dc.contributor.author | ชิดชนก เรือนก้อน | th_TH |
dc.contributor.author | Chidchanok Ruengorn | en_US |
dc.contributor.author | ขจรศักดิ์ นพคุณ | th_TH |
dc.contributor.author | Kajohnsak Noppakun | en_US |
dc.contributor.author | เศรษฐพล ปัญญาทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Setthapon Panyathong | en_US |
dc.contributor.author | พงศ์ศักดิ์ ด่านเดชา | th_TH |
dc.contributor.author | Phongsak Dandecha | en_US |
dc.contributor.author | สุรพล โนชัยวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Surapon Nochaiwong | en_US |
dc.contributor.author | เกียรติเกรียงไกร โกยรัตโกศล | th_TH |
dc.contributor.author | Kiatkriangkrai Koyratkoson | en_US |
dc.contributor.author | ชยุตพงศ์ ใจใส | th_TH |
dc.contributor.author | Chayutthaphong Chaisai | en_US |
dc.contributor.author | สมจริง รุ่งแจ้ง | th_TH |
dc.contributor.author | Somjing Roongjang | en_US |
dc.contributor.author | เฉลิมพงษ์ แสนจุ้ม | th_TH |
dc.contributor.author | Chalermpong Saenjum | en_US |
dc.contributor.author | ศศิธร ศิริลุน | th_TH |
dc.contributor.author | Sasithorn Sirilun | en_US |
dc.contributor.author | ประภาส ภูเวียง | th_TH |
dc.contributor.author | Prapart Phoowiang | en_US |
dc.contributor.author | ศิรยุทธ พัฒนโสภณ | th_TH |
dc.contributor.author | Sirayut Phattanasobhon | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-10-04T08:40:27Z | |
dc.date.available | 2017-10-04T08:40:27Z | |
dc.date.issued | 2560-02 | |
dc.identifier.other | hs2358 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4785 | |
dc.description.abstract | ภาวะติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้องเป็นสาเหตุสำคัญของการสิ้นสุดกระบวนการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง การเจ็บป่วย และการเสียชีวิต ตลอดจนเพิ่มค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุข ในการรักษาภาวะติดเชื้อดังกล่าวแนวทางการรักษามาตรฐานแนะนำให้บริหารยาต้านจุลชีพทางช่องท้องเป็นทางเลือกแรกเนื่องจากสามารถให้ระดับยาในช่องท้องสูง และประสบผลสำเร็จในการรักษามากกว่าการบริหารยาทางหลอดเลือดดำ นอกจากนี้การป้องกันภาวะติดเชื้อที่เกิดขึ้นยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับประสิทธิผลของมาตรการป้องกันการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้อง ดังนั้นแผนงานวิจัยนี้จึงประกอบด้วย 3 โครงการย่อย คือ โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาเชิงเฝ้าสังเกตการณ์ทบทวนฐานข้อมูลผู้ป่วยที่ลงทะเบียนรับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 2 แห่ง (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง (โรงพยาบาลนครพิงค์) โดยการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายความล้มเหลวในการรักษา (การเสียชีวิตหรือการถอดสายล้างไต) ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกตัวแปรพหุ โครงการย่อยที่ 2 ทำการทดสอบสูตรยาเดี่ยวยากลุ่ม carbapenems ได้แก่ ยา imipenem, meropenem, ertapenem สำหรับสูตรยาผสมได้แก่ ยา cefazolin ผสมกับยา ceftazidime และยา cefoperazone ผสมกับยา sulbactam เป็นการทดสอบความคงตัวของยาต้านจุลชีพ ในน้ำยาล้างไตแต่ละชนิด ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบประสิทธิผล และความปลอดภัยของการใช้ยาคลอเฮ็กซิดีนชนิดแผ่นผ้า ยาขี้ผึ้งมิวพิโรซิน และการรักษามาตรฐานด้วยการดูแลช่องทางออกของสายด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ คือ สารละลายน้ำเกลือนอร์มัล สำหรับใช้ในการทำความสะอาดรอบช่องสายออก บทสรุป เมื่ออ้างอิงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ค้นพบ แสดงให้เห็นว่าข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับการรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้องยังมีอยู่อย่างจำกัด เป็นเหตุให้ไม่สามารถสรุปข้อกำหนดที่แน่ชัดเกี่ยวกับทางการบริหารยา ขนาดยา รูปแบบการบริหารยา และสูตรยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมสำหรับการรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้อง ในแง่ของระบาดวิทยาพบว่าอุบัติการณ์ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้องมีแนวโน้มลดลงเป็น 0.39 ครั้งต่อผู้ป่วย-ปี การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกลดลงแต่การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบโดยผสมยาต้านจุลชีพในน้ำยาล้างไตพบว่าสูตรยาผสม cefazolin และ ceftazidime มีความคงตัวอย่างน้อย 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามพบความไม่คงตัวจากการทดสอบยาในกลุ่ม carbapenems ณ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เนื่องจากมีการสลายตัวของตัวยาสำคัญไปมากกว่าร้อยละ 10 และพบผลิตภัณฑ์จากการสลายตัวของยาสูตรผสม cefoperazone และ sulbactam จึงไม่แนะนาให้บริหารยากลุ่มดังกล่าวทางช่องท้อง ส่วนการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาคลอเฮ็กซิดีนชนิดแผ่นผ้าเปรียบเทียบกับยาขี้ผึ้งมิวพิโรซินในการป้องกันการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้องยังอยู่ในระหว่างดำเนินการในปีที่ 2 | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง | th_TH |
dc.subject | ไต | th_TH |
dc.subject | Kidneys | en_US |
dc.subject | ช่องท้อง | th_TH |
dc.subject | Abdomen | en_US |
dc.subject | การล้างไต | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง: การรักษา การเฝ้าระวัง และการป้องกันการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้องโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ | th_TH |
dc.title.alternative | Peritoneal Dialysis Patients Care: Treatment, Surveillance, and Prevention of Peritoneal Dialysis-Related Infection Using Evidence-Based | en_US |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background and significance: Peritoneal dialysis (PD)-related peritonitis is a common serious complication among PD patients leading to technical failure and a significant cause of morbidity, mortality, and healthcare costs. For the treatment of peritoneal dialysis (PD)-relatedperitonitis, intraperitoneal (IP) administration of antimicrobial agents is recommended due to its higher concentrations at the target site and more success compare to intravenous administration. Besides, prevention strategies of PD-related infection are still unclear. This research programs consists of three research topics. Objectives: 1) To (1) systematically review and meta-analyses the effectiveness of different empirical treatment options for PD-related peritonitis and (2) to examine the temporal trends, potential predictors, microbiological pattern with antimicrobial susceptibility rates, treatment patterns, and clinical outcomes of PD-related peritonitis. 2) To (1) systematically review bundles all published stability and compatibility of data on IP administration of antimicrobial agents via PD solutions and (2) to investigate the physical and chemical stability of selected antimicrobial namely: imipenem, meropenem, ertapenem, cefazolin/ceftazidime, and cefoperazone/sulbactam in 6 type of commercial PD solutions with polyvinyl chloride container that available in Thailand (Extraneal®, Dianeal® PD2: 1.36%, 2.27%, and Dianeal® Low calcium: 1.36%, 2.27%, 3.86%) at different temperatures for various time points. 3) To compare effectiveness, safety, and cost-utility of chlorhexidine gluconate (CHG)-soaked cloths to mupirocin ointment and exit site usual care (normal saline) with aseptic technique in prevention of PD-related infection. Conclusions: In contemporary review, evidence of antimicrobial for treatment of PD-related peritonitis is limited. No specific antimicrobial in terms of route, dose, schedules, and optimal antimicrobial agent or regimen appear to have superior efficacy for treatment of PD-related peritonitis. There was a downward trend in PD-related peritonitis incidence over this past 10 years to 0.39 episode per patient-years. Causative organisms for peritonitis of gram positive bacteria decreased, but gram negative bacteria increased over time. In daily practice, a combination of cefazolin and ceftazidime is suitable for mixed with icodextrin-based and glucose-based PD solutions at least 24 hours at body temperature. Carbapenems group appear insuitable for IP administration. Likewise, to concern the degradation products, a combination of cefoperazone with sulbactam should not be mixed with PD solutions. In addition, the study to compare effectiveness, safety, and cost-utility of chlorhexidine gluconate (CHG)-soaked cloths to mupirocin ointment and exit site usual care (normal saline) with aseptic technique in prevention of PD-related infection is ongoing to the second year. | en_US |
dc.identifier.callno | WJ340 ช544ก 2560 | |
dc.identifier.contactno | 58-056 | |
.custom.citation | ชิดชนก เรือนก้อน, Chidchanok Ruengorn, ขจรศักดิ์ นพคุณ, Kajohnsak Noppakun, เศรษฐพล ปัญญาทอง, Setthapon Panyathong, พงศ์ศักดิ์ ด่านเดชา, Phongsak Dandecha, สุรพล โนชัยวงศ์, Surapon Nochaiwong, เกียรติเกรียงไกร โกยรัตโกศล, Kiatkriangkrai Koyratkoson, ชยุตพงศ์ ใจใส, Chayutthaphong Chaisai, สมจริง รุ่งแจ้ง, Somjing Roongjang, เฉลิมพงษ์ แสนจุ้ม, Chalermpong Saenjum, ศศิธร ศิริลุน, Sasithorn Sirilun, ประภาส ภูเวียง, Prapart Phoowiang, ศิรยุทธ พัฒนโสภณ and Sirayut Phattanasobhon. "การดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง: การรักษา การเฝ้าระวัง และการป้องกันการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้องโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4785">http://hdl.handle.net/11228/4785</a>. | |
.custom.total_download | 485 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 21 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 5 | |