Show simple item record

Development and implementation of medicine list program for screening and reducing potentially inappropriate medication use in Thai elderly patients and response of physicians and pharmacists on implementation in hospitals

dc.contributor.authorชนัตถา พลอยเลื่อมแสงth_TH
dc.contributor.authorกรรณิกา เทียรฆนิธิกูลth_TH
dc.contributor.authorจันทร์จิรา ชอบประดิถth_TH
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ สุนทรth_TH
dc.contributor.authorกีรตาพันธ์ ปฏิสนธิth_TH
dc.date.accessioned2017-05-22T02:46:47Z
dc.date.available2017-05-22T02:46:47Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.otherhs2335
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4696
dc.description.abstractจากผลการวิจัย QUM ระยะที่ 1 การประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ยา ได้รายการยาที่มีความเสี่ยงในการใช้สำหรับผู้สูงอายุไทย จำนวน 8 กลุ่มยาตามเภสัชวิทยา 42 กลุ่มยาย่อย หรือทั้งหมด 76 รายการยา ซึ่งพัฒนาจาก Beers criteria (2012) และ (STOPP) (2008) ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะ ให้ทำการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศที่มีการนำรายการยานี้มาใช้เพื่อพิจารณาคัดกรองก่อนการสั่งใช้ยา อันจะทำให้รายการยาที่เสี่ยงก่อประโยชน์ได้จริงในโรงพยาบาล งานวิจัยในระยะที่ 2 จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรม และการนำโปรแกรมมาใช้คัดกรองและลดการสั่งใช้ยาที่เสี่ยงและอันตรายสำหรับผู้ป่วยสูงอายุไทย และประเมินการตอบสนองของแพทย์และเภสัชกรต่อการนำโปรแกรมมาใช้ในโรงพยาบาล ประเมินผลลัพธ์คือปริมาณการสั่งยาที่เสี่ยงสำหรับผู้สูงอายุต่อใบสั่งยาที่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการใช้โปรแกรม เพื่อให้มองภาพทิศทางของประเทศต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use, RDU) ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงร่าง (Semi-structured Interview) และการบันทึกเสียงระหว่างการสัมภาษณ์ ในผู้กำหนดนโยบายด้านสุขภาพของประเทศ จำนวน 4 คน จาก 3 ระดับ คือ ระดับมหภาค จำนวน 2 คน ผู้บริหารระดับกลาง จำนวน 1 คน และระดับย่อยหรือระดับท้องถิ่น จำนวน 1 คน ผลการสัมภาษณ์สรุปได้ว่า นโยบาย RDU ของประเทศไทยยังมีความไม่ชัดเจนตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับกลางและระดับท้องถิ่น แต่มีสถานบริการสุขภาพส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อยมาก ที่มีการดำเนินนโยบาย RDU และมีการนำนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้กำหนดนโยบายในระดับประเทศ อาจใช้ข้อมูลจากมูลค่าการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลต่องบประมาณด้านสุขภาพทั้งหมด และประกาศเป็นนโยบายที่เร่งด่วนเพื่อลดมูลค่าการสูญเสียงบประมาณจากการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผลลง นอกจากนี้ นโยบาย RDU อาจดำเนินการควบคู่ไปกับแนวคิดด้านการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพและการป้องกันโรคได้ เพราะการนำนโยบาย RDU ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และส่วนหนึ่งต้องมาจากความร่วมมือของครอบครัวและคนในชุมชนในการมีส่วนร่วมเพื่อดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การประกาศใช้นโยบาย RDU ประกอบด้วยปัจจัยหลายด้านและบุคลากรขับเคลื่อนในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ ทั้งผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ผู้มารับบริการ รวมถึงชุมชน จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในแต่ละภาคส่วนให้เข้าใจความสำคัญของนโยบาย RDU สร้างความชัดเจนของตัวนโยบายจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ แนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ การสนับสนุนทรัพยากรในด้านต่างๆ และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในความร่วมมือเพื่อทำให้นโยบาย RDU เป็นรูปธรรมและส่งผลระยะยาวต่อการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุผลด้านยา เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการมีสุขภาพดีของประชาชนโดยใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
dc.subjectการใช้ยาของโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การใช้ยาth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาและการนำโปรแกรมรายการยาเพื่อคัดกรองและลดการสั่งใช้ยาที่เสี่ยงและอันตรายสำหรับผู้ป่วยสูงอายุไทย และการตอบสนองของแพทย์และเภสัชกรต่อการนำโปรแกรมมาใช้ในโรงพยาบาลth_TH
dc.title.alternativeDevelopment and implementation of medicine list program for screening and reducing potentially inappropriate medication use in Thai elderly patients and response of physicians and pharmacists on implementation in hospitalsen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoQV55 ช147ก 2560
dc.identifier.contactno57-110
dc.subject.keywordRational Drug Useth_TH
.custom.citationชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, กรรณิกา เทียรฆนิธิกูล, จันทร์จิรา ชอบประดิถ, สุรศักดิ์ สุนทร and กีรตาพันธ์ ปฏิสนธิ. "การพัฒนาและการนำโปรแกรมรายการยาเพื่อคัดกรองและลดการสั่งใช้ยาที่เสี่ยงและอันตรายสำหรับผู้ป่วยสูงอายุไทย และการตอบสนองของแพทย์และเภสัชกรต่อการนำโปรแกรมมาใช้ในโรงพยาบาล." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4696">http://hdl.handle.net/11228/4696</a>.
.custom.total_download399
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year11

Fulltext
Icon
Name: hs2335.pdf
Size: 1.675Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record