Show simple item record

Development of an immunochromatographic test for double diagnosis of Leptospirosis and Dengue fever

dc.contributor.authorวันเพ็ญ ชัยคำภาth_TH
dc.contributor.authorกนิษฐา ภัทรกุลth_TH
dc.contributor.authorนิทัศน์ สุขรุ่งth_TH
dc.contributor.authorพิสินี เอี่ยมอุไรth_TH
dc.contributor.authorสันติ มณีวัชระรังษีth_TH
dc.contributor.authorนิตยา อินทราวัฒนาth_TH
dc.contributor.authorอรภัค เรี่ยมทองth_TH
dc.contributor.authorชรินทร์ ถาวรคุโณth_TH
dc.contributor.authorอมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorธนาภัทร ปาลกะth_TH
dc.contributor.authorAlain Jacquetth_TH
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวินth_TH
dc.date.accessioned2017-03-07T04:27:38Z
dc.date.available2017-03-07T04:27:38Z
dc.date.issued2559-10-14
dc.identifier.otherhs2314
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4663
dc.description.abstractจุดประสงค์หลักของการศึกษาโครงการวิจัยนี้คือการพัฒนาชุดตรวจสำเร็จรูปในรูปแบบอิมมิวโนโครมาโทกราฟี (ICT) เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคฉี่หนู (leptospirosis) และโรคไข้เลือดออก (Dengue fever) ในลักษณะการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ โดยได้ดำเนินการพัฒนาชุดตรวจสำเร็จรูปในรูปแบบอิมมิวโนโครมาโทกราฟี เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคฉี่หนู ดังนี้ 1. การคัดเลือกคู่ของแอนติบอดีที่เหมาะสมในการตรวจแอนติเจนของเชื้อเลบโตสไปรา (โมโนโคลนาล แอนติบอดี โคลน LD5, LE1 และ LF9 จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และโคลน 3, 81 และ 82 จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 2. การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมของชุดตรวจแบบ ICT แบบ MAb1-MAb2 หรือ MAb-PAb หรือ PAb-MAb 3. ดำเนินการเก็บตัวอย่างซีรัมจากผู้ป่วยที่มีไข้ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากศาสตราจารย์แพทย์หญิง ยุพิน ศุพุทธมงคล โรงพยาบาลศิริราช และ 4. ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของชุดตรวจที่ผลิตขึ้นโดยทำการตรวจสอบกับซีรัมที่เตรียมไว้เปรียบเทียบกับผลการวินิจฉัยที่ทราบแล้ว สำหรับกิจกรรมข้อที่ 1 ดำเนินการประเมินโดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (คนกลาง) จากผลการประเมินพบว่า โมโนโคลนาล แอนติบอดีโคลน LD5 และ LE1 จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เหมาะสมในการนำไปพัฒนาชุดตรวจเชื้อเลปโตสไปรา ดังนั้น ในการพัฒนาชุดตรวจแบบ ICT คณะผู้วิจัยใช้ MAbLE1 ติดฉลากอนุภาคทองคำ และ สเปรย์ลงบน conjugate pad และ MAbLD5 สเปรย์ลงบนแผ่นเมมเบรนที่ตำแหน่ง Test line สำหรับ Control line คณะผู้วิจัยใช้ Goat anti-mouse immunoglobulin ในอีกรูปแบบหนึ่ง คณะผู้วิจัยใช้ โพลีโคลนาล แอนติบอดี จากกระต่ายที่จำเพาะกับ pathogenic Leptospira ติดฉลากกับอนุภาคทองคำ และใช้ MAbLD5 เป็น Test line และ Goat anti-mouse immunoglobulin เป็น Control line ชุดตรวจที่พัฒนาขึ้นทั้งสองรูปแบบสามารถตรวจโปรตีนของเชื้อได้ต่ำที่สุดที่ 0.375 ไมโครกรัม และจำเพาะต่อเชื้อเลปโตสไปราโดยไม่ทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียอื่น (นามาทดสอบ 27 สายพันธุ์) คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของชุดตรวจที่ผลิตขึ้นโดยทำการตรวจสอบกับซีรัมที่เตรียมไว้จำนวน 60 ตัวอย่าง โดยทราบในภายหลังว่าเป็นซีรีมจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเลปโตสไปรา จำนวน 14 ตัวอย่าง ซีรัมจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อสครัปไทฟัส 16 ตัวอย่าง และซีรัมจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกจานวน 30 ตัวอย่าง ผลการทดสอบด้วยชุดตรวจแบบ ICT พบว่าให้ผลบวกกับซีรัมจากผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเลปโตสไปราทุกตัวอย่างการทดสอบ อย่างไรก็ดี ชุดตรวจที่ผลิตขึ้นให้ผลบวกกับซีรัมผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อสครัปไทฟัส 11 จาก 16 ราย และซีรัมจากผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไข้เลือดออก 3 ใน 30 ราย จากผลดังกล่าวจะพบว่าชุดตรวจแบบ ICT ที่พัฒนามี sensitivity 100%, specificity 70%, accuracy 77% ผลลบปลอม 0% และผลบวกปลอม 30% ดังนั้น เพื่อเป็นการยืนยันผลบวกปลอมที่เกิดขึ้น คณะผู้วิจัยจึงได้นำโปรตีนที่ Test line ของ strip ที่ให้ผลบวกด้วย Leptospira ICT test kit แต่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นซีรัมของผู้ป่วยสครัปไทฟัส ไปวิเคราะห์หาโปรตีนด้วย mass spectrometry ปรากฏว่าไม่พบแอนติเจนของเชื้อสครัปไทฟัส แต่พบโปรตีนของเชื้อเลปโตสไปรา จึงทำให้เชื่อว่าผลการวินิจฉัยที่ทราบมาก่อนน่าจะไม่ถูกต้อง สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของชุดตรวจครั้งที่ 2 คณะผู้วิจัยได้รับตัวอย่างซีรัมจำนวน 248 ตัวอย่างจากศาสตราจารย์แพทย์หญิง ยุพิน ศุพุทธมงคล ผลการทดสอบพบว่า ได้ผลบวกกับเชื้อเลปโตสไปรา 201 ตัวอย่าง อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยยังไม่ได้รับผลการเปรียบเทียบจากห้องปฏิบัติการของศาสตราจารย์แพทย์หญิง ยุพิน ศุพุทธมงคล คณะวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาชุดตรวจแบบ ICT สำหรับตรวจหาเชื้อไข้เลือดออกโดยได้รับโมโนโคลนาลแอนติบอดีที่จำเพาะต่อไวรัสไข้เลือดออกจาก ดร. ชัญญา พุทธิขันธ์ จากหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ และหน่วยวิจัยไข้เลือดออก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยโมโนโคลนาลแอนติบอดี (SI4) ประกอบด้วยโมโนโคลนาลแอนติบอดี 4 ชนิด (เป็น IgG1 2 ชนิด และ IgG2b 2ชนิด) ถูกนำไปติดฉลากด้วยอนุภาคทองคำ สำหรับโมโนโคลนาลแอนติบอดี (SI1) ซึ่งเป็นชนิด IgM จะใช้เป็น Test line ส่วน Goat anti-mouse immunoglobulin จะใช้เป็น Control line เนื่องจากปริมาณของแอนติเจนและแอนติบอดีที่ใช้ในการพัฒนาชุดตรวจแบบ ICT นี้ยังไม่เพียงพอ ทำให้ชุดตรวจดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ขณะนี้ ดร. ชัญญา พุทธิขันธ์ และทีมวิจัยกำลังเตรียมแอนติเจนและแอนติบอดีให้เพียงพอต่อการนำไปพัฒนาชุดตรวจ ซึ่งจะทำให้แล้วเสร็จต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเลปโตสไปโรซิส--การรักษาth_TH
dc.subjectไข้เลือดออก--การวินิจฉัยth_TH
dc.subjectเด็งกี่--การวินิจฉัยth_TH
dc.subjectวัคซีน--วิจัยth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยหาแอนติเจนของเลปโตสไปโรซีส และไข้เด็งกี่ แบบอิมมูโครมาโทกราฟีที่ตรวจได้ทั้งสองโรคในชุดตรวจชุดเดียวth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of an immunochromatographic test for double diagnosis of Leptospirosis and Dengue feveren_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe ultimate aim of this study is to invent a ready to use immunochromatographic test (ICT) test kit for double diagnosis of leptospirosis and Dengue fever by means of antigen detection. The research activities on invention of ICT test kit for leptospirosis diagnosis were carried out sequentially which included: 1) determination of suitability of the pre-existing mouse monoclonal antibodies to Leptospira antigens (clones LD5, LE1 and LF9 from Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University and clones 3, 81, and 82 from Faculty of Medicine, Chulalongkorn University); 2) development of an ICT test kit using suitable MAb1-MAb2, MAb-PAb, or Pab-MAb format; 3) acquisition of serum samples of patients with febrile illnesses from collection of Prof. Dr. Yupin Suputthamongkol, Siriraj Hospital; and 4) validation of the ICT test kit which was performed in blinded manner in comparison to the previous laboratory and clinical diagnoses. The activity 1 was carried out by Dr. Surasak Wongrattanacheewin, Department of Microbiology, Faculty of Medicine, Khon-Kaen University (third party). It turns out that suitable monoclonal antibodies were from clones LD5 and LE1 (specific to pathogenic Leptospira) from Siriraj Hospital. Therefore, the MAbLE1 was used to conjugate with the colloidal gold particles and impregnated into the gold conjugate pad while the MAbLD5 was immobilized at the Test (T) line. Control (C) line was immobilized with goat anti-mouse immunoglobulin. Alternatively, rabbit polyclonal immunoglobulin to pathogenic Leptospira was used to conjugate with the gold particles, MAbLD5 was immobilized at the Test (T) line, and goat anti-rabbit immunoglobulin was at the Control line. Both formats of the ICT test kit had the lowest detection limit at 0.375 g of Leptospira whole cell proteins/strip. They are specific only to Leptospira and did not detect antigens of 27 other bacterial species. Sixty serum samples of patients with febrile illnesses (kept frozen) were obtained from Prof. Dr. Yupin for use for the ICT test kit validation. They were subsequently known after the ICT testing to be 14 sera diagnosed leptspirosis, 16 sera diagnosed scrub typhus, and 30 sera diagnosed Dengue viral infections. All 14 sera diagnosed leptospirosis gave positive results by the ICT test kit. Nevertheless, 11 of the 16 diagnosed scrub typhus and 3 of 30 diagnosed Dengue viral infections gave positive results by the ICT test kit. Thus, the ICT test kit shows 100% sensitivity, 70% specificity, 77% accuracy, 0% negative predictive value and 30% positive positive predictive value. It is noteworthy that, we have sent the bands at the test lines of three samples diagnosed scrub typhus which were positive by our leptospirosis ICT test kit for mass spectrometry. The results of the mass spectrometry revealed the presence of Leptospira peptides and the absence of scrub typhus antigen; implying that the original diagnosis was inaccurate. The second batch of 248 serum samples was obtained from Prof. Dr. Yupin. Among them, 201 samples were positive for leptospirosis by the ICT test kit. However, we have not obtained the diagnoses of these sera from Prof. Dr. Yupin as yet. We have prepared ICT test kit for detection of Dengue virus antigen. The monoclonal antibodies to Dengue virus were from Dr. Chanya Putthikhan, Siriraj Hospital. One MAb preparation (SI4) is a pool of 4 MAbs (2 MAbs were mouse IgG1 and the other two were IgG2b) and another MAb (SI1) is IgM. We have used the MAbSI4 to conjugate with gold particles and used the MAbSI1 at the test (T) line. Goat anti-mouse immunoglobulin were immobilized at the control (C) line. Because the supply of Dengue virus antigens and the MAbs from Dr. Chanya was inadequate for optimization of the test kit, we cannot accomplish the test kit invention as yet.en_US
dc.identifier.callnoWC422 ว425ก 2559
dc.identifier.contactno57-051
dc.subject.keywordโรคฉี่หนูth_TH
.custom.citationวันเพ็ญ ชัยคำภา, กนิษฐา ภัทรกุล, นิทัศน์ สุขรุ่ง, พิสินี เอี่ยมอุไร, สันติ มณีวัชระรังษี, นิตยา อินทราวัฒนา, อรภัค เรี่ยมทอง, ชรินทร์ ถาวรคุโณ, อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์, ธนาภัทร ปาลกะ, Alain Jacquet and สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน. "การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยหาแอนติเจนของเลปโตสไปโรซีส และไข้เด็งกี่ แบบอิมมูโครมาโทกราฟีที่ตรวจได้ทั้งสองโรคในชุดตรวจชุดเดียว." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4663">http://hdl.handle.net/11228/4663</a>.
.custom.total_download83
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs2314.pdf
Size: 1.089Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record