dc.contributor.author | สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ | th_TH |
dc.contributor.author | มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2016-09-26T07:18:37Z | |
dc.date.available | 2016-09-26T07:18:37Z | |
dc.date.issued | 2559-06 | |
dc.identifier.issn | 9786169261810 | |
dc.identifier.other | hs2289 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4561 | |
dc.description.abstract | การติดตามประเมินผลชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ ดำเนินการใน 3 จังหวัด (เชียงใหม่ ขอนแก่น และพิษณุโลก) และมีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และ 2) โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการช่องปากของคนพิการ ดำเนินการใน 6 จังหวัด (ขอนแก่น หนองบัวลำภู อุบลราชธานี นครราชสีมา สงขลา และน่าน) มีชมรมทันตกรรมสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ ทั้งสองโครงการได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานสร้างเสริมสมรรถนะบุคคลและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำเนินชีวิตในสังคมที่พึ่งพาตนเองได้ ที่บริหารแผนฯ โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ สนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การดำเนินการโครงการนี้ เริ่มช่วงเดือนกรกฎาคม 2557 - กันยายน 2558 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อติดตามการบรรลุเป้าหมาย และปัญหาอุปสรรคของชุดโครงการฯ 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาและผลลัพธ์การเข้าถึงการดูแลสุขภาพช่องปากของคนพิการในพื้นที่ปฏิบัติการ และ 3) เพื่อสังเคราะข้อเสนอในการปรับปรุงทิศทางและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในระยะต่อไป โดยเก็บข้อมูลจากคนพิการและผู้ดูแล ทันตบุคลากร นิสิตนักศึกษาทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานภายใต้กิจกรรมหรือโครงการย่อยในชุดโครงการฯ วิธีการติดตามประเมินผล ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) การประเมินกระบวนการและการบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด ผลลัพธ์การเข้าถึงบริการฯ และปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานในภาพรวม 2) การถอดบทเรียนกรณีศึกษาการดำเนินงานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ 3) การสังเคราะห์ข้อเสนอในการปรับปรุงทิศทางและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในระยะต่อไป วิธีการเก็บข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) ทบทวนเอกสารโครงการ รายงาน กฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้อง 2) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการส่งแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเฉพาะทางไปรษณีย์ถึงทันตบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการและการบริการทุกคนรวม 40 คน แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป 8 ข้อ ความพึงพอใจต่อโครงการ 10 ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการต่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากคนพิการ 15 ข้อ ปัญหาอุปสรรค 5 ด้าน และข้อเสนอแนะ และ 3) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์และเข้าร่วมกิจกรรม เช่น การออกหน่วยบริการ การจัดประชุมเพื่อนำเสนอความก้าวหน้า และสรุปบทเรียน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.), มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ (มสส.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.), มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ (มสส.) | th_TH |
dc.rights | สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.), มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ (มสส.) | th_TH |
dc.subject | คนพิการ | th_TH |
dc.subject | ฟัน--การดูแลและสุขวิทยา | th_TH |
dc.subject | สุขภาพช่องปาก | th_TH |
dc.subject | บริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ทันตกรรม, บริการ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) | th_TH |
dc.title | การติดตามประเมินผลชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ | th_TH |
dc.type | Document | th_TH |
dc.identifier.callno | WU113 ก452 2559 | |
.custom.citation | สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ and มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ. "การติดตามประเมินผลชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4561">http://hdl.handle.net/11228/4561</a>. | |
.custom.total_download | 256 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 4 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |