แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ภาระทางเศรษฐศาสตร์และการพยากรณ์โรคของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะหอบเฉียบพลันและฟังปอดพบเสียงวิ้ด (ต่อเนื่องปีที่ 2)

dc.contributor.authorภาสกร ศรีทิพย์สุโขth_TH
dc.date.accessioned2017-03-17T05:48:25Z
dc.date.available2017-03-17T05:48:25Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.otherhs2321
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4667
dc.description.abstractภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี๊ดเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในเด็ก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการประเมินต้นทุนของการรักษาภาวะดังกล่าวในเด็กก่อนวัยเรียนภายใต้มุมมองของสังคม มุมมองสถานพยาบาลและมุมมองผู้ป่วย การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากผู้ป่วย 234 รายที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และโรงพยาบาลสระบุรี โดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลการเงินของโรงพยาบาลและการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้ป่วยต้นทุนทางตรงทางการแพทย์จะถูกประมาณค่าโดยอัตราส่วนต้นทุนต่อมูลค่าเรียกเก็บของโรงพยาบาล ต้นทุนการดูแลอย่างไม่เป็นทางการของผู้ดูแลประมาณค่าด้วยวิธีแนวทางต้นทุนมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนของการนอนโรงพยาบาลในมุมมองของสังคม, สถานพยาบาล และผู้ป่วยเท่ากับ 20,269±20,537, 18,126±16,898 และ 3,119±6,655บาท ตามลำดับองค์ประกอบต้นทุนหลักคือ ต้นทุนค่าห้องและค่าอาหารระหว่างการนอนโรงพยาบาล ภาระทางเศรษฐศาสตร์สำหรับผู้ป่วยเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี๊ดที่มีการนอนโรงพยาบาลเท่ากับ 759 ล้านบาทต่อปี ภาระทางเศรษฐศาสตร์ดังกล่าวสามารถลดได้จากการลดจำนวนวันนอนและอัตราการนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี๊ดในโครงการวิจัยนี้มีอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี อายุเฉลี่ย 2.0 ปี (SD=1.3 ปี)ซึ่งรับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และโรงพยาบาลสระบุรี เป็นจำนวนทั้งสิ้น 240 ราย พบว่าเป็นเด็กชาย ร้อยละ 62.7 เคยมีประวัติหอบเหนื่อยมีเสียงวิ้ดมาก่อน ร้อยละ 59.1 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะ atopy(มีระดับ specific IgE มากกว่า 0.35 kUA/L ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป) ร้อยละ 75.5 โดยมีภาวะแพ้ต่อนมวัว มากที่สุด(ร้อยละ 52.9) รองลงมาคือไข่ขาว(ร้อยละ 37.0) พบว่าผู้ป่วยมีภาวะ vitamin D insufficiency(ระดับ 25-hydroxy-vitamin D level น้อยกว่า 30 ng/ml) ร้อยละ 24.8จาการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 12 เดือน พบว่า มีข้อมูลการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลาครบ 12 เดือนเป็นจำนวน 195 ราย คิดเป็นร้อละ 81.3 ในจำนวนนี้ มีอุบัติการณ์การนอนโรงพยาลด้วยภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี๊ดภายใน 1 ปี เป็นร้อยละ 23.2 (ช่วงแห่งความเชื่อมั่นที่ 95 % เป็น 17.5% - 30.0%) มีอุบัติการณ์ต้องเข้าสถานพยาบาลเป็นการฉุกเฉินด้วยภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี๊ดภายใน 1 ปีเป็นร้อยละ 49.7(ช่วงแห่งความเชื่อมั่นที่ 95 % เป็น 42.5% - 57.0%)th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหืดในเด็กth_TH
dc.subjectAsthma in Childrenen_EN
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleภาระทางเศรษฐศาสตร์และการพยากรณ์โรคของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะหอบเฉียบพลันและฟังปอดพบเสียงวิ้ด (ต่อเนื่องปีที่ 2)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeWheezing is an important health problem in Thailand. Estimating costs of wheezing treatment in preschool children under societal, provider and patient’s perspectives were also studied. Cost data of 234 six participants who admitted with asthma and wheezing at Thammasat hospital, King Chulalongkorn Memorial hospital, Bhumiphol hospital and Saraburi hospital were available for this analysis. Data from hospital financial database and caregivers’ expenses were collected. Cost-to-charge ratio method was employed for valuation of direct medical costs.Informal care cost was determined by human capital approach. It is found that societal, provider and patient costs per admission were 20,269±20,537, 18,126±16,898 และ 3,119±6,655THB, respectively. The main cost component in all perspective was hoteling cost during admission. The economic burden of asthma and wheezing admission of preschool children in Thailand was estimated as 759 million THB per year. To decrease length of stay and admission rate will save costs of asthma and wheezing care in preschool children. The participants in this study were 240 pediatric patients hospitalized with acute wheezing in Thammasat hospital, King Chulalongkorn Memorial hospital, Bhumiphol hospital and Saraburi hospital. The participants were boys (62.7 %), recurrent wheezing (59.1%). According to laboratory results, Atopy (specific IgE level >0.35 kUA/L of any allergens being tested) was found in 75.5 percent. He highest prevalence of hypersensitivity was cow’s milk protein (75.5%), following by egg’s white (52.9%). Vitamin D insufficiency (25-hydroxy-vitamin D level < 30 ng/ml) was found in 24.8 percent. Concerning 12 months of follow-up, completed data for analysis was available in 195 cases (81.3%). The one-year incidence of re-hospitalization with acute wheezing was 23.1 percent (95% confidence interval: 17.5% - 30.0%). The one-year incidence of emergency visits with recurrent wheezing was 49.7 percent (95% confidence interval: 42.5% - 57.0%).en_EN
dc.identifier.callnoWF553 ภ493ภ 2559
dc.identifier.contactno59-009
.custom.citationภาสกร ศรีทิพย์สุโข. "ภาระทางเศรษฐศาสตร์และการพยากรณ์โรคของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะหอบเฉียบพลันและฟังปอดพบเสียงวิ้ด (ต่อเนื่องปีที่ 2)." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4667">http://hdl.handle.net/11228/4667</a>.
.custom.total_download82
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2321.pdf
ขนาด: 475.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย