวคิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว แนวคิดกระบวนการการปรึกษา โดยเนื้อหาการอบรมของหลักสูตรประกออบด้วยการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความมุ่งหมายในชีวิต องค์ประกอบที่ 2 การมีมุมมองชีวิตทางบวก องค์ประกอบที่ 3 การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น องค์ประกอบที่ 4 ด้านการเผชิญปัญหา องค์ประกอบที่ 5 การจัดการตนเองในการดำเนินชีวิต จัดทำเป็นชุดฝึกอบรมในหลักสูตรที่บูรณาการการมีส่วนร่วมของครอบครัวและเครือข่ายประชาสังคม ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุในทุกบริบท โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในบทบาทของตนเอง การเป็นต้นแบบของสังคม มีทักษะในการจัดการกับชีวิต และ ใช้หลักการทางจิตวิทยาในการมองตน และ การช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกันทางใจเพิ่มขึ้น สามารถดำรงชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพและมีศักยภาพ
ชุดการฝึกอบรมในหลักสูตรประกอบด้วย
1) ผู้สูงอายุกับครอบครัว ชุมชน และ เครือข่าย
2) พลังสัมพันธภาพ พลังใจ
3) การมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
4) ผ่อนพักตระหนักในตน
5) มุมมองทางบวกสร้างได้ ด้วยสุนทรียสนทนา
6) เสริม..ซ่อม..สร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
7) พายุแห่งปัญหา…ฉันผ่านได้
8) ขอบคุณที่ทำให้รู้....คุณค่าแห่งชีวิต
9) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพือการเปลี่ยนแปลง
ผู้วิจัยประเมินหลักสูตรฯ ทั้งในด้านเจตคติ ด้านทักษะ และด้านผลการดำเนินการในหลักสูตร พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมในหลักสูตรฯ มีภูมิคุ้มกันทางใจรายองค์ประกอบหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงขึ้นในทุกองค์ประกอบ แลควรมีกาะโดยภาพรวมคะแนนภูมิคุ้มกันทางใจสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาและนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุ
ผู้วิจัยได้จัดสัมมนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุ ได้ข้อสรุปข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้
1) การเสริมสร้างและพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุ ควรมีการประสานเครือข่าย
ในการทำงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีการดำเนินงานร่วมกัน การสร้างความเข้าใจเพื่อให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพสูง ตลอดจนควรมีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหว และ เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง
2) รูปแบบการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความน่าสนใจ
และ มีความเหมาะสม เป็นแนวคิดในการบูรณาการที่ก่อให้เกิดหลักสูตรในการดำเนินงานอย่างผสมผสาน มุ่งเน้นการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุได้อย่างดี ควรมีการขยายผลโดยอบรมการใช้รูปแบบนี้ให้กับผู้ที่จะดำเนินการได้จริงในพื้นที่ เพื่อให้สามารถได้นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อไป
3) การจัดระดมความคิดเห็น เพื่อสะท้อนความคิดของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ เนื่องจากจะทำให้สามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุไต้ตรงตามความต้องการของทั้งกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานเกี่ยวข้องที่ดูแลผู้สูงอายุได้อย่างต่อเนื่อง และ สอดคล้องกับความเป็นจริง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | สุขภาพจิต | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาและพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุโดยการบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและเครือข่ายประชาสังคม | th_TH |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study the Resilience Quotient situation of elderly in the East 2) to study a suitable model for the difference elderly and 3) to develop a resilience model through the integration of family’s involvement, civil society network and counseling process. The research’s process and results were as follows;
Step 1: A study of the Resilience Quotient situation of elderly was conducted in two sub steps:
1) A survey of Resilience Quotient of the Elderly in 8 eastern provinces include Sakaew, Chanthaburi, Nakhonnayok , Rayong, Trat, Chachoengsao, ChonBuri and Pracheenburi ; each 240 with a total of 1,920. The instrument used was a Resilience Quotient Questionnaire developed by the researcher. The results showed that the resilience of elderly in the East was in medium with average score at 2.41. When making comparisons in each component it found that the fifth component (Self-management in living) was highest average, followed by the fourth (Coping), the third (Interaction with each other), the first (Goal in life) and the second (Optimism) with mean of 2.49, 2.47, 2.45.2.34 and 2.32 respectively.
2) A study of the context of family, civil society network and counseling model to support elderly show that there are a number of civil society networks who work with the elderly in the East, both public and private, but there was no cooperation in elderly support. A counseling style was going to meet the need of each organization. There was no sustainability in the implementation of the project.
Step 2: A study of a Resilience Quotient model which healthy for the difference elderly showed that there were no institutions in the East who develop the Resilience Quotient model for elderly. There are only to improving health, psychological well-being, economic and life style. The model used was in the form of training, knowledge sharing, guidance, education,
potential development and promoting the use of the potential of the elderly.
Step 3: A development of elderly‘s resilience enhancing model with the integration of family involvement, civil society networks and counseling process. A model was developed by the researcher in a form of training course with a combination of various approach include the concept of civil society network synchronization, the involvement of the family and the counseling process. The content of the course was a development of resilience in four components: 1) goal in life 2) optimism 3) interaction with each other 4) coping and 5) self-management in living. The course was designed with the integration of the involvement of family and civil society networks to meet the needs of elderly in every context. The curriculum is focused on enhancing cognition, awareness of their roles as a model of a social, a coping skill to deal with life and the use of psychological principles to view themselves and help others. A structure of a courses consist of;
1) the elderly with families, communities and networks
2) the power of relationships
3) to live in a meaningful way
4) self - awareness
5) optimism created by aesthetic dialogue
6) to added, repair and interact with around people
7) a storm of problems ... I can do
8) thank you for the value life
9) to exchange for a changing.
The researcher has assessed the program in terms of attitudes, skills, and overall performance and found that the elderly who participated in the program had high resilience quotient in all components. The overall scores were higher statistically significant at .05.
Step 5: to offer a policy recommendations to enhance elderly’s resilience the researcher had held seminars and has concluded the following policy recommendations.
1) To enhance elderly’s resilience it should be a synchronization of the network both public and private sectors to work together. Creating a better understanding will make strong networks with higher potential, and it should be operation for the continuously movement.
2) The model developed by the researcher was interesting and appropriate. It was a concept that integrates combined operations with a focus on developing of resilience as well. So there should be the extension of this model to the area to be able to use efficiently and effectively.
3) The brainstorming to reflect the idea from the various associated agencies, both public and private, was important and necessary because it can develop resilience to meet the needs of both target group and related other. | en_US |
dc.identifier.callno | WT145 พ887ก 2558 | th_TH |
dc.identifier.contactno | 56-028 | en_US |
.custom.citation | เพ็ญนภา กุลนภาดล, Pennapa Koolnaphadol, จุฑามาศ แหนจอน and Juthamas Haenjohn. "การศึกษาและพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจวัยสูงอายุโดยการบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและเครือข่ายประชาสังคม." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4314">http://hdl.handle.net/11228/4314</a>. | |
.custom.total_download | 540 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 11 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |