แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

รูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลเพื่อผู้ประกันตน

dc.contributor.authorนิพิฐ พิรเวชth_TH
dc.contributor.authorถาวร สกุลพาณิชย์th_TH
dc.contributor.authorครรชิต สุขนาคth_TH
dc.contributor.authorสถาพร ปัญญาดีth_TH
dc.contributor.authorบุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณth_TH
dc.contributor.authorอุทุมพร วงษ์ศิลป์th_TH
dc.contributor.authorณัฏฐ์นิธิมา แจ้งประจักษ์th_TH
dc.date.accessioned2016-10-11T08:53:06Z
dc.date.available2016-10-11T08:53:06Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.otherhs2290
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4581
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อผู้ประกันตนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานและความเป็นไปได้ทางการเงินในการจัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคม โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การทบทวนเอกสารเกี่ยวกับรูปแบบและผลลัพธ์ของการจัดการโรงพยาบาลประกันสังคมในประเทศแม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ตลอดจนศึกษารายละเอียดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสำรวจความคิดเห็นของนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ต่อการจัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคม จำนวน 519 คน และการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโรงพยาบาลประกันสังคมต้นแบบ โดยผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดบริการสุขภาพโดยสถานพยาบาลของหน่วยงานประกันสุขภาพเองมีความเป็นไปได้ ทั้งเชิงทฤษฎี และมีการปฏิบัติจริงในหลายประเทศ เช่น ในแม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา โดยควรจัดบริการการแพทย์แบบบูรณาการ (Integrated Healthcare System) ตลอดวงจรสุขภาพ เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง 2) รูปแบบโรงพยาบาลเพื่อผู้ประกันตน พบว่าโรงพยาบาลประกันสังคมต้นแบบควรมีขนาด 150 เตียง มีบริการทางการแพทย์ทั่วไป การแพทย์เฉพาะทาง 12 สาขาหลัก สามารถคุ้มทุนได้ตั้งแต่ปีแรกของการให้บริการ และคืนทุนใน 10 ปี หากมีจำนวนผู้ประกันตนในระดับ 200,000 คน 3) ผลการสนทนากลุ่มประเด็นเฉพาะ (Focus group discussion) กับผู้แทนนายจ้างลูกจ้าง มีความเห็นพ้องกันว่า โรงพยาบาลประกันสังคมต้นแบบตามที่นักวิจัยนำเสนอมีความจำเป็นโดยเฉพาะในบางพื้นที่ ซึ่งมีผู้ประกันตนหนาแน่นแต่ขาดแคลนโรงพยาบาลคู่สัญญาหลัก หรือเกิดความแออัดในโรงพยาบาล ควบคู่ไปกับการมีมาตรการกำกับควบคุมและตรวจสอบมาตรฐานการรักษาของโรงพยาบาลคู่สัญญาในปัจจุบันให้เข้มข้นขึ้น 4) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระยะสั้น สำนักงานประกันสังคมสามารถดำเนินการโรงพยาบาลประกันสังคมได้โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย ด้วยการทำบันทึกความร่วมมือกับหน่วยราชการที่มีภารกิจการจัดบริการทางการแพทย์ สำหรับการดำเนินงานในระยะยาวต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานประกันสังคมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสำนักงานประกันสังคม, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectประกันสังคมth_TH
dc.subjectประกันสังคม--บริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectผู้ประกันตนth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleรูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลเพื่อผู้ประกันตนth_TH
dc.title.alternativeHospital management models for social security beneficiariesen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to propose a model for Social Security Hospital and its financial feasibility. Mixed method was used, which comprised review literatures, hospital management of the Mexican Social Security and the Kaiser Permanente of U.S.A, legal framework, in-depth interview, focus group, questionnaires survey from 519 members under Social Security Act on the new Social Security Hospital and financial feasibility study. The study found as follow : 1) Social security hospital is theoretically possible and well practice in the Mexico and the United State. Integrated care model should be used, which will provide patient centre care for all health services. 2) The Social Security Hospital should be 150 beds hospitals, which provide high quality of medical services include 12 specialty medical services. Quality of its hospitality service should be the same as private standard. Its revenue can cover expenditure since the first year of its operation. It needs ten years for break-event with low rate of return if there are 200,000 employees register with the hospital. 3) Focus group discussion with represent from employers and employees on the design of Social security hospital found that they agreed with the design and support the Social Security Office to invest for Social security hospital in the needed area, which has problems of overcrowded patients together with measures to improve standard and quality of care for current main contractors. 4) For short term intervention, the Social Security Office could be set up new Social Security Hospitals by contracting with Ministry of Public Health or Local Government, which have mission to provide health services However, amendment of the Social Security Act is needed in long term plan.en_US
dc.identifier.callnoW160 น619ร 2559
dc.identifier.contactno58-020
.custom.citationนิพิฐ พิรเวช, ถาวร สกุลพาณิชย์, ครรชิต สุขนาค, สถาพร ปัญญาดี, บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ, อุทุมพร วงษ์ศิลป์ and ณัฏฐ์นิธิมา แจ้งประจักษ์. "รูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลเพื่อผู้ประกันตน." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4581">http://hdl.handle.net/11228/4581</a>.
.custom.total_download159
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2290.pdf
ขนาด: 2.957Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย