Show simple item record

Tool Development and Evaluation Criteria for Assessment of Executive Function in Early Childhood

dc.contributor.authorนวลจันทร์ จุฑาภักดีกุลth_TH
dc.contributor.authorNuanchan Chutabhakdikulen_US
dc.contributor.authorPanadda Thanasetkornen_US
dc.contributor.authorOrapin Lertawasdatrakulen_US
dc.contributor.authorนุชนาฏ รักษีth_TH
dc.contributor.authorNootchanart Rukseeen_US
dc.contributor.authorปนัดดา ธนเศรษฐกรth_TH
dc.contributor.authorอรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูลth_TH
dc.date.accessioned2017-02-21T04:46:13Z
dc.date.available2017-02-21T04:46:13Z
dc.date.issued2560-01
dc.identifier.otherhs2311
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4650
dc.description.abstractการคิดเชิงบริหาร (Executive Functions) คือการทำหน้าที่ระดับสูงของสมองที่ช่วยให้เรากำกับตนเองเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่มุ่งสู่เป้าหมาย ทักษะการคิดเชิงบริหารพัฒนาอย่างมากในเด็กปฐมวัย เด็กที่มีการพัฒนาการคิดเชิงบริหารดีจะมีความพร้อมและประสบผลสำเร็จทางการเรียนมากกว่า รวมทั้งมีปัญหาพฤติกรรมน้อยกว่าด้วย ในประเทศไทยยังไม่เคยมีข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย การขาดข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาเด็กไทยให้มีทักษะการคิดและการกำกับตนเองไปสู่ความสำเร็จ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานแบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (MU.EF-101) และ แบบประเมินพฤติกรรมที่เป็นปัญหาด้านการคิดเชิงบริหาร (MU.EF-102) สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก/ครูอนุบาลใช้ประเมินเด็กในชั้นเรียน แบบประเมินทั้งสองชุดมีข้อคำถามที่ครอบคลุมทักษะการคิดเชิงบริหารทั้ง 5 ด้านคือ การยับยั้ง/การหยุด การยืดหยุ่นทางความคิด การควบคุมอารมณ์ ความจำขณะทำงาน และการวางแผนจัดการ การเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาค่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กไทยทำโดยการสุ่มอย่างง่าย เริ่มจากสุ่มศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในแต่ละภาค จากนั้นสุ่มห้องเรียนในแต่ละศูนย์ฯและสุดท้ายสุ่มจำนวนนักเรียนในแต่ละห้อง จนได้กลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 2-6 ปี จำนวน 2,965 คนจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย (เด็กชาย 51.6% เด็กหญิง 48.4%) จากนั้นให้ครูประเมินเด็กแต่ละคนด้วยแบบ MU.EF-101 และ MU.EF-102 แล้วจึงนำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อสร้างตารางเทียบคะแนนดิบเป็นคะแนน T แยกตามเพศและช่วงอายุ ผลการประเมินโดยแบบ MU.EF101 พบว่าเด็กช่วงอายุ 2-6 ปีมีคะแนนพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารดีขึ้นเรื่อยๆ ตามวัย เด็กหญิงมีพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารเร็วกว่าเด็กชาย อย่างไรก็ตามเด็กเกือบ 30% พัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารโดยรวมล่าช้ากว่าเกณฑ์เฉลี่ย (T<45) ส่วนผลประเมินโดยแบบ MU.EF102 พบว่าเด็กวัย 2-6 ปีกว่า 30% มีปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย (T>55) เด็กชายมีปัญหาพฤติกรรมมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาในการกำกับตนเอง หุนหันพลันแล่น ทำโดยไม่คิด ใจร้อนรอคอยไม่เป็น สมาธิสั้นวอกแวกง่าย ไม่สามารถทำงานที่ยากให้สำเร็จได้ ในระยะยาวจึงเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในด้านการเรียน การทำงาน การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม รวมทั้งมีโอกาสเกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา ปัญหาเด็กไทยกว่า 30% มีพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารล่าช้าจึงนับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นตัวทำนายคุณภาพของเยาวชนไทยในอีก 10-15 ปีข้างหน้าในด้านผลการเรียนรู้ระดับประเทศ อาชีพการงานและรายได้ของประชากรที่จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ปฐมวัยเป็นช่วงวัยสำคัญของชีวิตมนุษย์ในการวางรากฐานทักษะด้านการคิดและการตัดสินใจที่จะช่วยให้เขาสามารถกำกับตนเองไปสู่เป้าหมาย ทักษะเหล่านี้มีความสำคัญต่อความสำเร็จของชีวิตในระยะยาวมากกว่า IQ และการอ่านออกเขียนได้ การบวกลบเลขเป็นตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่การศึกษาและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยควรต้องเน้นส่งเสริมและพัฒนาการคิดของเด็กให้เป็นไปตามแนวทางที่สอดคล้องกับศักยภาพในการพัฒนาสมองของมนุษย์ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัยควรต้องปรับวิธีคิดและแนวทางปฏิบัติอย่างฉับไวเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่รู้จักคิด รู้จักตัดสินใจ รู้จักกำกับตนเองไปสู่ความสำเร็จพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตของโลกในศตวรรษที่ 21 และสามารถนำพาประเทศไปสู่ประเทศไทยยุค 4.0 ได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเด็กปฐมวัยth_TH
dc.subjectพัฒนาการของเด็กth_TH
dc.subjectการคิดและความคิดth_TH
dc.subjectExecutive Functionen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยth_TH
dc.title.alternativeTool Development and Evaluation Criteria for Assessment of Executive Function in Early Childhooden_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeExecutive Functions (EF) is a higher-order, self-regulatory cognitive processes that aid in the monitoring and control of our thought and action for goal-directed behaviors. EF is related more to success in school from preschool to university, than the IQ. In Thailand, there is no information regarding the current situation of EF skill in young children. The main objective of the present study is to develop tools and to construct the normative criteria for assessing EF skill in Thai preschooler age between 2-6 years. Thirty-two items of behavioral checklists that indicated development of EF related behaviors (i.e., inhibit, shift/cognitive flexibility, emotional control, working memory and plan/organize) were designed to be appropriate with the Thai social context. The behavioral checklist is friendly for teacher to observe their student’s behavior in the class room by using the rubric scales (0-5) which indicate the frequency of behaviors that has been observed during the past 3 months. For construction of the normative criteria, children age between 2-6 years (N=2,965) both boys (51.6%) and girls (48.4%) from all regions across the country were participated in this study. They were selected by 3 steps simple random sampling. First, sampling the child development centers in each region of the country, then sampling the rooms and finally sampling the number of children in each room. Teachers were asked to rate child’s behavioral in the questionnaire. Data were collected and the T scores were constructed separately by sex and age of the children using the SPSS software. Our results show that children gradually improve their behavior related with EF skill during 2-6 years old. Although boy and girls have similar development at 2-2.11 years in their behavior related to EF skill, girls are more advance in EF development than boys at the age between 3-6 years. Nearly 30% of children demonstrate the delay development in behaviors related to EF skill (T score<45). Moreover, 30% of children have behavioral problems related to EF dysfunctions (T score>55). Delay EF development and/or EF dysfunction in childhood is associated with worse inhibitory control. They were more likely to be failure or drop out of school at adolescents, and less likely to be successful as adults. Thus, a child’s level of EF in early childhood likely contributes to a trajectory of success or failure in the future. Our results suggest that delay development of EF in 30% of Thai preschooler should not be ignored as EF skill can predict the quality of Thai people in the next 10-15 years, which can hinder the country's development in the long term. It’s time to re-thinking about how to scaffold EF development in young children in order to create a new generation of Thai people who can self-directed towards the success, who have the ability to cope with the dynamics change of the world in the 21st century, and who can leads the country successfully toward the Thailand 4.0 national policy.en_US
dc.identifier.callnoWS105 น315ก 2560
dc.identifier.contactno58-040
dc.subject.keywordการคิดเชิงบริหารth_TH
.custom.citationนวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล, Nuanchan Chutabhakdikul, Panadda Thanasetkorn, Orapin Lertawasdatrakul, นุชนาฏ รักษี, Nootchanart Ruksee, ปนัดดา ธนเศรษฐกร and อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. "การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4650">http://hdl.handle.net/11228/4650</a>.
.custom.total_download1906
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year25
.custom.downloaded_fiscal_year40

Fulltext
Icon
Name: hs2311.pdf
Size: 8.537Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record