การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (คสธจ.)
dc.contributor.author | อุไรวรรณ อินทร์ม่วง | th_TH |
dc.contributor.author | สมชาย ตู้แก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | พรรณวรท อุดมผล | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-01-16T07:53:27Z | |
dc.date.available | 2018-01-16T07:53:27Z | |
dc.date.issued | 2560-12 | |
dc.identifier.other | hs2383 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4828 | |
dc.description.abstract | ตามที่คณะกรรมการสาธารณสุข ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ครอบคลุม 76 จังหวัด เมื่อเดือนกันยายน 2557 จากการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2557 – 2559 ของคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (อสธจ.) พบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานบางประการไม่สามารถขับเคลื่อนตามมติหรือข้อสั่งการจากคณะอสธจ.คณะกรรมการสาธารณสุข จึงได้มีมติเห็นควรปรับบทบาทอำนาจหน้าที่ และองค์ประกอบในองค์คณะ รวมถึงชื่อของ “คณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (อสธจ.)”เป็น “คณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (คสธจ.)” โดยบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการดำเนินการของคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ตามบทบาทอำนาจหน้าที่ 2) แนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและ 3) บทบาทอันพึงประสงค์ของคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2560 ดำเนินการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บข้อมูลอสธจ.ที่มีประสิทธิผลสูง เขตละ 1 จังหวัด จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร สุรินทร์ สกลนคร ร้อยเอ็ดยโสธร ปราจีนบุรีสมุทรสงคราม อ่างทอง ภูเก็ต และสตูล โดยใช้แบบสอบถามอสธจ. รวม 234 คน การสัมภาษณ์เจาะลึกประธาน เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ รวม 36 คน และการประชุมปรึกษาหารืออสธจ. จังหวัดละ 1 ครั้งรวมทั้งสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารรายงานการประชุม ผลการดำเนินงานของอสธจ. ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2559 ดำเนินการศึกษาระหว่าง เมษายน–ธันวาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จต่อการดำเนินงานของ อสธจ. ประกอบด้วย 1) การให้ความสำคัญของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด 2) การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพของฝ่ายเลขานุการอสธจ. ในการขับเคลื่อนงานอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยใช้มติที่ประชุม อสธจ. 3) ความสอดคล้องของประเด็นที่นำเข้าพิจารณาเป็นมติที่ประชุมของอสธจ. กับนโยบายของประเทศและนโยบายจังหวัด รวมทั้งเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาที่สำคัญทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น 4) การสนับสนุนและผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติตามมติที่ประชุมอสธจ. โดยสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด 5) การให้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชนในการปฏิบัติตามมติที่ประชุมอสธจ. 6) การสนับสนุนทางวิชาการของศูนย์อนามัยเขต และกรมอนามัย แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ คสธจ. ตาม พรบ.การสาธารณสุขฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 ได้ข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ คสธจ.ประกอบด้วย 1) แนวทางการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 2) แนวทางการสนับสนุนทางวิชาการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของ คสธจ. ของหน่วยงานระดับส่วนกลางและระดับเขตและ 3) แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน การนำมติที่ประชุมไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล สำหรับข้อเสนอบทบาทอันพึงประสงค์ของคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 จากผลการวิจัย พบว่า บทบาทอันพึงประสงค์ที่ อสธจ.ต้องการให้ทุกข้อมีความสอดคล้องกับบทบาทที่บัญญัติไว้ตาม พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2560 แต่บทบาทที่พึงประสงค์จากผลการศึกษายังไม่ครบถ้วนบางส่วนตามบทบาทที่กำหนดไว้ตาม พรบ.การสาธารณสุข ดังนั้น ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (คสธจ.) ตาม พรบ.การสาธารณสุข ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป กรมอนามัยในฐานะหน่วยงานหลักในการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุข โดยใช้กลไกคสธจ.ในการขับเคลื่อนงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด เพื่อให้คสธจ.ดำเนินงานตามบทบาท อำนาจ หน้าที่ ซึ่งบัญญัติไว้ในพรบ.การสาธารณสุข กรมอนามัยควรนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาศักยภาพของคสธจ. แนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของคสธจ. ให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้นต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | สาธารณสุข--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (คสธจ.) | th_TH |
dc.title.alternative | A Study on Influential Success Factors and Approach to Moving Forward the Implementation of the Provincial Public Health Committee | en_EN |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The National Public Health Committee (NPHC) has made a resolution to establish the Provincial Public Health Sub-Committee (PPHSC) according to the Public Health Law B.E. 2535 operating in all 76 provinces since September B.E. 2557. After reviewing the performance of the PPHSC which found some problems and barriers emerged unable to enforce the PPHSC’s resolutions and orders, the NPHC then set out a correct resolution by adjusting the legal role, authority, and composition of the Committee and including changing name from the Provincial Public Health Sub-Committee (PPHSC) to the Provincial Public Health Committee (PPHC) as revised and enacted by the new Public Health Law (Volume 3) B.E. 2560. The Public Health Law Administration Center of Department of Health and the Faculty of Public Health of Khon Kaen University were then to study the influential success factors and approach in moving forward the implementation of the PPHC. This research was a cross-sectional descriptive study with three objectives set forth by exploring of; 1) success factors that influencing the achievement of the PPHSC according to its legal role and authority, 2) guidance in moving forward the PPHC’s implementation, and 3) desirable roles of the PPHC according to the Public Health Law B.E. 2560. The researchers collected related quantitative and qualitative data sets from the PPHSC, by selecting the provinces with high performance one province of each region totaling 12 provinces; Chiang Rai, Uttaradit, Kampangpetch, Surin, Sakonnakhon, Roiet, Yasothorn, Prachinburi, Samut Songkram, Ang Thong, Phuket, and Satun. Collection data by using the questionnaire for 234 PPHSC members, making in-depth interviews of the PPHSC chairperson, secretary, and assistant secretary totaling 36 persons, organizing PPHSC consultation meetings of each province, analyzing key information from PPHSC meeting minutes and its performance reports during B.E. 2558-2559. The study was done April to December B.E. 2560. The quantitative data were analyzed using descriptive statistics while the qualitative used content analysis. The study results revealed the key factors influencing the success of the PPHSC’s performance were; 1) a high valuation of the matter by the provincial governor is the most influential factor, 2) the effective implementation made by the PPHSC secretary by driving the environmental health actions using the PPHSC’s resolutions, 3) if the matter brought to the PPHSC’s meeting agenda as conformation to the national and provincial policies as well as that of highly concerned and interested by national and local public, 4) the provincial local administrative office strongly supported and pushed forward the compliance with the PPHSC’s resolutions, 5) cooperation of local administrative organizations, concerned agencies, and communities in compliance with the PPHSC’s resolutions, 6) technical support from Regional Health Centers and Department of Health. Guidance on driving the mission and implementation of PPHC according to the Public Health Law (Volume 3) B.E. 2560 were; 1) initiation policy advocacy, 2) strongly technical support to the mission and implementation of PPHC from central and regional agencies, and 3) effective due actions and evaluation in compliance with the PPHC’s resolutions. Recommendations to the desirable roles of the PPHC according to the Public Health Law (Volume 3) B.E. 2560, the desirable roles of PPHSC needed every mission and action conforming to the Articles of the Public Health Law (Volume 3) B.E. 2560 however the desirable roles by this study was not fully meeting the assignment roles by the Public Health Law. The due enforcement of the Public Health Law (Volume 3) B.E. 2560 on 19 December 2560 onward on the PPHC, the Department of Health as the leading agency in support of compliances to the public health law by driving the PPHC as a key mechanism for driving the provincial environmental health actions, the Department of Health should make use of this research results in building capacity of PPHC, implementing guidance, and future follow-up and evaluation for the improvement of PPHC’s performances. | en_EN |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 อ858ก 2560 | |
dc.identifier.contactno | 60-047 | |
dc.subject.keyword | กฎหมายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | คณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด | th_TH |
.custom.citation | อุไรวรรณ อินทร์ม่วง, สมชาย ตู้แก้ว and พรรณวรท อุดมผล. "การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (คสธจ.)." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4828">http://hdl.handle.net/11228/4828</a>. | |
.custom.total_download | 200 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย