Show simple item record

The use of F-18 florbetapir (F-18-AV-45) PET to assess brain amyloid deposition in Alzheimer’s disease, mild cognitive impairment and normal aging

dc.contributor.authorธัญญลักษณ์ เธียรธัญญกิจth_TH
dc.contributor.authorTanyaluck Thientunyakiten_EN
dc.contributor.authorวีรศักดิ์ เมืองไพศาลth_TH
dc.contributor.authorWeerasak Muangpaisanen_EN
dc.contributor.authorอรสา ชวาลภาฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorOrasa Chawalpariten_EN
dc.contributor.authorรุจพร ชนะชัยth_TH
dc.contributor.authorRujaporn Chanachaien_EN
dc.contributor.authorจักรมีเดช เศรษฐนันท์th_TH
dc.contributor.authorChakmeedaj Sethanandhaen_EN
dc.contributor.authorยุทธพล วิเชียรอินทร์th_TH
dc.contributor.authorYudthaphon Vichianinen_EN
dc.contributor.authorกันตรัตน์ อรุณรุ่งวิเชียรth_TH
dc.contributor.authorKuntarat Arunrungvichianen_EN
dc.date.accessioned2017-04-26T04:07:27Z
dc.date.available2017-04-26T04:07:27Z
dc.date.issued2559-11
dc.identifier.otherhs2327
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4688
dc.description.abstractภูมิหลังและที่มา อุบัติการณ์ของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และจะเป็นปัญหาที่สำคัญของเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาประเทศ การวินิจฉัยอาการและอาการแสดงทางคลินิกอาจยังไม่เพียงพอ ดังนั้น การตรวจการสะสมของ Aβ ในสมองได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มจึงมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การวินิจฉัยโรค, การระบุประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค, การวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยรวมทั้งโอกาสในการคิดค้นวิธีการหรือยาในการรักษาหรือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในอนาคต วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประโยชน์ของการตรวจการสะสมของ Aβ ในสมองโดยอาศัยการตรวจเพทสแกนด้วยสารเภสัชรังสี ในประชากรตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วย Alzheimer’s disease, ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อยของการรู้คิดสมองและผู้สูงอายุปกติ รวมทั้งศึกษาความสอดคล้องของปริมาณการสะสม Aβ ในสมองจากผลการตรวจเพทสแกนด้วย F-18 flobetapir กับระดับความผิดปกติของความสามารถสมองจากผลการประเมินทางจิตประสาท รวมทั้งผลตรวจภาพสมองด้วย MRI และเพทสแกนด้วยสารเภสัชรังสี F-18 FDG และศึกษาความสัมพันธ์ของผลการตรวจเพทสแกนด้วย F-18 flobetapir กับการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถสมอง ตลอดจนผลการเปลี่ยนแปลงจากการตรวจภาพสมองด้วย MRI และเพทสแกนด้วยสารเภสัชรังสี F-18 FDG วิธีการศึกษา 1)การสังเคราะห์สารเภสัชรังสี F-18 flobetapir และ 2) การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัคร 43 รายที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีระดับความรู้คิดสมองปกติ (HC) 22 ราย ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อยของการรู้คิดสมอง (MCI) 12 รายและผู้ป่วยอัลไซเมอร์ (AD) 9 รายตามเกณฑ์การวินิจฉัยทางคลินิก อาสาสมัครทุกรายจะได้รับการตรวจประเมินทางคลินิก การทำแบบทดสอบทางจิตประสาท การตรวจภาพ MRI สมอง การตรวจเพทสแกนสมองด้วย F-18 FDG และ F-18 flobetapir ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยภาพการตรวจสมองต่างๆจะถูกนำมาวิเคราะห์ผลด้วย visual และ quantitative analysis ผลการศึกษา สารเภสัชรังสี F-18 flobetapir ที่สังเคราะห์ได้มีคุณสมบัติทางกายภาพเทียบเคียงกับสารต้นแบบ โดยมี Radiochemical yield ประมาณ 20%, pH = 6, ค่าครึ่งชีวิต 115.66 นาที, Radiochemical purity > 95%, Sterility และ Pyrogenicity ผ่านเกณฑ์มาตรฐานยาฉีด ปัจจุบันการผลิต 1 ครั้งใช้ตรวจผู้ป่วยได้ประมาณ 3 ราย ผลการศึกษาทางคลินิกเบื้องต้นในอาสาสมัคร 17 รายที่ได้รับการตรวจและวิเคราะห์ผลการตรวจครบถ้วนจากทั้งหมด 43 รายที่รับเข้าโครงการ พบว่าผลการตรวจเพทสแกนด้วย F-18 flobetapir ในอาสาสมัคร 16 ราย (94.12%) มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยทางคลินิกและผลทดสอบทางจิตประสาท ส่วนผลการตรวจด้วย MRI สมอง (Schelten’s rating scale) และการตรวจเพทสแกนด้วย F-18 FDG มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยทางคลินิกและผลทดสอบทางจิตประสาทเท่ากับ 13 ราย (76.47%) และ 15 ราย (88.24%) ตามลำดับ ส่วนผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ F-18 flobetapir กับการตรวจอื่นๆ พบว่า F-18 flobetapir ให้ผลตรงกับผลทดสอบทางจิตประสาท 16 ราย (94.12%), MRI 12 ราย (70.59%) และ F-18 FDG 16 ราย (94.12%) โดยไม่พบว่ามีอาสาสมัครรายใดที่แสดงอาการข้างเคียงจากการตรวจ สรุป ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าการตรวจอะมัยลอยด์เพทสแกนด้วย F-18 flobetapir มีความสัมพันธ์กับผลการวินิจฉัยทางคลินิกและผลการทดสอบทางจิตประสาทเป็นอย่างมากและมากกว่าการตรวจด้วย F-18 FDG และความผิดปกติทางกายวิภาคจาก MRI ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างอะมัยลอยด์เพทสแกนและการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถสมอง รวมทั้งการตรวจ MRI และF-18 FDG ยังต้องรอการติดตามผลต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสมองเสื่อมth_TH
dc.subjectอัลไซเมอร์th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleประโยชน์ของการตรวจเพทสแกนด้วย F-18 florbetapir (F-18-AV-45) เพื่อประเมินการสะสมของ amyloid ในสมองในผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์, ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อยของความสามารถของสมองและผู้สูงอายุปกติth_TH
dc.title.alternativeThe use of F-18 florbetapir (F-18-AV-45) PET to assess brain amyloid deposition in Alzheimer’s disease, mild cognitive impairment and normal agingen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction The incidence of dementia in elderly population, aged 60 year or older, has been rapidly increasing. Dementia causes significant negative impacts on quality of lives, both in patients and families, constituting a huge socioeconomic burden and drawback in country’s development. Current diagnostic approach based on clinical symptoms and signs may not sufficient. Thus, early detection of amyloid deposition in the brain may play important role in accurate diagnosis, identifying patients at risk, planning for patient management and also leading to development the drug or procedure aimed for therapy or prevention of dementia. Objectives To evaluate the use of F-18 amyloid PET scan in assessing brain amyloid deposition in Alzheimer’s disease, mild cognitive impairment and normal aging and the correlation between brain amyloid deposition in PET scan and results from neuropsychological test, MRI brain and F-18 FDG PET scan. We also aimed to evaluate the correlation between amyloid PET scan results and changes in neuropsychological test, MRI brain and F-18 FDG PET scan results. Methods 1) Synthesis of F-18 flobetapir PET tracer 2) Initial clinical study in 43 eligible subjects including 22 normal elderly controls (HC), 12 MCI patients and 9 AD patients according to clinical diagnosis. All subjects were assessed by 1) clinical signs and symptoms and neuropsychological test, brain MRI, F-18 FDG PET and F-18 flobetapir PET scan of the brain within 6-week period. The images were then analyzed using visual and quantitative analyses. Results The semi-automated synthesized F-18 flobetapir demonstrated equivalent characteristics to those of reported original compound; radiochemical yield of approximately 20%, pH of 6, half-life of 115.66 minutes, radiochemical purity > 95%, sterility and pyrogenicity were equivalent to drug for injection standard. Each synthesis could serve approximately 3 patients. Preliminary results of the clinical study in 17 of 43 eligible volunteers who had completed study protocol and test analysis found that F-18 flobetapir results in most of volunteers (n = 16 (94.12%) corresponded to the clinical diagnosis and neuropsychological test results, while MRI (Schelten’s rating scale) and F-18 FDG PET scan results corresponded with clinical diagnosis and neuropsychological test in 13 (76.47%) and 15 (88.24%) volunteers, respectively. The correlation of results between F-18 flobetapir and other tests showed that F-18 flobetapir tended to correlate with neuropsychological test in 16 (94.12%), MRI in 12 (70.59%) and F-18 FDG in 16 (94.12%) volunteers. So far, there was no detectable adverse effect in any subject. Conclusion Our preliminary results found a very high correlation between amyloid PET scan using F-18 flobetapir and clinical diagnosis and neuropsychological test results, which was higher than in F-18 FDG PET and anatomical abnormality detected by MRI, respectively. However, correlation between amyloid PET scan results and changes in neuropsychological test, MRI brain and F-18 FDG PET scan results are still needed to be followed.en_EN
dc.identifier.callnoWM220 ธ454ป 2559
dc.identifier.contactno58-036
.custom.citationธัญญลักษณ์ เธียรธัญญกิจ, Tanyaluck Thientunyakit, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, Weerasak Muangpaisan, อรสา ชวาลภาฤทธิ์, Orasa Chawalparit, รุจพร ชนะชัย, Rujaporn Chanachai, จักรมีเดช เศรษฐนันท์, Chakmeedaj Sethanandha, ยุทธพล วิเชียรอินทร์, Yudthaphon Vichianin, กันตรัตน์ อรุณรุ่งวิเชียร and Kuntarat Arunrungvichian. "ประโยชน์ของการตรวจเพทสแกนด้วย F-18 florbetapir (F-18-AV-45) เพื่อประเมินการสะสมของ amyloid ในสมองในผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์, ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อยของความสามารถของสมองและผู้สูงอายุปกติ." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4688">http://hdl.handle.net/11228/4688</a>.
.custom.total_download79
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2327.pdf
Size: 363.3Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record