แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การใช้และการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด

dc.contributor.authorนงเยาว์ เกษตร์ภิบาลth_TH
dc.contributor.authorNongyao Kasatpibalen_US
dc.contributor.authorยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์th_TH
dc.contributor.authorYodying Punjasawadwongen_US
dc.contributor.authorจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อth_TH
dc.contributor.authorJittaporn Chitreecheuren_US
dc.contributor.authorนเรนทร์ โชติรสนิรมิตth_TH
dc.contributor.authorNarain Chotirosniramiten_US
dc.contributor.authorสมใจ ศิระกมลth_TH
dc.contributor.authorSomjai Sirakamonen_US
dc.contributor.authorปาริชาติ ภัควิภาสth_TH
dc.contributor.authorParichat Pakvipasen_US
dc.date.accessioned2015-11-11T09:36:59Z
dc.date.available2015-11-11T09:36:59Z
dc.date.issued2558-04
dc.identifier.otherhs2215
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4348
dc.description.abstractแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก ได้ถูกนำไปใช้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด แต่ยังไม่พบข้อมูลผลลัพธ์ของการนำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยมาใช้ในภาพรวมของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้ การปฏิบัติตาม ความพึงพอใจ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขในการนำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยมาใช้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง กุมภาพันธ์ 2558 ในโรงพยาบาล 61 แห่งในประเทศไทย แบ่งเป็น โรงพยาบาลรัฐบาล 46 แห่ง และเอกชน 15 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยส่งแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการใช้ การปฏิบัติตาม ความพึงพอใจ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขในการนำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยมาใช้ ไปยังบุคลากรทีมผ่าตัด ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับพยาบาลห้องผ่าตัด 39 คน (แบ่งเป็น 3 กลุ่ม) และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรทีมผ่าตัด 50 คน เป็น ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาลห้องผ่าตัด วิสัญญีพยาบาล และพยาบาลศัลยกรรม อย่างละ 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้มีทั้งหมด 2,024 คน เป็นบุคลากรพยาบาลห้องผ่าตัดมากที่สุด ร้อยละ 55.04 รองลงมาเป็นวิสัญญีพยาบาล ร้อยละ 23.42 และศัลยแพทย์ร้อยละ 12.94 โดยร้อยละ 10.09 ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับผู้บริหารของโรงพยาบาล อัตราการใช้แบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย มีค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ร้อยละ 86.98 (+ 19.09) อัตราการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย มีค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ร้อยละ 84.44 (+ 20.59) ความพึงพอใจในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างในการนำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยมาใช้ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.79 โดยประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมาก 3 อันดับแรก คือ 1) มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย ค่าเฉลี่ย 4.11 2) มีประโยชน์ต่อหน่วยงาน ค่าเฉลี่ย 4.05 และ 3) ช่วยลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการผ่าตัด ค่าเฉลี่ย 4.02 ปัญหาอุปสรรคในการนำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยขององค์การอนามัยโลกมาใช้ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52 เมื่อจำแนกตามระยะการผ่าตัด พบว่า ระยะก่อนเริ่มให้การระงับความรู้สึก (sign in) ปัญหาอุปสรรคในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.41 พบว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาสูงสุดของระยะนี้ เป็นปัญหาในระดับปานกลาง 2 อันดับแรก คือ 1) การทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำผ่าตัด ค่าเฉลี่ย 2.67 และ 2) การตรวจสอบการมีโอกาสเสียเลือดมากกว่า 500 มล. ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ หรือ 7 มล./ กก. ในผู้ป่วยเด็ก ค่าเฉลี่ย 2.62 ระยะก่อนที่จะลงมีด (time out) ปัญหาอุปสรรคในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.50 พบว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาสูงสุดของระยะนี้ เป็นปัญหาในระดับปานกลาง 2 อันดับแรก คือ 1) ศัลยแพทย์ทบทวนขั้นตอนการผ่าตัดที่สำคัญ ค่าเฉลี่ย 2.77 และ 2) การแนะนำชื่อและบทบาทของตนเอง ค่าเฉลี่ย 2.72 ระยะก่อนผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัด (sign out) ปัญหาอุปสรรคในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.34 พบว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาสูงสุดของระยะนี้ เป็นปัญหาในระดับ ปานกลาง 2 อันดับแรก คือ 1) การทบทวนเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัด ค่าเฉลี่ย 2.56 และ 2) พยาบาลห้องผ่าตัดกล่าวยืนยันชนิดของการผ่าตัดที่บันทึกในแบบบันทึกการผ่าตัดว่าถูกต้อง ค่าเฉลี่ย 2.51 จากการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า การนำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยมาใช้ มีปัญหาสำคัญหลายประการ ได้แก่ ไม่มีนโยบาย นโยบายไม่ชัดเจนหรือไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง บุคลากรบางส่วนในทีมผ่าตัดไม่ให้ความร่วมมือโดยเฉพาะในระยะเริ่มต้น การสื่อสารปัญหาไปยังแพทย์ทำได้ยาก และมีบุคลากรไม่เพียงพอ นอกจากนี้พบว่าบุคลากรทีมผ่าตัดบางส่วนไม่เข้าใจเนื้อหาและกระบวนการการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย ส่งผลให้มีการปฏิบัติที่หลากหลาย ไม่ถูกต้อง ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ “real time” และมีการลดขั้นตอนการปฏิบัติหรือ “ย่นกระบวนการ”เพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยและเบื่อหน่ายจากการถูกสอบถามและตรวจสอบหลายครั้ง การวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือ ควรผลักดันเชิงนโยบายและให้การสนับสนุนทั้งในระดับประเทศ (กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ) และระดับโรงพยาบาล ผลักดันให้อยู่ในหลักสูตรฝึกอบรมศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ วิสัญญีพยาบาล และพยาบาลห้องผ่าตัด กำหนดเป็นตัวชี้วัด กำหนดเป็นนโยบายให้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน โดยมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน การแก้ไขปัญหาควรใช้การประสานความร่วมมือกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง นำสื่อหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์ให้มีการปฏิบัติ ฝึกอบรมโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติและการฝึกปฏิบัติแบบฐาน ปรับให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล วางเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง ให้รางวัลเมื่อปฏิบัติได้ดี มีการสุ่มตรวจการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและให้ข้อมูลย้อนกลับ และให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ นอกจากนี้ พบว่า ปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญคือ เงื่อนไขของการรับรองศูนย์อบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ (resident training) จากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการผ่าตัด ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงประโยชน์ของการนำมาใช้ และการตระหนักรู้ของบุคลากรทีมผ่าตัด สรุป อัตราการนำมาใช้และการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยขององค์การอนามัยโลกในประเทศไทยอยู่ในระดับสูง ความพึงพอใจต่อการนำมาใช้ในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ปัญหาอุปสรรคในการนำมาใช้อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง พบปัญหาทั้งด้านโครงสร้างและกระบวนการ การผลักดันและสนับสนุนเชิงนโยบาย การประสานความร่วมมือ การจัดอบรมโดยมีการฝึกปฏิบัติ การวางเงื่อนไขให้ปฏิบัติ การให้รางวัล การสุ่มตรวจการปฏิบัติและให้ข้อมูลย้อนกลับ การสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงประโยชน์ของการใช้ การตระหนักรู้ของบุคลากรทีมผ่าตัด และการให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วม น่าจะทำให้การใช้และการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยขององค์การอนามัยโลกในประเทศไทยเพิ่มขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectศัลยศาสตร์th_TH
dc.subjectความปลอดภัยของผู้ป่วยth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการใช้และการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดth_TH
dc.title.alternativeImplementation and Compliance with World Health Organization Surgical Safety Checklist in Government and Private Hospitals in Thailand for Quality Improvement and Safety among Patients Undergoing Surgeryen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeBackground: The WHO surgical safety checklist (SSC) has been globally implemented including Thailand to reduce preventable surgical adverse events. However, it has no national data of SSC implementation in Thailand. This study aimed to evaluate the use, the compliance, the satisfaction, the obstacle, and problem solving of SSC implementation. Methods: A mixed methods, quantitative and qualitative methods, descriptive study was conducted between November 2013 and February 2015 in 61 hospitals in Thailand, 46 government hospitals and 15 private hospitals. A questionnaire eliciting on demographics, the use, the compliance, the effectiveness, the satisfaction, the obstacle, and problem solving of SSC implementation was distributed to surgical personnel for collecting quantitative data. Three focus group discussions with 39 operating room nurses and in-depth interviews with 50 surgical personnel (10 surgeons, 10 anesthesiologists, 10 operating room nurses, 10 nurse anesthetists, and 10 surgical ward nurses) were performed for gathering qualitative information. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. Results: A total 2,024 surgical personnel were recruited. The three majorities were operating room nurses (55.04 %), nurse anesthetists (23.42%) and surgeons (12.94%). Of these, 10.09% was hospital administrators. The means of the use and the compliance with the SSC were 86.98 % (+19.09) and 84.44 % (+20.59), respectively. Overall, surgical personnel satisfied with the SSC at a high level (mean=3.79+0.71). The three most satisfactions were the benefit to the patient (mean 4.11+0.69), the benefit to the organization (mean 4.05+0.68), and affected to reduce the adverse event (mean 4.02+0.69). Overall, the obstacle for implementation of SSC was rated as moderate (mean=2.52+0.99). In the sign in period, overall item was rated as weak (mean=2.41). The two major obstacles were rated as moderate including a surgical site mark (mean=2.67) and evaluating the risk of > 500 ml blood loss (7 ml/kg) in children (mean=2.62). In the time out period, overall item was rated as weak (mean=2.50). The two major obstacles were rated as moderate including the surgeon anticipated critical events (mean=2.77) and all team members have introduced themselves by name and roles (mean=2.72). In the sign out period, overall item was rated as weak (mean=2.34). The two major obstacles were rated as moderate including the surgeon, anesthetist and nurses anticipated the key concerns for recovery and management of the patient (mean=2.56) and nurse verbally confirmed the name of the procedure (mean=2.51). The qualitative data documented that the major obstacles of SSC implementation included no policy, unclear or impractical policy, poor teamwork or individual cooperation (especially at the beginning), unsuccessful communication to surgeon, and inadequate personnel. Further obstacles were some surgical personnel lack of true understanding about the contents of SSC and process of implementation caused uncertainty, incorrectly, or ineffectively implementation. The SSC was completed before or after the surgery which was not “real time” and the processes were “cut short” to get it done quickly. Additional obstacle was patients’ tiredness of being asked and investigated for many times. The study suggested that the strategies to improve SSC implementation were the policy enforcement and support from national level (Ministry of Public Health, Ministry of Education) and hospital level. The SSC should be added in the training curriculum for surgeon, anesthesiologist, nurse anesthetist, and operating room nurse, and added in the key performance indicators. Other key strategies were mandatory implementation with clear operational guideline, using collaborative approach, using modern media and technology, performing public relations and campaign, training using role play and station-based model, modifying the SSC suitable for hospital’s context, giving reward, imposing some rules seriously, monitoring and feedback, and patient-involvement. Potential promotion factors were enforcement SSC implementation to the residency training center by the Royal College of Surgeons of Thailand, recognizing surgical adverse events, providing information about the benefit of SSC implementation, and building self-awareness of surgical team. Conclusion: The use and the compliance with WHO SSC in Thailand was high. The satisfaction with WHO SSC was high. The obstacles of SSC implementation were rated as weak to moderate. These included both structures and processes. The policy enforcement and support, collaborative approach, training with practice, imposing some rules, giving reward, monitoring and feedback, acknowledgement the benefit of the SSC, self-awareness of surgical team, and patient-involvement may lead to improve the use and the compliance with WHO SSC in Thailand.en_US
dc.identifier.callnoWO178 น146ก 2558
dc.identifier.contactno57-031th_TH
dc.subject.keywordการผ่าตัดth_TH
.custom.citationนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, Nongyao Kasatpibal, ยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์, Yodying Punjasawadwong, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ, Jittaporn Chitreecheur, นเรนทร์ โชติรสนิรมิต, Narain Chotirosniramit, สมใจ ศิระกมล, Somjai Sirakamon, ปาริชาติ ภัควิภาส and Parichat Pakvipas. "การใช้และการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4348">http://hdl.handle.net/11228/4348</a>.
.custom.total_download464
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year15
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2215.pdf
ขนาด: 3.542Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย