Show simple item record

Situational Analysis of Difficulty in Discharging Inpatients from Tertiary Care Hospitals and Development of Guideline to Facilitate Discharge Processes and Downstream Referrals; Phase1

dc.contributor.authorภรเอก มนัสวานิชth_TH
dc.contributor.authorBhorn-ake Manasvanichen_EN
dc.contributor.authorพรเลิศ ฉัตรแก้วth_TH
dc.contributor.authorPornlert Charkaeowen_EN
dc.contributor.authorภาวิกา ศรีรัตนบัลล์th_TH
dc.contributor.authorPavika Sriratanabanen_EN
dc.contributor.authorลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากรth_TH
dc.contributor.authorLanchasak Attayakornen_EN
dc.contributor.authorทิพย์พร สงวนทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorนวรัตน์ มีถาวรth_TH
dc.contributor.authorNawarat Meethavornen_EN
dc.contributor.authorชลิดา อุทัยเฉลิมth_TH
dc.date.accessioned2016-03-24T06:51:39Z
dc.date.available2016-03-24T06:51:39Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.otherhs2242
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4416
dc.description.abstractที่มาและความสำคัญ : ในสถานการณ์ปัจจุบัน การส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลระดับตติยภูมิยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐและโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์มักมีความหนาแน่นของผู้ป่วยใน ค่อนข้างสูงโดยตลอด ทำให้ไม่สามารถรับผู้ป่วยรายอื่นรวมถึงผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อเข้าเป็นผู้ป่วยในได้ ฉะนั้นถ้าสามารถลดอัตราครองเตียงลงได้ ก็จะทำให้เกิดการรับส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัญหาความหนาแน่นของผู้ป่วยในส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้ป่วยครองเตียงนานเพราะไม่พร้อมที่จะออกจากโรงพยาบาล ซึ่งการจะลดอัตราครองเตียงลงได้นั้น ต้องเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถออกจากโรงพยาบาลเมื่อถึงเวลาอันสมควรให้ได้ก่อน วิธีดำเนินการ : เป็นการศึกษาถึงปัญหาการจำหน่ายผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขนาดใหญ่ซึ่งเน้นที่กลุ่มผู้ป่วยจำหน่ายยาก (Difficult discharge) โดยมุ่งไปที่การวิเคราะห์สถานการณ์การจำหน่ายยากและค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงสังคม งานวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน และใช้วิธีการศึกษาที่หลากหลาย ทั้งการหาข้อตกลงในกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ การออกสารวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ครอบคลุมมุมมองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง ผลการศึกษา : ส่วนที่1: เป็นการศึกษามุมมองของบุคลากรทางการแพทย์ต่อปัญหาการจำหน่ายยาก ซึ่งกลุ่ม สหสาขาวิชาชีพมองว่า ปัญหาการจำหน่ายผู้ป่วยมีทั้ง การจำหน่ายออกได้ช้า (prolonged length of stay) และ การจำหน่ายยาก (difficult discharge) ซึ่งทั้ง 2 ภาวะ เริ่มต้นเมื่อผู้ป่วยหมดข้อบ่งชี้สำหรับการรักษา acute condition แล้วเกิดความล่าช้าในการจำหน่าย แตกต่างกันที่การจำหน่ายยาก จะก่อให้เกิดความลำบากใจ (difficulty feeling) ทั้งในด้านผู้ให้การรักษา และด้านผู้ป่วยกับครอบครัว นอกจากนี้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญยังมองว่า ปัญหาการจำหน่ายยากเกิดจากปัจจัย 6 ด้าน คือ ด้านการแพทย์ ด้านผู้ป่วย ด้านครอบครัว ด้านสังคม ด้านระบบบริการสาธารณสุข และ บริบทพิเศษของแต่ละโรงพยาบาล ส่วนที่2: เป็นการศึกษาถึงขนาดของปัญหาในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยจำหน่ายยากมีอยู่ประมาณ 10% ของผู้ป่วยในทั้งหมด โดยส่วนใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เป็นผู้ป่วยอายุรกรรมโดยเฉพาะกลุ่มโรคมะเร็งและระบบไหลเวียนเลือด และมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ โดยที่ 50% ของผู้ป่วยยังมี active medical problems อยู่ แต่ 70% ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความยากลำบากใจต่อฝ่ายผู้ให้การรักษาคือ ภาวะพึ่งพิงของผู้ป่วยและความไม่พร้อมของญาติที่จะรับผู้ป่วยกลับบ้าน ส่วนฝ่ายผู้ป่วยและครอบครัวมักเกิดความลำบากใจจากความไม่มั่นใจที่จะกลับไปดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ส่วนที่ 3: เป็นการศึกษามุมมองของผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม ต่อการนอนโรงพยาบาลและการออกจากโรงพยาบาล การศึกษาพบว่า สังคมไทยให้ความคาดหวังกับสถานพยาบาลไว้สูงมาก เชื่อมั่นว่าสามารถรักษาได้ทุกโรคและเป็นที่พึ่งหลักทางสุขภาพ ประชาชนมีภาวะพึ่งพาโรงพยาบาลสูง ทำให้เมื่อเกิดภาวะที่รักษาไม่หาย ผู้ป่วยและครอบครัวจะทำใจยอมรับได้ยาก เมื่อถึงเวลาจำหน่ายออก ด้านผู้ป่วยก็มักคิดเห็นไม่สอดคล้องกับบุคลากรการแพทย์ เพราะยังยึดติดกับการพึ่งพาโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังพบว่า สังคมไทยขาดความรู้เกี่ยวกับ palliative care และยังขาดสถานที่ที่จะช่วยรองรับปัญหาความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น chronic care facility, nursing home, หรือ hospice ส่วนที่ 4: เป็นการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และการจัดการกับปัญหาจำหน่ายยากในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ และตัวแทนของ 12 เขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ข้อคิดหลักที่พบคือ การให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และตัดสินใจในแผนการดูแลผู้ป่วยจะช่วยให้การจำหน่ายทำได้ง่ายขึ้น การมีโรงพยาบาลเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันในแต่ละเขตสุขภาพส่งผลดีต่อการจำหน่ายผู้ป่วยขาลง และ ปัญหาใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ คือ การขาดโรงพยาบาลเครือข่ายเพื่อการส่งต่อขาลงที่เป็นที่ยอมรับของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงการขาดความพร้อมของครอบครัวในการรับผู้ป่วยกลับบ้าน บทสรุป : ปัญหาการจำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิเป็นปัญหาที่พบในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทย เกิดจากหลายปัจจัยซับซ้อน ทั้งปัจจัยทางตัวโรค ทางการแพทย์ ทางผู้ป่วยและครอบครัว ทางสังคม รวมถึงทางระบบบริการสุขภาพของประเทศ การแก้ไขปัญหาการจำหน่ายต้องดำเนินการไปพร้อมกันในทุกด้าน จึงควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาแนวทางจำหน่ายผู้ป่วย เพื่อให้แต่ละโรงพยาบาลนำไปประยุกต์ใช้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการส่งต่อผู้ป่วยth_TH
dc.subjectระบบส่งต่อผู้ป่วยth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรงพยาบาล--การรับและการจำหน่ายผู้ป่วยth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์ของการไม่สามารถจำหน่ายผู้ป่วยในออกจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ และการพัฒนาแนวทางการเตรียมพร้อมจำหน่ายและส่งต่อผู้ป่วยขาลง ระยะที่ 1th_TH
dc.title.alternativeSituational Analysis of Difficulty in Discharging Inpatients from Tertiary Care Hospitals and Development of Guideline to Facilitate Discharge Processes and Downstream Referrals; Phase1en_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Patient referral to tertiary hospitals is currently problematic and faces many obstacles. At large state hospitals and teaching hospitals, consistently high inpatient occupancy rates limit the ability of the hospitals to admit new patients, including referral patients. Since the issues with high inpatient occupancy rates partially stem from patients not being ready to leave hospital care at the time of discharge and prolonging hospital stay, it is important to understand the reasons why this happens. Methodology: The study focused on cases of difficult discharges at a large tertiary hospital by analyzing the situation around the discharges and other relevant factors on the part of the hospital, the patients, their families and societal attitudes. It is divided into four parts, each with different methodologies designed to give a comprehensive view of the issues from various stakeholders: 1) compilation of consensus opinions of medical experts, 2) a survey of difficult discharges, 3) in-depth interviews, and 4) a knowledge exchange workshop. Results: Part 1: The first part of the study looked at the opinions of medical personnel towards difficult discharge cases. A multidisciplinary panel viewed the issue from two perspectives, patients with prolonged length of hospital stays and those with difficult discharges. The main difference between the two was that difficult discharge cases resulted in feelings of anxiety for the patients and other involved. The panel classified the main factors affecting difficult discharges into six categories: medical, patient, family, social, organization and health care system. Part 2: The second part of the study looks at the magnitude of the problem at one teaching hospital in the Bangkok metropolitan area. A survey found that difficult discharges occur in about 10% of all cases, with the majority of patients being over 65 years of age and required some form of assisted living. Most were general medicine patients with cancer or circulatory system disorders and are part of a healthcare program where hospitalization costs can be reimbursed. About 50% of the difficult discharge cases still had active medical conditions, while 70% no longer needed to be treated at a tertiary hospital. The factors contributed to anxiety for medical staff in dealing with these cases include the patient’s inability to care for themselves independently, and the fact that their families are not ready to care for the patient at home. For patients and their families, their concerns stem of a lack of confidence in their ability to care for the patient at home. Part 3: The third part of the study focuses on the perspective of the patients, their families and society at large towards hospital stays and discharges. It was found that Thai society in general places high expectations on hospitals, with many holding the view that hospitals are able to treat and cure all ailments and is their primary healthcare provider. Subsequently, when faced with situations where medical conditions are not curable, patients and their families are not able to cope with the bad news. At the time of discharge, patients tend to disagree with the recommendations of the medical staff because of their dependency on hospital care. In addition, the Thai public lacks knowledge about palliative care and there is a general shortage facilities for alternative care such as nursing homes, hospices and chronic care facilities. Part 4: The last part of the study was a knowledge exchange workshop on the issue of difficult discharges and potential solutions for tertiary hospitals in the Bangkok metropolitan area. The workshop was conducted with representatives from the hospitals and from the staff of 12 health districts under the Ministry of Public Health. Some of the major findings from the workshop was that: 1) the participation of family members in the patient’s treatment plan helped to make the discharge process easier, 2) hospital systems working in close cooperation in each health district resulted in a more efficient discharge and referral process and 3) for Bangkok, a major problem was the lack of secondary care institutions that were acceptable for patients and their families and the family not being ready to care for the patients at home. Conclusion: The issue with difficult discharges from tertiary hospitals is widespread throughout large hospitals in Thailand. Many complex and overlapping factors contribute to the issue, including medical, patient, family, social and larger health care system factors. The solution to the problem needs coordinated steps that tackle all facets of the problem and requires further study to develop discharge protocols that can be practically applied by each hospital.en_EN
dc.identifier.callnoW64 ภ185ก 2558
dc.identifier.contactno57-109en_EN
.custom.citationภรเอก มนัสวานิช, Bhorn-ake Manasvanich, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, Pornlert Charkaeow, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์, Pavika Sriratanaban, ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร, Lanchasak Attayakorn, ทิพย์พร สงวนทรัพย์, นวรัตน์ มีถาวร, Nawarat Meethavorn and ชลิดา อุทัยเฉลิม. "การวิเคราะห์สถานการณ์ของการไม่สามารถจำหน่ายผู้ป่วยในออกจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ และการพัฒนาแนวทางการเตรียมพร้อมจำหน่ายและส่งต่อผู้ป่วยขาลง ระยะที่ 1." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4416">http://hdl.handle.net/11228/4416</a>.
.custom.total_download286
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year11
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2242.pdf
Size: 3.263Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record