dc.contributor.author | ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย | th_TH |
dc.contributor.author | ตวงทิพย์ ธีระวิทย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kwanpracha Chiangchaisakulthai | en_EN |
dc.contributor.author | Tuangtip Theerawit | en_EN |
dc.date.accessioned | 2016-09-27T06:49:49Z | |
dc.date.available | 2016-09-27T06:49:49Z | |
dc.date.issued | 2559-03 | |
dc.identifier.isbn | 9786161129118 | |
dc.identifier.other | hs2260 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4562 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ พยายามทบทวนสถานการณ์ข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพในประเทศไทย รวมถึงการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตัวชี้วัดกำลังคนด้านสุขภาพ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพหลากหลายแหล่ง โดยเฉพาะข้อมูลการระบุตัวบุคคลของกำลังคนด้านสุขภาพ (HRH workforce registry) แหล่งข้อมูลเหล่านี้กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในหน่วยงานของตนเอง หน่วยงานที่มีฐานข้อมูลเหล่านี้ครอบคลุมทั้งหน่วยงานที่เป็นผู้ผลิตกำลังคนด้านสุขภาพ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมกำกับมาตรฐานวิชาชีพ เช่น สภาวิชาชีพต่างๆ และหน่วยงานที่เป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐ หรือเอกชน แต่ละแหล่งข้อมูลจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนต่างๆ กัน และมีแนวโน้มสามารถพัฒนาฐานข้อมูลให้มีคุณภาพได้อีก และมีข้อสังเกตว่า ฐานข้อมูลที่มีความมั่นคง มีความครอบคลุมสูง และมีความถูกต้องของข้อมูลสูง จะเป็นฐานข้อมูลที่พัฒนาควบคู่กันกับผลประโยชน์บางประการที่เจ้าของข้อมูลได้รับ อย่างไรก็ดี ตัวชี้วัดกำลังคนด้านสุขภาพ มิได้ประกอบด้วยข้อมูลการระบุตัวบุคคลของกำลังคนด้านสุขภาพ (HRH workforce registry) เพียงอย่างเดียว หากยังประกอบไปด้วยข้อมูลมิติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ ข้อมูลแรงจูงใจในการทำงานทั้งในรูปตัวเงิน และที่ไม่ใช่ตัวเงิน (Financial and Non-financial Incentive) ข้อมูลการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร ข้อมูลการโยกย้าย ข้อมูลผลการปฏิบัติงาน ข้อมูลการออกจากงาน เป็นต้น หากแต่ในประเทศไทยมีการให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนนี้น้อย ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ขาดมิติความรอบด้านในการมองปัญหากำลังคนด้านสุขภาพ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้มีการติดตามตัวชี้วัดกำลังคนด้านสุขภาพตลอดช่วงอายุการทำงาน ( Working Life Span) เพื่อให้ประเทศสามารถมองปัญหากำลังคนด้านสุขภาพได้ครอบคลุมและรอบด้านที่สุด เพื่อประโยชน์ในการจัดระบบบริการสุขภาพแก่ประชาชนด้วยบริบทฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพที่มีอยู่ในประเทศไทย หากต้องการได้ข้อมูลตัวชี้วัดกำลังคนด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลภาพรวมกำลังคนด้านสุขภาพระดับประเทศซึ่ งมีทางเลือกในการดำเนินการประมาณ 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การพัฒนาฐานข้อมูลการระบุตัวบุคคลของกำลังคนด้านสุขภาพ (HRH workforceregistry) ระดับประเทศขึ้นมาใหม่ วิธีการนี้จะได้ข้อมูลทั้งหมดครบถ้วน หากแต่ต้องมีการลงทุนจำนวนมากและมีความยาก ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที ต้องมีการเตรียมการ ประกอบกับจำเป็นต้องมีการออกแบบระบบการจัดเก็บที่พยายามผูกโยงเข้ากับประโยชน์ที่เจ้าของข้อมูลจะได้รับ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ในการจัดเก็บข้อมูลในระยะยาว การดำเนินการทางเลือกนี้จึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ทางเลือกที่ 2 เชื่อมข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพทุกฐานข้อมูลกำลังคนของไทย ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักดังกล่าว เราย่อมจะสามารถตรวจนับ จัดกลุ่ม และคำนวณตัวชี้วัดกำลังคนด้านสุขภาพได้เกือบทุกตัว สามารถตอบตัวชี้วัดกำลังคนสุขภาพได้ตลอดช่วงอายุการทำงาน เนื่องจากเรามีข้อมูลทุกส่วน ตั้งแต่ส่วนการผลิต ส่วนของสภาควบคุมของแต่ละวิชาชีพ และส่วนของผู้ให้บริการ อย่างไรก็ดีอุปสรรคสำคัญของวิธีนี้ คือ ประเด็นการเก็บรักษาความลับของเจ้าของข้อมูล ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ซึ่งหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลทุกหน่วยงานกังวลถึงความผิดตาม พรบ.นี้ ทำให้การดำเนินการตามทางเลือกที่ 2 มีแนวโน้มเกิดขึ้นได้ยาก ทางเลือกที่ 3 นำผลรวมการนับข้อมูลกำลังคนในแต่ละเงื่อนไขจากทุกๆ ฐานข้อมูลที่มี เพื่อมาคำนวณและจัดทำรายงานภาพรวมกำลังคนด้านสุขภาพ ที่ระบุตัวชี้วัดกำลังคนด้านสุขภาพที่สำคัญๆ ได้รายงานดังกล่าวจะเป็นรายงานโดยภาพรวม ในลักษณะของ National Health Workforce Account ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลผลการแจงนับจากแต่ละฐานข้อมูลมาประกอบกัน เพื่อแสดงภาพรวมกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศ ภายใต้เงื่อนไขการยอมรับความถูกต้องในระดับหนึ่ง อาจจะประกอบร่วมกับข้อมูลการสำรวจทางสถิติที่มีอยู่ หรือที่สำรวจเพิ่มเติมข้อเสนอดังกล่าวเป็นก้าวถัดไป ที่จะต้องดำเนินการเพื่อพัฒนาให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์และส่งผลให้การบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศมีประสิทธิภาพสูงสุดเกิดประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP.) | th_TH |
dc.rights | สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health manpower | en_EN |
dc.subject | บุคลากรสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health personnel | en_EN |
dc.subject | บุคลากรทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical personnel | en_EN |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) | th_TH |
dc.title | การประเมินระบบฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตัวชี้วัดเชิงนโยบายกำลังคนด้านสุขภาพ (HRH Code Indicators) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | W76 ข215ก 2559 | |
dc.identifier.contactno | 58-025 | |
.custom.citation | ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, ตวงทิพย์ ธีระวิทย์, Kwanpracha Chiangchaisakulthai and Tuangtip Theerawit. "การประเมินระบบฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตัวชี้วัดเชิงนโยบายกำลังคนด้านสุขภาพ (HRH Code Indicators)." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4562">http://hdl.handle.net/11228/4562</a>. | |
.custom.total_download | 548 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 11 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 | |