แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาค่าแรงบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

dc.contributor.authorขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทยth_TH
dc.contributor.authorณิชากร ศิริกนกวิไลth_TH
dc.contributor.authorวิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัยth_TH
dc.contributor.authorประภัศสิณี โพธิ์สุวรรณth_TH
dc.date.accessioned2017-02-14T08:48:54Z
dc.date.available2017-02-14T08:48:54Z
dc.date.issued2559-11
dc.identifier.isbn9786168019092
dc.identifier.otherhs2308
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4648
dc.description.abstractโครงการศึกษาค่าแรงบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข เป็นการศึกษาที่ต้องการทราบค่าแรงจริงที่มีการจ่ายให้กับบุคคลากรด้านสุขภาพของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงสถานการณ์การจ้างงานของบุคลากรดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทยในโอกาสต่อไป ทำการศึกษาในพื้นที่ 8 จังหวัดเป้าหมายโดยการสุ่มเลือกภาคละ 2 จังหวัด บุคลากรกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสาธารณสุขด้านการแพทย์และสาธารณสุข สาขาวิชาชีพที่ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยตรง ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เก็บข้อมูลค่าแรงที่มีการจ่ายจริงให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลของตน ในเดือนมกราคม 2558 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า สามารถหาค่าแรงเฉลี่ยต่อเดือนของบุคลากรด้านสุขภาพในแต่ละวิชาชีพได้ ซึ่งพบว่าค่าแรงเฉลี่ยส่วนใหญ่มีความแตกต่างกัน แม้จะเป็นข้อมูลค่าแรงของวิชาชีพเดียวกันก็ตาม และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อค่าแรงเฉลี่ยต่อเดือนของบุคลากรด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ประเภทการจ้างงาน ประเภทวิชาชีพด้านสุขภาพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ลักษณะของโรงพยาบาลตามประเภทที่แบ่งไว้ในระเบียบค่าตอบแทนฉบับ 8 การตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน จำนวนบุคลากรประเภทเดียวกันในโรงพยาบาล จำนวนผลงานการให้บริการผู้ป่วยนอก และ ค่าเฉลี่ย Case-mix Index (CMI) (ค่าเฉลี่ย Sum Adjust RW ของผู้ป่วยในเฉลี่ยต่อรายผู้ป่วยใน) ของโรงพยาบาล ผลการศึกษาที่พบ บ่งบอกถึงลักษณะการจ่ายค่าแรง ค่าตอบแทนที่มีความหลากหลาย แม้จะอิงระเบียบ เดียวกันก็ตาม บางกรณีพบว่า ค่าแรงที่ต่างกันสอดคล้องกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากร แต่ในบางกรณีก็พบว่าค่าแรงที่แตกต่างกันโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลส่วนใหญ่จะพบว่า ค่าแรง ค่าตอบแทนของบุคลากรด้านสุขภาพส่วนใหญ่ไม่สะท้อนภาระและผลการปฏิบัติงาน ซึ่งในระยะยาวน่าจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของโรงพยาบาล ข้อเสนอแนะ กระทรวงสาธารณสุขเองควรพยายามบริหารค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าแรงให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยการพยายามพัฒนาระบบการจ่ายค่าแรง ค่าตอบแทน ที่สามารถสะท้อนผลผลิตของการทำงานได้อย่างจริงจัง ให้สัดส่วนของค่าแรงประเภทการจ่ายตามปริมาณงานเพิ่มขึ้น พยายามลดสัดส่วนค่าแรงที่แปรผันตามอายุ และค่าแรงส่วน On top ปรับปรุงและพัฒนาค่าแรงประเภทที่จ่ายตามระยะเวลาการทำงาน ให้สอดคล้องกับความยากง่ายของงาน ภาระงานที่เพิ่มขึ้น หรือคุณภาพงานที่เพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันควรให้ความสำคัญกับแรงจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินเพิ่มขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.),สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)th_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุข.th_TH
dc.subjectการบริหารค่าตอบแทนth_TH
dc.subjectการบริหารงานบุคคลth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleการศึกษาค่าแรงบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoW76 ข215ก 2559
dc.identifier.contactno59-050
.custom.citationขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, ณิชากร ศิริกนกวิไล, วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย and ประภัศสิณี โพธิ์สุวรรณ. "การศึกษาค่าแรงบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4648">http://hdl.handle.net/11228/4648</a>.
.custom.total_download328
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year53
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2308.pdf
ขนาด: 2.767Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย