dc.contributor.author | จันทนา อึ้งชูศักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | ชื่นตา วิชชาวุธ | th_TH |
dc.contributor.author | ฉวีวรรณ ภักดีธนากุล | th_TH |
dc.contributor.author | อัญชลี เนาวรัตน์โสภณ | th_TH |
dc.contributor.author | วรางคณา เวชวิธี | th_TH |
dc.contributor.author | ศุภลักษณ์ เข็มทอง | th_TH |
dc.contributor.author | สุณี วงศ์คงคาเทพ | th_TH |
dc.contributor.author | สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา | th_TH |
dc.contributor.author | รัชนี ลิ้มสวัสดิ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2016-08-25T06:55:47Z | |
dc.date.available | 2016-08-25T06:55:47Z | |
dc.date.issued | 2559-07 | |
dc.identifier.isbn | 9789742992408 | |
dc.identifier.other | hs2266 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4518 | |
dc.description.abstract | การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปากและฟันที่สะอาดจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบาย ไม่เจ็บปวด ไม่มีกลิ่นปาก กินอาหารได้ตามปกติ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โดยเฉพาะปัญหาปอดติดเชื้อจากการสำลัก (aspiration pneumonia) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ มีผลสรุปจากงานวิจัยที่พบว่าหากทำความสะอาดช่องปากดีขึ้น อาจลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะปอดอักเสบของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราได้ 1 ใน 10 ดังนั้นการดูแลช่องปากอย่างดีจะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขและส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมอีกด้วย ผู้สูงอายุติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อาจมีอาการกลืนลำบากหรือสำลักง่าย จึงต้องให้อาหารทางสายยางหรือใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้สูงอายุอาจปากแห้งหรือมีแผลในปาก การทำความสะอาดปากและฟันจึงต้องอาศัยเทคนิค การจัดท่าทาง หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นพิเศษ ผู้ดูแลควรทำความสะอาดปากและฟันของผู้สูงอายุทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้มักเผชิญอาการเจ็บป่วยหลายอย่างพร้อมกัน ดังนั้นการดูแลสุขอนามัยในช่องปากจึงถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ต้องบูรณาการควบคู่ไปกับการดูแลทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและการวางแผนร่วมกันจากหลายฝ่าย ทั้งจากทีมบุคลากรสาธารณสุขและจากคนในครอบครัวหรืออาสาสมัครซึ่งคอยดูแลผู้สูงอายุเป็นประจำ การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหรือผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในระบบการดูแลระยะยาว (longterm care) ซึ่งเป็นบริการสาธารณสุขและบริการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ประสบภาวะยากลำบากเพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิตประจำวัน โดยแบ่งเป็นรูปแบบทางการ คือดูแลโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขและสังคม กับรูปแบบไม่เป็นทางการ คือดูแลโดยครอบครัว อาสาสมัคร เพื่อน และเพื่อนบ้านคู่มือนี้จัดทำขึ้นสำหรับผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (care manager) ระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการดูแลช่องปากของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านกับกลุ่มติดเตียงซึ่งต่างมีเงื่อนไขเฉพาะตัว และสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--การดูแลและสุขวิทยา | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--การดูแลทันตสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | คู่มือการดูแลผู้สูงวัย : ช่องปากสุขี | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | WT100 จ246ค 2559 | |
dc.identifier.contactno | 58-057 | |
.custom.citation | จันทนา อึ้งชูศักดิ์, ชื่นตา วิชชาวุธ, ฉวีวรรณ ภักดีธนากุล, อัญชลี เนาวรัตน์โสภณ, วรางคณา เวชวิธี, ศุภลักษณ์ เข็มทอง, สุณี วงศ์คงคาเทพ, สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา and รัชนี ลิ้มสวัสดิ์. "คู่มือการดูแลผู้สูงวัย : ช่องปากสุขี." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4518">http://hdl.handle.net/11228/4518</a>. | |
.custom.total_download | 1031 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 10 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |