dc.contributor.author | ปาหนัน พิชยภิญโญ | th_TH |
dc.contributor.author | Panan Pichayapinyo | en_US |
dc.contributor.author | สุนีย์ ละกำปั่น | th_TH |
dc.contributor.author | Sunee Lagampan | en_US |
dc.contributor.author | ดุสิต สุจิรารัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Dusit Sujirarat | en_US |
dc.contributor.author | วันเพ็ญ แก้วปาน | th_TH |
dc.contributor.author | Wonpen Kaewpan | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-12-29T09:07:40Z | |
dc.date.available | 2015-12-29T09:07:40Z | |
dc.date.issued | 2558-12 | |
dc.identifier.other | hs2225 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4386 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อ (1) สำรวจพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็น
กลุ่มเสี่ยงต่ำ (น้อยกว่าร้อยละ 10) และกลุ่มเสี่ยงสูง (ร้อยละ 20 ขึ้นไป) ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ตามแผนภูมิทำนายการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอีก 10 ปีข้างหน้าขององค์การอนามัยโลก และ (2) ศึกษาปัจจัยสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (South-East Asia: SEAR B) โดยใช้กรอบแนวคิดแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ (PRECEDE-PROCEED Model) ซึ่งโครงการวิจัยนี้มีสองระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1: ระยะพัฒนาเครื่องมือ โดยระยะนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มด้วยการทำสนทนากลุ่ม (Focus group) กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 จำนวน 10 คน เพื่อสร้างมาตรวัด หลังจากนั้นส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาร่างเครื่องมือวิจัยด้านความสอดคล้องของเนื้อหากับคุณลักษณะหรือคำนิยามศัพท์ที่กำหนดและตามกรอบแนวคิดของแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ และได้ทำการทอดมาตรวัดในกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 คนและทำการปรับมาตรวัด
และทำการทดสอบอีกครั้งโดยการทอดมาตรวัดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 228 คน ข้อมูลที่ได้ทำ
การวิเคราะห์ด้วยสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) เพื่อพิจารณาตัดรายข้อหากไม่จำเป็นและ
กลุ่มรายข้อที่บ่งบอกว่าด้านต่างๆ ของมาตรวัด จากกระบวนการนี้ได้แบบวัดสำหรับปัจจัยสัมพันธ์จำนวน 60 ข้อและพฤติกรรมสุขภาพจำนวน 38 ข้อ
ระยะที่ 2: ระยะการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จานวน 566 คน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง (เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป) จำนวน 169 คนและกลุ่มเสี่ยงต่ำ (น้อยกว่าร้อยละ 10) จำนวน 397 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำและกลุ่มเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร การปฏิบัติพฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ผู้ป่วยเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำมีพฤติกรรมการรับประทานยาและตรวจตามนัดที่เหมาะสมกว่าผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง และปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การรับรู้อุปสรรคการในการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและแรงสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายการเกิดพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดประมาณ ร้อยละ 19 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ การออกแบบบริการควรมุ่งไปที่การเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถ
ของตนเองในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและลดการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคฯ
เป็นอันดับแรกเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในโอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและส่งผลให้
ผู้ป่วยพร้อมที่จะจัดการภาวะของโรคด้วยตนเอง และโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วย เช่น เพื่อน บุคคลในครอบครัว เป็นต้น และการจัดโปรแกรมการส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และมีทักษะในการส่งเสริมพฤติกรรมเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมอีกทางหนึ่งเช่นกัน ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยได้รับข้อมูลทางสุขภาพจากอาสาสมัครสาธารณสุขน้อยกว่าจากแหล่งอื่นๆ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เบาหวาน | th_TH |
dc.subject | diabetes | en_US |
dc.subject | โรคหัวใจ | th_TH |
dc.subject | โรคหลอดเลือด | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | ปัจจัยสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด | th_TH |
dc.title.alternative | Factors Associated with Health Behavior in Diabetic Patients with Risk of Cardiovascular Disease | en_US |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the project was to (1) conduct a baseline survey of health behavior
in type 2 diabetic patients with low risk of cardiovascular disease (CVD) (less than 10%) and
those with high risk of CVD (20% and more), according to the 10 year risk of cardiovascular
events prediction chart developed by the World Health Organization (South-East Asia: SEAR
B) and (2) explore factors associated with health behavior in type 2 diabetic patients with
risk of cardiovascular disease. The PRECEDE-PROCEED Model was used as a framework to
guide the survey development for data collection. The methods of data collection consisted
of 2 phases as follows;
The 1st Phase: The development of the survey instruments. In this phase, the data
was collected from a hospital in Samutsakorn province. At the beginning phase, focus group
was conducted in 10 type 2 diabetic patients to develop the questions, and then sent to
experts to examine how well the questions corresponded to components of The PRECEDEPROCEED
Model. The questionnaire was pilot-tested in 30 type 2 diabetic patients and
refined. To further test and refine the survey, 228 type 2 diabetic patients completed the
final version of the questionnaire. The items of the questionnaire were analyzed by using
factor analysis to determine if there were unnecessary items and identify sets of measures
reflecting different dimensions of the questionnaire. After removing or adding some items,
this process resulted in a final 60-item questionnaire for associated factors and 38-item
questionnaire for health behavior.
The 2nd Phase: The survey administration of factors related to health behavior. In this
phase, 566 type 2 diabetic patients with risk of CVD, who received treatment from a hospital
in Ayutthaya province from May to October 2014, were recruited and asked to complete the
questionnaire. These participants included 169 high risk of CVD group (20% and more) and
397 low risk of CVD group (less than 10%). The result showed that there was no significant
difference in health behavior between diabetic patients with low and high risk group. No
difference among groups in food consumption, risk behavior, and physical activity, whereas
treatment plan adherence was greater in the diabetic patients with low risk group compared
to those in the high risk group. Self-efficacy, perceived barriers, and social support were
accounted for approximately 19% of total variance in predicting health behavior. Recommendation of the study was that health service should be designed to initially
increase patients’ perception in their efficacy and reduce perception in obstacle to perform
health behavior in order to motivate their awareness in the possibility to get the
cardiovascular disease and then affect their readiness to manage their own health.
Engagement of patients’ social support should be concerned when conducting the lifestyle
modification program including family members and friends. Knowledge and health
promotion skill improvement program for health volunteer should be established due to
the findings that information availability from them was the least compared to those from
another resource. | en_US |
dc.identifier.callno | WK810 ป571ป 2558 | th_TH |
dc.identifier.contactno | 57-045 | en_US |
.custom.citation | ปาหนัน พิชยภิญโญ, Panan Pichayapinyo, สุนีย์ ละกำปั่น, Sunee Lagampan, ดุสิต สุจิรารัตน์, Dusit Sujirarat, วันเพ็ญ แก้วปาน and Wonpen Kaewpan. "ปัจจัยสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4386">http://hdl.handle.net/11228/4386</a>. | |
.custom.total_download | 1960 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 6 | |
.custom.downloaded_this_year | 46 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 9 | |