dc.contributor.author | นวพรรณ เมธชนัน | th_TH |
dc.contributor.author | Nawaphan Metchanun | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-08-04T07:58:05Z | |
dc.date.available | 2016-08-04T07:58:05Z | |
dc.date.issued | 2558-06 | |
dc.identifier.other | hs2269 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4461 | |
dc.description.abstract | จากการสืบค้นข้อมูลทางวรรณกรรม การสืบค้นอย่างเจาะจงและการสัมภาษณ์พบช่องว่างทางด้านการเก็บข้อมูลและข้อมูลทางสถิติ ทั้งในเรื่องจำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยและจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ข้อมูลที่เผยแพร่อยู่ในปัจจุบันยังขาดความครบถ้วนสมบูรณ์และมีความคลุมเครือ โดยเฉพาะข้อมูลที่ปรากฏในสื่อที่เผยแพร่สู่ประชาชนโดยทั่วไป ตัวอย่างเช่น จำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยในปัจจุบันที่ถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมและสื่อต่างๆอยู่ที่ประมาณ 2-4 ล้านคน โดยส่วนใหญ่ 70-80% เป็นแรงงานชาวเมียนมา ตัวเลขดังกล่าวนี้สูงกว่าตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมแรงงานรวมสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา อย่างน้อย 500,000 คน จึงเป็นที่คาดหมายได้ว่ามีแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือแรงงานต่างชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายจำนวนมาก สถิติคนต่างด้าวที่ป่วยเป็นวัณโรคในประเทศไทยนั้นมีจำนวนต่ำกว่าสองพันคน ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่สถิติดังกล่าวจะไม่สะท้อนจำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริง ข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลในสื่อออนไลน์ตามหน้าเว็บไซท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบางส่วนขาดการอัพเดท ไม่ระบุรายละเอียดการปรับปรุงเนื้อหาล่าสุดไว้ในเว็บไซท์ของหน่วยงานประเทศไทย ทำให้ยากที่จะติดตามว่าข้อมูลมีความเป็นปัจจุบันมากน้อยเพียงใด อีกทั้งข้อมูลยังกระจัดกระจาย
แรงงานต่างด้าวจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญต่อการติดเชื้อวัณโรคและเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการติดตามตรวจคัดกรองและรักษาวัณโรคอย่างใกล้ชิด ความท้าทายของการจัดการวัณโรคนั้นเริ่มตั้งแต่การตรวจคัดกรองโรคไปจนถึงการรักษา การวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อวัณโรคให้ได้โดยเร็ว การลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ การลดอัตราการเสียชีวิต และการลดการเกิดวัณโรคดื้อยา เนื่องจากลักษณะของโรคที่ต้องการความร่วมมือทางการรักษาจากผู้ป่วยอย่างมากเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการรักษา มาตรการการคัดกรองวัณโรคในแรงงานต่างด้าวของกรมแรงงานโดยวิธีการเอ็กซ์เรย์ปอดถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจและเป็นแนวทางที่ชาติตะวันตกส่วนใหญ่ใช้ในการคัดกรองวัณโรคในคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในประเทศของตน รวมทั้งมีการตรวจเสมหะเพิ่มเติมในรายที่สงสัยว่าเป็นวัณโรค หากแต่ความแตกต่างสำคัญ คือ การคัดกรองของชาติตะวันตกมักจะทำก่อนการเดินทางเข้าประเทศ ณ ประเทศต้นทางหรืออย่างช้า คือ ที่จุดผ่านแดน ส่วนในประเทศไทยเป็นการให้แรงงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยก่อนแล้วจึงให้มีการขึ้นทะเบียนอาจมีส่วนในการสูญหายของแรงงาน ในต่างประเทศยังมีการคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคในระยะแฝงในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความชุกของวัณโรคสูง นอกจากนี้แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยยังมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่และเปลี่ยนนายจ้างบ่อยครั้งทำให้ยากต่อการติดตามเพื่อตรวจคัดกรองและการรักษาและเป็นอุปสรรคต่อความพยายามของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ๆออกตรวจคัดกรองและติดตามวัณโรค ความแตกต่างทางภาษาก็เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงมาก ร่วมกับทัศนคติของทั้งของแรงงานต่างด้าวที่มีต่อเจ้าหน้าที่ไทย ความหวาดกลัวต่อการถูกส่งกลับประเทศ และทัศนคติของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบางส่วนที่มีต่อแรงงานต่างด้าวเป็นอุปสรรคต่อการจัดการวัณโรคในแรงงานต่างด้าว
การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและทำให้ข้อมูลมีความทันสมัยเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางแผนและจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าว ในส่วนของการพัฒนาระบบข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการให้มีชุดฐานข้อมูลมาตรฐาน 43 แฟ้ม ซึ่งในส่วนแฟ้ม 19 SURVEILLANCE เป็นการจัดเก็บข้อมูลผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังที่มารับบริการ ติดตามกลุ่มอาการหรืออาการที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งอาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาต่อยอดเพื่อพัฒนาการจัดการวัณโรคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากว่าข้อมูลในระบบ 43 แฟ้มได้รับการตรวจสอบด้านคุณภาพและเที่ยงตรง ก็เป็นประโยชน์อย่างมากในเชิงนโยบาย ในส่วนนี้การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การอบรมความรู้เพื่อเพิ่มความเข้าใจถึงความสำคัญ และเป้าหมายของการจัดเก็บข้อมูลอย่างเที่ยงตรงและมีคุณภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลน่าจะช่วยลดทัศนคติเชิงลบต่อระบบการจัดเก็บข้อมูลลงได้
ปัจจุบันเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปมาก อุปกรณ์ไร้สายและแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเป็นที่แพร่หลาย ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือใช้เวลาถึง 90% ไปกับแอพพลิเคชั่น ตลาดมีการแข่งขันสูงโดยในปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นในตลาดมากกว่า 3 ล้านแอพพลิเคชั่น ประมาณ 35% ของแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ ผู้ใช้ให้เวลาในการใช้ ต่ำกว่า 1 นาทีและส่วนใหญ่ก็เป็นแอพพลิเคชั่นที่ให้ดาวน์โหลดฟรี การนำเทคโนโลยีมาผสานกับการจัดการด้านสุขภาพในเชิงระบบและการจัดการสาธารณสุขของไทยยังทำได้ไม่มากเท่าที่ควร การคิดแบบมองจากบนลงล่าง (top-down) แทนการคิดแบบมองจากล่างขึ้นบน (bottom-up) ทำให้โครงการไม่ตอบโจทย์ตลาด นอกจากนี้การพัฒนาของโครงการที่เกี่ยวข้องกับแอพพลิเคชั่นต่างๆยังขาดความต่อเนื่อง ในเชิงธุรกิจแอพพลิเคชั่นถือเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่ง ซึ่งแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นเริ่มตั้งแต่การค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การวิจัยทางการตลาดเข้ามาช่วย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ การออกผลิตภัณฑ์โดยขาดการสำรวจตลาดก่อนนั้นลดโอกาสในการประสบความสำเร็จของแอพพลิเคชั่นลง นอกจากนี้การประเมินศักยภาพแอพพลิเคชั่นเพื่อนำมาพัฒนาควรอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจในขั้นตอนการใช้งานแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค โอกาสในการทำตลาดและผลตอบแทนต่อหน่วยลงทุนที่ประเมินออกมาในเชิงปริมาณและคุณภาพ
การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในจัดการวัณโรคในปัจจุบันที่มีในต่างประเทศถูกพัฒนาด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การอนามัย (WHO), USAID และ STOP TB Partnership โดยตามแนวทางการยุติวัณโรคขององค์การอนามัยโลก ระบบสุขภาพแบบดิจิตอลเป็นหนึ่งในขอบข่ายการทำงานซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดเป็นสิ่งจำเป็นในส่วนของนวัตกรรมทีจะเปลี่ยนแปลงการป้องกันและดูแลวัณโรคอย่างรวดเร็ว เช่น ซึ่งในส่วนของแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยติดตามการรักษาวัณโรคโดยการควบคุมการกินยา (Directly Observed Treatment, DOT) และระบบการเฝ้าระวังและติดตามเพื่อเข้ามาช่วยในการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับวัณโรคในผู้ป่วยในพื้น ซึ่งการผสมผสานเทคโนโลยีดังกล่าวในการจัดการวัณโรคในประเทศไทยยังสามารถเพิ่มขอบข่ายและความครอบคลุมได้อีกมาก การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการควบคุมและป้องกันวัณโรคควรเน้นความร่วมมือทั้งระหว่างหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การทำงานสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | วัณโรค | th_TH |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว | th_TH |
dc.subject | วัณโรค -- การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) | th_TH |
dc.title | แผนสืบค้นและทบทวนข้อมูลเพื่อใช้เป็นบริบทในการทำความเข้าใจสถานการณ์วัณโรคในแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยและเพื่อหาแนวทางการประเมินและพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ | th_TH |
dc.title.alternative | Scoping Review for Understanding Tuberculosis Situation in Immigrant Laborers in Thailand and Mobile Application’s Potential Evaluation | en_US |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | WF200 น297ผ 2559 | |
dc.identifier.contactno | 59-015 | |
dc.subject.keyword | แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ | th_TH |
.custom.citation | นวพรรณ เมธชนัน and Nawaphan Metchanun. "แผนสืบค้นและทบทวนข้อมูลเพื่อใช้เป็นบริบทในการทำความเข้าใจสถานการณ์วัณโรคในแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยและเพื่อหาแนวทางการประเมินและพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4461">http://hdl.handle.net/11228/4461</a>. | |
.custom.total_download | 256 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 13 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |