Show simple item record

Development of Integrated Care Model for Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder among Health Care Professionals, Parents, and Teachers in in Northern Thailand

dc.contributor.authorสมัย ศิริทองถาวรth_TH
dc.contributor.authorSamai Sirithongthawornen_US
dc.contributor.authorเพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorPenkarn Kanjanaraten_US
dc.contributor.authorภิญโญ อิสรพงศ์th_TH
dc.contributor.authorPinyo Itsarapongen_US
dc.contributor.authorสุรีรักษ์ พิลาth_TH
dc.contributor.authorSureerak Pilaen_US
dc.contributor.authorพัชนี พัฒนกิจโกศลth_TH
dc.contributor.authorPatchanee Pattanakitkosolen_US
dc.contributor.authorวรรณกมล สอนสิงห์th_TH
dc.contributor.authorWannakamol Sonsinghen_US
dc.contributor.authorสกนธ์ สุภากุลth_TH
dc.contributor.authorSakon Supakulen_US
dc.contributor.authorกชพงศ์ สารการth_TH
dc.contributor.authorKotchapong Sarakanen_US
dc.contributor.authorนุจรี คำด้วงth_TH
dc.contributor.authorNootjaree Kamduangen_US
dc.date.accessioned2017-10-09T03:16:32Z
dc.date.available2017-10-09T03:16:32Z
dc.date.issued2560-01
dc.identifier.otherhs2359
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4786
dc.description.abstractที่มาและความสำคัญ โรคสมาธิสั้นเป็นมีความชุกมากที่สุดเมื่อเทียบกับโรคทางสุขภาพจิตอื่นๆ ในเด็กวัยประถมศึกษา การดูแลร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการแพทย์มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการลดความรุนแรงของอาการและปัญหาเชิงพฤติกรรมและเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จด้านการเรียนของเด็กโรคสมาธิสั้น วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและทดสอบหลักสูตรและเครื่องมือการเสริมศักยภาพผู้ปกครองและครูในการคัดกรองและดูแลปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นวัยประถมต้น 2) พัฒนาหลักสูตรการดูแลเด็กที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตระดับโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3) พัฒนาร่างแนวทางการดูแลเด็กที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นวัยประถมศึกษาแบบองค์รวม วิธีการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนหลัง ด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครอง และครูในการดูแลปรับพฤติกรรมเด็กโรคสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ผู้ปกครองเด็กอายุ 6-7 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนที่กำหนด 3 โรงเรียน ในจังหวัดเชียงใหม่ 2 โรงเรียนและลำพูน 1 โรงเรียน และผู้ปกครองให้ความยินยอม ผู้ปกครองได้รับการฝึกอบรมการปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นตามหลักสูตรสำหรับผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีอาการของโรคสมาธิสั้น และครูโรงเรียนแกนนำเรียนร่วมได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ได้พัฒนาขึ้นในการวิจัยนี้ในการปรับพฤติกรรมและการจัดชั้นเรียนที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีอาการของโรคสมาธิสั้น เป็นเวลา 2 วัน เพื่อเป็นครูต้นแบบ และครูต้นแบบเป็นผู้ฝึกอบรมครูโรงเรียนประถมศึกษา 2 วัน วัดผลด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลปรับพฤติกรรมเด็กของผู้ปกครอง และครูก่อนและหลังการฝึกอบรม สอบถามความเห็นด้านความเป็นไปได้และปัญหาอุปสรรคในการปรับพฤติกรรมเด็กขอผู้ปกครอง 1 เดือน หลังการฝึกอบรมด้วยการสนทนากลุ่มของครู 1 เดือนหลังการฝึกอบรมโดยการให้ครูกรอกสมุดบันทึกด้วยตนเอง ผลการวิจัย ผู้ปกครองเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น 78 คนเข้ารับการอบรมการใช้คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 30-39 ปี สถานะภาพสมรส ผู้ปกครองประมาณสองในสามระดับการศึกษาสูงสุดมัธยมถึงปริญญาตรี ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์การดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น ผู้ปกครอง ร้อยละ 37.2 ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมด้านการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นมาก่อน หาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กโรคสมาธิสั้นจากหนังสือหรือตำราหรือเว็บไซต์ หลังการฝึกอบรมผู้ปกครองมีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นและการปรับพฤติกรรมที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) จากการสัมภาษณ์แบบกลุ่มผู้ปกครอง 7 คน พบว่าผู้ปกครองสามารถนำเทคนิคการปรับพฤติกรรมไปใช้ได้จริงเทคนิคที่ใช้ได้ผลคือการจัดตารางเวลาและการควบคุมอารมณ์การฝึกอบรมครูโรงเรียนประถมศึกษาตามหลักสูตรและคู่มือที่พัฒนาขึ้นสำหรับครู จำนวน 144 คน ส่วนใหญ่เพศหญิง ประมาณครึ่งหนึ่งอายุอยู่ในช่วง 50-59 ปี และครูสองในสามมีประสบการณ์ในการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น 1-5 ปี ครูที่ได้รับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น เทคนิคและกระบวนการปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นที่โรงเรียน การจัดการชั้นเรียนและเทคนิคการสอนเด็กสมาธิสั้นที่มีปัญหาการเรียนความรู้เรื่องยาและการรักษาด้วยยาในเด็กสมาธิสั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) จากการติดตามผลด้านทักษะครูโรงเรียนประถมศึกษา ได้รับการตอบข้อมูล 32 คน จาก 144 คน (ร้อยละ 13.1) ครูได้สื่อสารกับผู้ปกครองเรื่องเกี่ยวกับเด็กโรคสมาธิสั้น ชี้แจงพฤติกรรม สนับสนุนให้ผู้ปกครองสังเกตอาการและประเมินด้วยเครื่องมือ SNAP-IV และปรับพฤติกรรมที่บ้าน และสนับสนุนให้พาไปพบแพทย์ในกรณีที่มีอาการอยู่ในเกณฑ์ ซึ่งผลตอบรับของผู้ปกครองเป็นไปในเชิงบวก ด้านการพัฒนาแนวทางการดูแลเด็กสมาธิสั้นร่วมกันแบบบูรณาการ ได้ร่างแนวทางการดูแลและติดตามโดยมีศูนย์กลางการประสานงานและติดตามเด็กโรคสมาธิสั้นอยู่ที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิหรือปฐมภูมิที่พร้อมและใช้ระบบฐานข้อมูลการส่งต่อ (ADHD Refer) ในการส่งต่อติดตามเด็กร่วมกับผู้ปกครองและครู สรุป หลักสูตรการคัดกรองและปรับพฤติกรรมที่บ้านสาหรับผู้ปกครอง และหลักสูตรการคัดกรองและปรับพฤติกรรมที่โรงเรียนสำหรับครู เพิ่มระดับความรู้และทัศนคติที่ดีขึ้นต่อเด็กโรคสมาธิสั้นและต่อการปรับพฤติกรรมเด็ก เทคนิคการปรับพฤติกรรมที่อยู่ในทั้งสองหลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ควรมีการทดสอบการดูแลร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ครูและผู้ปกครองต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคสมาธิสั้นth_TH
dc.subjectเด็กสมาธิสั้นth_TH
dc.subjectเด็กสมาธิสั้น--การดูแลth_TH
dc.subjectเด็กสมาธิสั้น--การรักษาth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครู ในเขตภาคเหนือth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Integrated Care Model for Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder among Health Care Professionals, Parents, and Teachers in in Northern Thailanden_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: ADHD is the most prevalent brain disorder in children in elementary school compared with other diseases that interferes functions and development. Integrated care among parents, teachers, and healthcare providers might improve positive behaviors and increase chances to succeed in academic performances. Objectives: 1) To develop and test parent training curriculum and manuals to screen and provide behavioral adjustment for children with ADHD symptoms; 2) To develop and test elementary school teacher training curriculum and manuals on screening and classroom adjustment for children with ADHD symptoms; and 3) Draft an integrated care model among parents, teacher, and healthcare providers for children with ADHD symptoms. Methods: We applied one-group pre-post test design to test knowledge and attitudes of parents and teachers before and after the training based on the curriculum and manuals. Subjects were 1) parents of children age 6-7 years, studying in elementary school level, and agreed to participate in this study, and 2) elementary school teachers who are willing to participate in this study. Both groups of subjects were recruited from 2 elementary schools in Chiang Mai Province and 1 in Lamphun Province, Thailand. Parents were trained based on the curriculum and manuals for 2 days. Elementary school teachers were trained by the teacher specialized in children with special needs for 2 days based on the curriculum and manuals. Knowledge and attitudes towards children with ADHD symptoms and behavioral adjustment were assessed before and after using questionnaires developed for this study. Feasibility data of behavioral adjustment by parents was collected using focus group interview after 1 month. Teacher skills on behavioral and classroom adjustment were assessed using self-report on report form after 1 month. Results: We trained 78 parents. Most parents were female, age of 30-39 years, married, twothird were high school or college educated, and 37.2% had no experience in caring children with ADHD symptoms. Most parents relied on books or websites to search for information about ADHD. After training, parent’s knowledge and attitudes improved significantly on children with ADHD and behavioral adjustment (p<0.01). From focus group interview, parents reported of feasible use of behavioral adjustment techniques at home, mostly time management and emotional control techniques. We trained 144 elementary school teachers on ADHD screening and behavioral/classroom adjustment. Most teachers were female; half of them were 50-59 years of age; two-third had experience in caring children with ADHD symptoms for 1-5 years. Knowledge and attitudes of teachers on ADHD symptoms, behavioral adjustment, classroom adjustment, and ADHD medication treatment increased significantly after the training (p<0.01). After 1 month of follow-up, 32 teachers reported the skills and practices that they encouraged parents to screen and monitor the symptoms, using SNAP-IV and behavioral adjustment by at home. In case on children with ADHD symptoms were assessed, teachers encouraged parents to take the child to see the doctor. Teachers reported of positive feedback from parents after the interventions. This study also drafted an ADHD integrated care model using healthcare providers at primary or secondary care settings as center of referral and monitoring with the ADHD Refer database systems to assist the referral and monitoring along with parents and teachers. Conclusion: The ADHD children screening and behavioral adjustment for parents and the ADHD children screening and behavioral/classroom adjustment for elementary school teachers significantly improved knowledge and attitudes of both groups on children with ADHD symptoms and behavioral adjustment. Behavioral adjustment techniques provided in both curriculum and manuals were feasible to practice at home and at schools. Test of the proposed integrated care model should be further conducted.en_US
dc.identifier.callnoWS350.8 ส292ก 2560
dc.identifier.contactno59-008
dc.subject.keywordHyperactive Childrenen_EN
.custom.citationสมัย ศิริทองถาวร, Samai Sirithongthaworn, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, Penkarn Kanjanarat, ภิญโญ อิสรพงศ์, Pinyo Itsarapong, สุรีรักษ์ พิลา, Sureerak Pila, พัชนี พัฒนกิจโกศล, Patchanee Pattanakitkosol, วรรณกมล สอนสิงห์, Wannakamol Sonsingh, สกนธ์ สุภากุล, Sakon Supakul, กชพงศ์ สารการ, Kotchapong Sarakan, นุจรี คำด้วง and Nootjaree Kamduang. "การพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครู ในเขตภาคเหนือ." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4786">http://hdl.handle.net/11228/4786</a>.
.custom.total_download859
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year15

Fulltext
Icon
Name: hs2359.pdf
Size: 3.344Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record