dc.contributor.author | จิระวัฒน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jirawat Panpiemras | th_TH |
dc.contributor.author | บุญวรา สุมะโน | th_TH |
dc.contributor.author | Boonwara Sumano | th_TH |
dc.contributor.author | ภัทรวลัย ตลึงจิตร | th_TH |
dc.contributor.author | Pattarawalai Talungchit | th_TH |
dc.contributor.author | บวรศม ลีระพันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Borwornsom Leerapan | th_TH |
dc.contributor.author | เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Penprapa Siviroj | th_TH |
dc.contributor.author | ยุทธพงศ์ วงศ์สวัสดิวัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Yuttapong Wongswadiwat | th_TH |
dc.contributor.author | ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล | th_TH |
dc.contributor.author | Paiboon Suriyawongpaisarn | th_TH |
dc.contributor.author | วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Vorasit Sornsrivichai | th_TH |
dc.contributor.author | พยอม ถิ่นอ่วน | th_TH |
dc.contributor.author | Payom Tin-uan | th_TH |
dc.contributor.author | ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช | th_TH |
dc.contributor.author | Thananan Rattanachotphanit | th_TH |
dc.date.accessioned | 2016-01-18T07:17:59Z | |
dc.date.available | 2016-01-18T07:17:59Z | |
dc.date.issued | 2558-02 | |
dc.identifier.other | hs2222 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4388 | |
dc.description.abstract | นโยบายเขตบริการสุขภาพ ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2555 นับเป็นอีกก้าวแห่งความพยายามพัฒนาระบบบริการสุขภาพในขอบเขตความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข ภายหลังความพยายามซึ่งมีมาเป็นระลอก ดังตัวอย่างนโยบายพัฒนาบริการสาธารณสุข (พบส.) ในอดีตเมื่อกว่าสองทศวรรษมาแล้ว ความพยายามครั้งนี้ แตกต่างจากในอดีตตรงที่ฝ่ายนโยบายมุ่งหมายให้กลุ่มจังหวัดหรือเขตบริการสุขภาพพึ่งตนเองด้านการรักษาพยาบาลให้ได้มากที่สุด นั่นคือพยายามลดการส่งต่อคนไข้ออกนอกเขต ขณะเดียวกันการดำเนินนโยบายลักษณะทำไปคิดไปปรับไป ได้เกิดแนวคิดล่าสุดที่จะจัดตั้ง national health authority เพื่อยกระดับความเป็นเอกภาพในระบบบริการสุขภาพทั้งประเทศ นอกจากนั้นการดำเนินนโยบายเป็นไปท่ามกลางความผันผวนทางการเมืองและการบริหารในประเทศและภายในกระทรวงสาธารณสุขเอง (ที่เด่นชัดคือความขัดแย้งระหว่างผู้กำหนดนโยบายกระทรวงสาธารณสุขกับแพทย์ชนบทจำนวนหนึ่ง วิกฤตรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557) จนทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหมดวาระลงก่อนกำหนดภายหลังการรัฐประหารเมื่อ 22 พฤษภาคม2557 รายงานนี้นำเสนอผลการติดตามนโยบายเขตบริการสุขภาพ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ 3 ประการสำคัญ ได้แก่ 1. เพื่อประเมินความเข้าใจต่อแนวคิดเขตสุขภาพ และ service plan ของผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนการสนับสนุนเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว 2. เพื่อศึกษาและพัฒนาองค์ประกอบของภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลในการพัฒนาการบริหารจัดการระบบซื้อบริการและจัดบริการสุขภาพในระดับเขตทั้ง 13 เขต 3. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความเป็นธรรม ในการจัดสรรทรัพยากรของส่วนกลาง รวมถึงการซื้อและจัดบริการสุขภาพของพื้นที่ทั้ง 13 เขต โดยเก็บข้อมูลด้วย 4 วิธี ได้แก่ ก) การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้นกว่า 100 คน ได้แก่ บุคคลประเภทต่อไปนี้ ผู้ตรวจราชการในฐานะซีอีโอของแต่ละเขต chief officers, regulators ทีมสำนักงานเขตบริการสุขภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และทีม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) และทีม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และทีม แพทย์เฉพาะสาขาซึ่งได้รับมอบหมายเป็นประธาน service plan สาธารณสุขอำเภอ พยาบาลและเภสัชกร รพศ./รพท. กรรมการคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต (อปสข.) บุคลากรประจำศูนย์วิชาการเขตของกรม ข) สังเกตการประชุมคณะทำงานของเขตบริการสุขภาพและ อปสข. รวมกัน 8 ครั้ง และการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเขต เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 ค) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณของ สปสช. ง) การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง รายงานแยกเป็นสามบท บทที่ 1 ตอบสามวัตถุประสงค์ดังกล่าว บทที่ 2 กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงภายหลังการดำเนินนโยบายเขตบริการสุขภาพ ประกอบด้วย ผลการถ่ายทอดนโยบายในภาพรวมและกรณีศึกษา 4 กรณี ได้แก่ ก) บริการผู้บาดเจ็บ/ห้องฉุกเฉิน/บริการกู้ชีพ ข) บริการควบคุมป้องกันเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ค) การติดเชื้อ HIV/Aids ของกลุ่มวัยทำงาน ง) ทารกแรกเกิดที่มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและระบบบริการสุขภาพในระดับเขต บทที่ 3 สรุปข้อค้นพบสำคัญและข้อเสนอแนะทางนโยบาย พร้อมกันนี้ รายงานยังได้รวมภาพพึงประสงค์ของระบบบริการสุขภาพระดับเขตในภาพรวม (ต่อท้ายบทสรุปสำหรับผู้บริหาร) ซึ่งได้จากนำเสนอผลการติดตามและยกร่างภาพพึงประสงค์ฯ เพื่อหารือผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวแต่แรก | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Administration | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาเพื่อการพัฒนาการจัดการระบบบริการสุขภาพในระดับเขต | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | WA541 จ524ก 2558 | |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
.custom.citation | จิระวัฒน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์, Jirawat Panpiemras, บุญวรา สุมะโน, Boonwara Sumano, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, Pattarawalai Talungchit, บวรศม ลีระพันธ์, Borwornsom Leerapan, เพ็ญประภา ศิวิโรจน์, Penprapa Siviroj, ยุทธพงศ์ วงศ์สวัสดิวัฒน์, Yuttapong Wongswadiwat, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, Paiboon Suriyawongpaisarn, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, Vorasit Sornsrivichai, พยอม ถิ่นอ่วน, Payom Tin-uan, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช and Thananan Rattanachotphanit. "การศึกษาเพื่อการพัฒนาการจัดการระบบบริการสุขภาพในระดับเขต." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4388">http://hdl.handle.net/11228/4388</a>. | |
.custom.total_download | 265 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 11 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |