Show simple item record

การพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายแบบเบ็ดเสร็จ บนอินเตอร์เน็ต

dc.contributor.authorพินิจ ฟ้าอำนวยผลth_TH
dc.contributor.authorPinij Faramnuaypholth_TH
dc.date.accessioned2016-08-16T03:13:24Z
dc.date.available2016-08-16T03:13:24Z
dc.date.issued2559-07
dc.identifier.otherhs2273
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4472
dc.description.abstractการพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายแบบเบ็ดเสร็จ บน อินเตอร์เน็ตนั้น เป็นการต่อยอดการนำเสนอข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ปี 2551-2552 ให้มีความหลากหลายของตัวแปรต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานที่กว้างขึ้น โดยสามารถเรียกใช้งานระบบได้บนอินเตอร์เน็ต ขั้นตอนในการพัฒนา ประกอบด้วย การศึกษาตัวแปรที่มีการรวบรวมในการสำรวจ แบ่งเป็นกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป และกลุ่มเด็ก 1-14 ปี นำมาคัดเลือกและจัดหมวดหมู่ เพื่อกำหนดเป็นตัวแปรสำหรับเตรียมฐานข้อมูล แล้วทำการออกแบบระบบแสดงผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) การนำเสนอข้อมูลผลลัพธ์ ที่เป็นค่าสัดส่วน (proportion) สัดส่วนหลายกลุ่ม (multinomial proportion) และค่าเฉลี่ย (mean) จำแนกตามตัวแปรแบบกลุ่ม (categorical variable) ที่เป็นตัวแปรคุณลักษณะ (characteristic) หรือตัวแปรผลลัพธ์ (outcome) 1-2 ตัว (2) การนำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ระดับบุคคล (correlation) ระหว่างตัวแปรคุณลักษณะ หรือตัวแปรผลลัพธ์ ที่เป็นค่าต่อเนื่อง (continuous variable) 1 คู่ โดยสามารถกรองตามค่าของตัวแปรแบบกลุ่ม 1 ตัว และจำแนกตามตัวแปรแบบกลุ่มอีก 1 ตัว และ (3) การนำเสนอข้อมูลการกระจายของตัวอย่าง (distribution) ตามตัวแปรแบบกลุ่ม ที่เป็นตัวแปรคุณลักษณะ หรือตัวแปรผลลัพธ์ 1-2 ตัว ทั้งนี้ข้อมูล ผลลัพธ์สำหรับรูปแบบที่ 1 มีจำนวน 21 หมวด 103 รายการสำหรับผู้ใหญ่ และ 10 หมวด 30 รายการสำหรับเด็ก ตัวแปรแบบกลุ่มที่ใช้ในรูปแบบที่ 1-3 มีจำนวน 27 หมวด 106 ตัวสำหรับผู้ใหญ่ และ 19 หมวด 63 ตัวสำหรับเด็ก และตัวแปรค่าต่อเนื่องที่ใช้ในรูปแบบที่ 2 มีจำนวน 12 หมวด 35 ตัวสำหรับผู้ใหญ่ และ 8 หมวด 23 ตัวสำหรับเด็ก จากนั้นจึงทำการประมวลผลข้อมูลให้สอดคล้องกับรูปแบบการนำเสนอข้อมูลแต่ละรูปแบบ สุดท้ายจึงทำการพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยใช้เครื่องมือสารสนเทศในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของกราฟ (data visualization) ที่ผู้ใช้สามารถเลือกและกำหนดตัวแปรต่างๆ ได้ตามความต้องการ รวมถึงการส่งออกกราฟและตารางในการนำไปใช้งานต่อ จากการพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลการสำรวจสุขภาพโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 บนอินเตอร์เน็ต พบว่ามีความเป็นไปได้ในการขยายผลและต่อยอดการพัฒนาไปสู่ข้อมูลการสำรวจสุขภาพโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 โดยสามารถเพิ่มรูปแบบการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5 เพื่อดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ จากความหลากหลายของการเลือกข้อมูลและตัวแปรต่างๆ ในการแสดงผล จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ในหลายลักษณะ ได้แก่ การชี้กลุ่มประชากรเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมายของปัญหาสุขภาพ การติดตามความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพและบริการสุขภาพระหว่างกลุ่มประชากร การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยง และระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับผลลัพธ์สุขภาพ และการสร้างคำถามและสมมติฐานในการวิจัย เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสารสนเทศทางการแพทย์th_TH
dc.subjectสถิติสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการตรวจสุขภาพth_TH
dc.subjectสุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายแบบเบ็ดเสร็จ บนอินเตอร์เน็ตth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeDevelopment of an integrated data visualization system for health examination survey data on the internet is an extension of data presentation and utilization of the 4th national health examination survey during 2008-2009 by increasing the variety of variables used in the system for responding to wider demand of users and providing more accessibility of data via the internet. Steps of development started with the study of variables collected in the survey for adults aged >= 15 years and children aged 1-14 years followed by selecting and grouping of variables for preparing dataset used in the next steps. Design of data presentation and visualization composed of 3 models. The first model is the presentation of outcome measures including proportion, multinomial proportion and mean divided by 1-2 categorical variables which can be either characteristic or outcome data. The second model is the presentation of correlation pattern at individual level between a pair of continuous variables which can be either characteristic or outcome data and can be filtered by one categorical variable and disaggregated by another categorical variable. The third model is the presentation of distribution pattern of samples divided by 1-2 categorical variables which can be either characteristic or outcome data. The number of outcome measures for the first model is 103 in 21 groups for adult and 30 in 10 groups for children. The number of categorical variables for all models is 106 in 27 groups for adult and 63 in 19 groups for children. The number of continuous variables for the second model is 35 in 12 groups for adult and 23 in 8 groups for children. The next step was data processing for each data presentation model. This process provided summary data or corresponding data for each model. Finally, the data visualization on the internet was designed and developed using appropriated data visualization tools. Users can select the variables to generate the graphical presentation as demanded and can export graph to image file and excel table for further usage. The result of development of data presentation and visualization for the 4th national health examination survey data showed the possibility to extend to the 5th national health examination data with one more model for comparing the 4th survey data with the 5thsurvey data to show the changing trend overtime. Moreover, from the variety of outcome measures and variables selected in the system, this system can provide various objectives of data utilization including targeting population and area target, monitoring disparity of health and health care among population, exploring relationship among risks and between risks and outcomes, and building new research question and hypothesis.th_TH
dc.identifier.callnoW26.5 พ685ก 2559
dc.identifier.contactno58-041
.custom.citationพินิจ ฟ้าอำนวยผล and Pinij Faramnuayphol. "การพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายแบบเบ็ดเสร็จ บนอินเตอร์เน็ต." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4472">http://hdl.handle.net/11228/4472</a>.
.custom.total_download115
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs2273.pdf
Size: 9.917Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record